ประชาสัมพันธ์

ข่าวฝาก

ดูทั้งหมด

“จีโนมิกส์” การแพทย์แห่งอนาคต

จากความสำเร็จของการศึกษาด้านพันธุกรรมมนุษย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ประกอบกับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของ “เทคโนโลยีและการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่” ส่งผลให้เกิด “การแพทย์จีโนมิกส์” ที่ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัย และวางแผนการรักษาเฉพาะบุคคลได้อย่างเหมาะสม – แม่นยำขึ้น ซึ่งในหลายๆประเทศได้เริ่มต้นแล้ว กับการนำการแพทย์จีโนมิกส์ มาประยุกต์ใช้ เช่น รักษาโรคมะเร็ง โรคหายาก และโรคติดเชื้อ สำหรับ “ประเทศไทย” ได้ก้าวมาสู่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 26 มีนาคม 2562 เห็นชอบ “แผนปฏิบัติการบูรณาการจีโนมิกส์ประเทศไทย พ.ศ.2563-2567” สนับสนุนการจัดทำฐานข้อมูลพันธุกรรมคนไทย 50,000  ราย มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์และสาธาณสุข บนเป้าหมายเพื่อการปรับเปลี่ยนระบบบริการ การแพทย์ของประเทศ – ให้เกิดมาตรฐานใหม่ ที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมกันนี้ ครม. อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานหลัก โดยมีสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หรือ สวรส. เป็นหน่วยงานกลางขับเคลื่อนแผน อีกทั้งอนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. สงเสริมใหมีการลงทุน ให้เกิดอุตสาหกรรมการแพทย บริการ และธุรกิจเกี่ยวของ ภารกิจท้าทายนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ […]

สืบสานงานศิลป์ ตามรอย ๑๐ คำสอนพ่อ ทำความดีน้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ ๙

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอเชิญเยาวชนและประชาชน ร่วมสืบสานงานศิลป์ ตามรอยคำสอนในหลวงรัชกาลที่ ๙ สู่การพัฒนาต่อยอดอย่างยั่งยืน กับนิทรรศการออนไลน์ ๑๐ คำสอนพ่อ ทำความดีน้อมรำลึกในหลวงรัชกาลที่ ๙ กับภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันเฉลิมพระเกียรติฯ “นครป่าหลากลาย หลายชีวิต” แรงบันดาลใจจากภาพวาดฝีพระหัตถ์ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี สู่การถ่ายทอดเรื่องราวที่จะนำพาผู้ชมเรียนรู้ศาสตร์พระราชาจากพระบรมราโชวาทใน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และการผจญภัยในโลกแฟนตาซีของนครป่าไปกับเสือหลากลาย พร้อมผองผีเสื้อ และเหล่านกฮูก คาแรกเตอร์ตัวการ์ตูนจากภาพวาดฝีพระหัตถ์ ที่จะออกมาโลดแล่นถ่ายทอดเรื่องราวการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตท่ามกลางบริบทแวดล้อมต่างๆ พร้อมสอดแทรกเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพเป็นหลักในการดำเนินชีวิตให้แก่เด็กๆและเยาวชน 🎞ติดตามชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน ชุด “นครป่าหลากลาย หลายชีวิต”ออกอากาศทุกวันศุกร์ เวลา ๑๕.๐๐ น. ในช่องทางดังนี้🖥 YouTube : CHULABHORN Channel🖥 IGTV : @sirisinlapin🖥 Facebook Pimarntip Art Gallery🖥 Facebook โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และตารางออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ (ฉบับย่อ […]

บริการการศึกษา

ดูทั้งหมด

ประกาศรับสมัคร “หลักสูตรประกาศนียบัตร อบรมเฉพาะทางด้านรังสีเทคนิค (หลักสูตร 1 ปี) รูปแบบ Online Program”

