
โรคมะเร็งในเด็ก มีสถิติอุบัติการณ์เกิดขึ้นกับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีได้ร้อยละ 1 ของผู้คนในทุกอายุที่เป็นมะเร็ง
มะเร็งในเด็ก สามารถแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่ม ดังนี้
มะเร็งระบบโลหิตวิทยา
ประกอบด้วย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง
แนวทางการรักษา : ใช้ยาเคมีบำบัดที่เหมาะสมกับอายุเด็ก น้ำหนักตัว พื้นที่ผิวกาย
มะเร็งเนื้อเยื่อหรือมะเร็งก้อนหรือเนื้องอกร้ายในอวัยวะต่างๆ
แนวทางการรักษา : การรักษาหลักใช้การผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด การใช้รังสีรักษา การรักษาทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การใช้ยามุ่งเป้า การเลือกใช้การดูแลรักษาแบบใดบ้าง ขึ้นกับชนิดของโรค ระยะการกระจายโรคของมะเร็ง สภาพของผู้ป่วยเด็กแต่ละราย และดุลยพินิจของแพทย์ผู้วางแผนประเมินประสานงานและการรักษา รวมถึงการติดตามผู้ป่วย นอกจากนี้ การดูแลประคับประคองจิตใจ เยียวยาสภาพจิตใจของเด็กที่ได้รับการรักษาก็มีความสำคัญอย่างยิ่งควบคู่ไปกับการรักษาโรคทางกาย ส่งเสริมให้เด็กมีขวัญกำลังใจที่ดี ให้เด็กทำกิจกรรมสันทนาการที่เหมาะสมในระหว่างการรักษา ลดความหวาดกลัวในการต้องถูกเจาะเลือด ให้น้ำเกลือ ฉีดยา หรือทำหัตถการต่างๆ

สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ต่อการเกิดโรคหรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งในเด็ก ยังไม่ทราบแน่ชัด อย่างไรก็ตาม หากผู้ปกครองพบบุตรของท่านมีอาการผิดปกติ เช่น เบื่ออาหาร ผอมลง น้ำหนักตัวลด มีก้อนโตขึ้นๆผิดปกติ ที่คอ ที่ลำตัว หรือแขนขา มีอาการซีดลง มีจุดเลือดจ้ำเลือดออกหรือเลือดไหลแล้วหยุดยาก มีอาการปวดขาจนเดินได้ลำบากหรือไม่อยากขยับขา มีรูม่านตาวาวเป็นสีขาวเวลามีแสงไฟสะท้อน ปวดหัวรุนแรงจนอาจมีอาเจียนพุ่ง สายตาพร่ามัว อาการปวดรุนแรงที่หลังหรือร่างกายส่วนใดๆที่ไม่ใช่เกิดจากการกระทบกระแทกของแข็ง

“เราผู้ใหญ่ทุกคนต้องช่วยเหลือเด็กที่เจ็บป่วย เพราะเด็กๆไม่สามารถสู้กับโรคมะเร็งได้ โดยลำพัง