เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จากตระกูลฝีดาษ เริ่มต้นการฉีดวัคซีนครั้งแรกมาจากการนำฝีดาษวัวมาปลูกกับฝีดาษคน เพื่อแปลมาเป็นวัคซีนฝีดาษลิง หลังจากปี1970 โรคฝีดาษได้หมดไป แล้วค้นพบว่าคนจะไม่สามารถติดโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)ได้อีก ณ ตอนนั้น
ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) มีอยู่ประมาณ 2 สายพันธุ์
- สายพันธุ์แอฟริกากลาง
- สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก
วัคซีนที่ป้องกันโรคฝีดาษปกติ จะสามารถป้องกันโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)ได้ร้อยละ80 ฉะนั้นผู้ที่เคยฉีดวัคซีนฝีดาษไปแล้ว จะสามารถป้องกันโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ได้
การติดต่อจากสัตว์สู่คน
การติดต่อจากสัตว์สู่คน แหล่งนำโรคของตัวไข้ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) จะอยู่ในสัตว์ตระกูล หนู กระรอก และสัตว์ในกลุ่มของลิงทุกสายพันธุ์ พบส่วนมากในแอฟริกากลางและตะวันตก ซึ่งในครั้งนี้ มีการแพร่ระบาดใหญ่ จนเป็นที่น่าจับตาดู และถูกมองว่าน่ากลัวที่สุด
อาการของคนที่ได้รับเชื้อ
อาการของไข้ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) อาการจะน้อยกว่าอาการจากไข้ฝีดาษ ส่วนไวรัสของฝีดาษจะเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน
อาการของคนที่ได้รับเชื้อ แบ่งเป็น 2 ระยะ
- ระยะที่ 1 อาการจะเหมือนกับการติดเชื้อฝีดาษอื่น ๆ เช่น มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และมีต่อมน้ำเหลืองโต
- ระยะที่ 2 จะเริ่มมีผื่นขึ้น 1-3 วัน จากอาการระยะแรก (ทั้งผื่นราบ/ผื่นนูน) และอาจจะมีหนองด้านในของผื่น
ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา 2-4 สัปดาห์ และในผู้ป่วยบางราย หลังจากหายการติดเชื้อ อาจมีรอยแผลเกิดขึ้นทิ้งเอาไว้ด้วยตามร่างกาย
อัตราการเสียชีวิตของโรคติดเชื้อฝีดาษวานร(ฝีดาษลิง) มีอยู่ประมาณ 2 สายพันธุ์
- สายพันธุ์แอฟริกากลาง อยู่ที่ 10 %
- สายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก อยู่ที่ 1 % (ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้)
การติดต่อจากคนสู่คน
การติดต่อจากคนสู่คน มีอัตราไม่สูงมากเทียบจากใน1ครอบครัว มีโอกาสแพร่เชื้อได้เพียง 5 % ในคนที่ฉีดวัคซีนแล้วจะมีโอกาสติดเชื้อได้เพียง 2-3 % (ส่วนมากผู้ที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2523)
ใน 1 คนจะมีโอกาสแพร่เชื้อได้เพียง 0.3 % เทียบกับการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีโอกาสแพร่เชื้อถึง 3 %
การปฏิบัติตัวเบื้องต้น
ผู้ที่ยังไม่มีเชื้อ ควรเฝ้าระวังกลุ่มคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสียง และหลีกเลี่ยงผู้ป่วยที่มีอาการใกล้เคียง ส่วนการเข้ารับวัคซีน ยังไม่มีความจำเป็นในการเข้ารับวัคซีน ในเบื้องต้น ทั้งนี้ต้องรอประกาศจากกรมควบคุมโรค
แนวทางการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)
คาดว่าเป็นไปได้น้อยที่จะมีโอกาสในการแพร่ระบาดได้เหมือนเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากว่าตัวเชื้อโรคมีการแพร่กระจายเชื้อได้ไม่สูงมากนัก แลบะการระบาดในผู้ป่วยเดิมจะอาการแสดงชัดเจนอยู่แล้ว ซึ่งให้หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าว
เบื้องต้นท่านใดที่เป็นผื่นในตอนนี้ อย่าเพิ่งตระหนก ให้นึกถึงประวัติการสัมผัสและใกล้ชิดผู้ติดเชื้อในที่ผ่านมา เพราะอาจเป็นภูมิแพ้ หรือเชื้ออีสุกอีใส ก็เป็นได้