อาหารสร้างสุข
ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัดอย่างคาดการณ์ไม่ถึง พาลทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว หลายๆ คนจึงอยากหาอะไรทำเพื่อที่จะคลายเครียด บางคนใช้การออกกำลังกาย แต่บางคนใช้การรับประทานอาหาร วันนี้อาหารสร้างสุขของเรา ก็จะมาบอกว่า ทานอะไรที่จะช่วยคลายความร้อนกายร้อนใจได้บ้าง โดยอาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ได้พลังงานกลูโคสแก่ร่างกายจำพวกกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นหลาย เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล ฯลฯ นั้น จะทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้นร่างกายจึงกระตุ้นการหลั่งอินซูลินมากขึ้น ทำให้กรดอะมิโนที่จับกับสารปริปโตเฟนถูกนำไปใช้ ทำให้ทริปโตเฟนสามารถนำไปสร้างเป็น “ซีโรโทนิน” ผ่านเข้าไปยังสมองได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสารเพิ่มความสุข ทำให้เรารู้สึกผ่านคลายและอารมณ์ขึ้น ตัวอย่างอาหารที่ช่วยเพิ่มความสุขให้เกิดขึ้น ได้แก่ กล้วย : อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 และทริปโตเฟน ซึ่งช่วยสร้างสารเซโรโทนินในร่างกาย ทำให้คลายความตึงเครียดของประบบประสาท รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้นอนหลับสบาย ไข่ : มีคุณค่าอหารมากมายทั้งโปรตีน วิตามินบี ไอโอดีน สังกะสี และกรดไขมัน โอเมก้า-3 ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นทำงานร่วมกับสร้างทริปโตเฟน แลยังทำให้อิ่มท้องนานขึ้น (ไข่ไก่ ขนาด 55 กรัม ให้โปรตีน 7 กรัม พลังงานเฉลี่ย 75 กิโลแคลอรี่) คาร์กช็อกโกแลต : มีประโยชน์มากกว่าช็อกโกแลตนามธรรมดา เพราะมีน้ำตาลน้อยและในช็อกโกแลตมีสารที่เรียกว่า ฟีนิลเอทิลเอมีน […]
โภชนาการในผู้ป่วยมะเร็ง
“ผู้ป่วยมะเร็งมีความต้องการพลังงานและสารอาหารสำคัญ มากกว่าคนปกติเพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ ซึ่งผู้ป่วยมักประสบปัญหาที่ทำให้การรับประทานอาหารพร่องลงไป ดังนั้นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการจะส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาตามเป้าหมาย” พลังงาน ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้พลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป พลังงานที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับน้ำหนักและภาวะอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น หากจะกล่าวโดยรวม ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1600-2000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารหลักหมวดต่างๆ เพื่อให้ได้สารอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยมีการกระจายสัดส่วนที่เหมาะสม โปรตีน ผู้ป่วยมีความต้องการโปรตีนที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานโปรตีนทั้งจากพืชและเนื้อสัตว์เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน โดยเลือกรับประทานเนื้ออกไก่ ไข่ ปลา ฯลฯ ในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสม ข้อปฏิบัติด้านโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็ง ขณะรักษาด้วยยาเคมี ฉายแสง หรือผ่าตัด 1. เบื่ออาหาร เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่นและรสไม่จัด ควรจัดอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายๆ มื้อ (4-6 มื้อต่อวัน) หรือเสริมขนมที่รับประทานได้ง่าย เช่น ไอศกรีม ขนาต่างๆ เป็นอาหารว่าง ใช้เครื่องดื่มเสริมพลังงานและมีโปรตีนสูง เช่น นม หรืออาหารทางการแพทย์ 2. คลื่นไส้อาเจียน รับประทานอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุนหรือรสเผ็ดร้อน […]
รับประทานผัก ผลไม้ เพิ่มความสูงแค่ช่วงวัยเด็กจริงหรือ
มีความเชื่อกันว่าถ้าคนเรามีรูปร่างสูงใหญ่มักจะได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเล่นกีฬา หรือแม้แต่เรื่องของบุคลลิกภาพ สำหรับคนที่ต้องการเพิ่มส่วนสูง ปัจจจัยในเรื่องของส่วนสูงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม การใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การดื่มนมเพื่อเพิ่ม แคลเซียม (Calcium) หรือสำหรับบางคนที่เลือกที่จะไปหาซื้ออาหารเสริม ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงในท้องตลาด จากการค้นหาข้อมูลในสื่อออนไลน์ พบข้อมูลว่าต้องทานอาหารที่มีแคลเซียม (Calcium) สูงๆ ไว้ก่อน ซึ่งได้บอกไว้ว่าผักและผลไม้ก็จัดเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ประเด็นเรื่องความสูง มีปัจจัยมาจาก กรรมพันธุ์ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ และความสมบูรณ์ของภาวะโภชนาการโดยรวม อย่างแรกต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารอย่างเพียงพอก่อน และโปรตีน (Protein) มักจะเป็นโครงสร้างหลักในการที่จะก่อให้เกิดการสะสมมวลกระดูกไม่ใช่ แคลเซียม (Calcium) อย่างเดียวยังมีองค์ประกอบอีกมากมาย เพราะฉะนั้นการรับประทานผักผลไม้อย่างเดียวสามารถทำให้เพิ่มความสูงได้ สำหรับทุกช่วงวัย เพราะกลไกของการสร้างมวลกระดูกจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นมากกว่าแคลเซียม (Calcium) อย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือ วิตามินดี (Vitamin D) ต่างๆ เหล่านี้ช่วยในเรื่องของการดูดซึม แคลเซียม (Calcium) เข้าไปแล้วเอาไปสร้างเป็นมวลกระดูกขึ้นมา ถ้าเราคาดหวังว่าการรับประทาน แคลเซียม […]