ภาวะบวมน้ำเหลือง


เป็นภาวะที่น้ำเหลืองไม่สามารถระบายออกได้ เกิดการคั่งของน้ำเหลืองในเนื้อเยื้อ

เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เกิดภายหลัง จากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง การฉายแสงเพื่อรักษาโรคมะเร็ง และเกิดภายหลังจากอุบัติเหตุ คนไข้จะมีอาการบวมที่แขนหรือขา ในช่วงแรกจะพบว่าผิวบริเวณที่บวมนั้นกดแล้วบุ๋ม ในระยะต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้นอาการบวมจะเพิ่มขึ้น ร่วมกับผิวหนังจะค่อยๆ แข็งขึ้นจนรู้สึกหนักหรือ ตึงแขนหรือขาข้างนั้น ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ประจำวัน นอกจากนี้ อาจมีการติดเชื้อร่วมด้วย

การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง
นอกจากการใส่ปลอกขาในระยะต้นแล้ว ยังมีการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดสามารถ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  • Physiologic procedure ได้แก่ การผ่าตัดต่อทางเดินน้ำเหลือง เข้ากับหลอดเลือดดำและการผ่าตัดปลูกถ่ายเนื้อเยื่อน้ำเหลืองจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายเข้ากับแขนหรือขาที่มีภาวะบวมน้ำเหลือง เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้การระบายของต่อมน้ำเหลืองดีขึ้น ซึ่งนอกจากจะลดขนาดแขนหรือขาให้เล็กลงได้แล้ว ยังสามารถลดอัตราการติดเชื้อได้อีกด้วย
  • Reductive or ablative procedure ได้แก่ การดูดไขมัน และการผ่าตัดเนื้อเยื่อส่วนเกินออก เป็นต้น เพื่อลดขนาดแขนหรือขาที่บวมโดยเร็ว ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกขึ้น ซึ่งการเลือกประเภทการผ่าตัดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรา