“โรคมะเร็งเต้านม” เป็นโรคในสตรีที่พบมากเป็นอันดับ 1
ซึ่ง 1 ใน 10 ของสตรีไทยจะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยง
- ภาวะอ้วน
- เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย
- อายุมากกว่า 35 ปี
- สูบบุหรี่
- หมดประจำเดือนเมื่ออายุมาก
- มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตั้งแต่วัยก่อนหมดประจำเดือน
- ได้รับการฉายแสงบริเวณทรวงอก
- ไม่มีบุตร หรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
- ทานยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมนทดแทนหลังวัยหมดประจำเดือน

สัญญาณเตือน
- คลำพบก้อนที่เต้านม
- มีการเปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง และผิวหนังเต้านม เช่น รอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ มีสะเก็ด
- มีแผลแตกบนเนื้อเต้านม
- หัวนมบอดหรือมีการดึงรั้ง คัน หรือแดงผิดปกติ
- มีเลือด หรือน้ำออกจากหัวนม
- รักแร้บวม คลำได้ก้อนต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งเต้านม ระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บ

การดูแลและป้องกัน
- ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ควรเริ่มมีการตรวจเต้านมตัวเองอยู่สม่ำเสมอ แนะนำให้ตรวจหลังหมดช่วงมีประจำเดือน และให้พบแพทย์เพื่อตรวจเต้านมทุก 1 – 3 ปี
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เป็นประจำทุกปี
- ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เป็นประจำทุก 1-2 ปี
- ในกรณีที่บุคคลมีประวัติญาติสายตรง เป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน ควรเริ่มตรวจด้วยแมมโมแกรมที่อายุ 30 ปี ซึ่งบางรายอาจต้องตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย
- ในกรณีที่ตนเองหรือญาติสายตรง ตรวจพบยีนผิดปกติ ได้แก่ BRCA1/2 ควรเริ่มตรวจแมมโมแกรมที่อายุ 25 ปี ซึ่งบางรายอาจต้องตรวจ MRI หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย

แนวทางการรักษา
- การผ่าตัด
- การฉายรังสี
- การรักษาด้วยฮอร์โมน
- การรักษาด้วยเคมีบำบัด