สายให้อาหารทางหน้าท้องคืออะไร ?
เป็นการผ่าตัดที่จะนำสายให้อาหารผ่านทางผนังหน้าท้องเข้าสู่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กของคนไข้โดยตรง โดยไม่ผ่านช่องปากและหลอดอาหาร เพื่อให้สามารถรับสารอาหารให้เพียงพอ โดยการผ่าตัดมีทั้งผ่าตัดเปิดและวิธีส่องกล้อง ซึ่งวิธีการผ่าตัดและตำแหน่งของสายหน้าท้องจะขึ้นกับตัวโรคของผู้ป่วยและวิจารณญาณของแพทย์ ใช้เวลานอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3-4 วัน
ส่วนประกอบของสายให้อาหาร
การดูแลสาย
- ทำความสะอาดบริเวณผิวหนังรอบสายให้อาหารด้วยน้ำเกลือวันละ 1 ครั้ง
- ติดเทปให้ชิดกับสาย
- ดูแลให้สายตั้งตรง อย่าให้สายหักงอ หรือเอียงรูที่สายออก เนื่องจากจะทำให้ปากแผลใหญ่ขึ้นและทำให้น้ำย่อยรั่วซึมได้
สามารถใช้จุกนมเด็กมาตัดและครอบตัวสายเพื่อช่วยให้สายตั้งตรงขึ้นได้
- ตรวจสอบว่าสายอยู่ในทางเดินอาหารโดนใช้กระบอกพลาสติกดูดของเหลวจากสายก่อนเริ่มให้อาหารแต่ละมื้อ หากดูดไม่ได้ของเหลวอาจเกิดจากสายตันหรือสายอาหารอยู่ผิดตำแหน่ง
- หลังให้อาหารจนหมดให้น้ำตาม 30-60 ซีซี เพื่อไม่ให้มีตะกอนเกาะในสาย ป้องกันการอุดตันของสาย
- ควรให้น้ำโซดา 50 ซีซี ทุก 2-3 วันเพื่อป้องกันสายอุดตัน
- หลังใช้งานสายเสร็จควรปิดจุกปลายสายให้สนิทแล้วม้วนเก็บติดกับตัวคนไข้
- หากสายหลุดควรรีบมาโรงพยาบาลทันที หากทิ้งไว้นานอาจทำให้รูที่ผ่าตัดไว้ปิด จะต้องทำการผ่าตัดซ้ำ
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
- ผิวหนังอักเสบจากน้ำย่อยกัด : อาจเกิดจากสายพับงอ หรือสายมีขนาดเล็กว่ารูที่ผิวหนัง แก้ไข้โดยใช้อุปกรณ์ทำแผลเพื่อลดการระคายเคืองที่ผิวหนัง ปรับขนาดของสายให้อาหารและตั้งสายให้ตรงเพื่อไม่ให้ขอบแผลขยายขนาด
- ใจสั่น เวียนศีรษะ ท้องอืด : อาจเกิดจากการให้อาหารเร็วเกินไป แก้ไขโดยการให้อาหารช้าลง หรือลดความเข้มข้นของอาหารลง
- สายขาด สายตัน หรือสายหลุดจากตัว ควรมาโรงพยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการเปลี่ยนสาย ไม่ควรใส่สายเข้าไปเองเพราะอาจทะลุเข้าช่องท้องบริเวณอื่นได้
ศูนย์ศัลยกรรมเฉพาะทาง ชั้น 2 โซน B อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์
เปิดบริการ วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น โทรศัพท์ 0 2576 6801