🔖 ประกาศรับสมัคร “หลักสูตรประกาศนียบัตร อบรมเฉพาะทางด้านรังสีเทคนิค (หลักสูตร 1 ปี) รูปแบบ Online Program” สาขาการสร้างภาพด้วยเครื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สาขาการสร้างภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) 🗓️ ปีการศึกษา 2566 เปิดรับสมัคร 2 รอบ: รอบที่ 1 เปิดรับสมัคร 15 สิงหาคม – 15 กันยายน 2566 รอบที่ 2 เปิดรับสมัคร 15 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ✅ จุดเด่นของหลักสูตร• การเรียนแบบออนไลน์ ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องลาศึกษาต่อแบบเต็มเวลา• ผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลาและสถานที่• สามารถเรียนจบหลักสูตรภายในระยะเวลา 1 ปี• สอนโดยอาจารย์รังสีเทคนิคและรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสถาบัน• ศึกษาดูงานศูนย์การสร้างภาพวินิจฉัยทางการแพทย์ชั้นนำของประเทศไทย• ผู้สำเร็จการศึกษาจะเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญการในวิชาชีพรังสีเทคนิคเฉพาะทางด้าน CT หรือ MRI• เป็นหลักสูตรที่มีความร่วมมือกับสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย สถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย 🎉 […]

📢 ประชาสัมพันธ์ ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2566

ประชาสัมพันธ์ ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2566.เปิดรับสมัคร 15 ท่าน!! โดยเปิดรับสมัคร 2 รอบ ดังนี้รอบที่ 1 เปิดรับสมัคร เดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม 2565รอบที่ 2 เปิดรับสมัคร เดือนมีนาคม ถึง เดือนเมษายน 2566.โปรดติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมการรับสมัครของหลักสูตรสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่https://pscm.cra.ac.th/[email protected] ต่อ 8465 หรือ 08-3929-9519ติดตามข่าวสารของหลักสูตรได้ทาง : https://www.facebook.com/DHPSCM.CRA #สุขภาพดิจิทัล#วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน#ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์#เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต

ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการมหิดล-จุฬาภรณ์) ประจำปีการศึกษา 2565

 ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (โครงการมหิดล-จุฬาภรณ์) ประจำปีการศึกษา 2565รอบที่ 3 Admission 1 รับตรงร่วมกัน (รับร่วมกับ กสพท.) จำนวน 15 คน*รับสมัครตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 12 พฤษภาคม 2565 *จำนวนการรับปรับเพิ่มจากเดิม 10 เป็น 15 คน โดยจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการในภายหลังที่เว็บไซต์ กสพท. https://www9.si.mahidol.ac.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตววิทยาประยุกต์โทร 02-576-5700 ต่อ 8245-8246Email: [email protected] :https://www.facebook.com/cra.veterinary/

บริการทางการแพทย์

ดูทั้งหมด

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมบริการวิชาการให้ความรู้สุขภาพแก่บุคลากร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ“วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ”

13 กุมภาพันธ์ 2567 โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมบริการวิชาการให้ความรู้สุขภาพแก่บุคลากร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ“วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ”บรรยายโดยนายแพทย์เกรียงไกร ถวิลไพร แพทย์เฉพาะทางอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ ห้องประชุมพลังไทย 2 อาคาร 2 บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ติดตามข่าวประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ที่ https://www.chulabhornchannel.com/news-activities/

ประกาศเอกสารการอนุมัติขยายอายุวัคซีน COVID-19 Vaccine (Vero Cell), Inactivated (Covilo) แบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนตำรับยา และตารางแสดงอายุวัคซีน Sinopharm ขนาดบรรจุ 1 และ 2 โดส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้จัดสรรวัคซีน COVID-19 Vaccine (Vero Cell), Inactivated (COVILO) ขอเรียนแจ้งว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้อนุมัติการขยายอายุวัคซีนซิโนฟาร์ม COVID-๑๙ Vaccine (Vero Cell), Inactivated (COVILO) ที่ผลิตโดย Beijing Institute of Biological Products Col, Ltd. ขนาดบรรจุขวดละ ๒ โดส (๑.๐ มิลลิลิตร) สำหรับวัคซีนที่ยังไม่ได้เปิดใช้ จากเดิม ๑๒ เดือน (๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ เดือน (๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) นับจากวันที่ผลิต ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอประกาศเอกสารแบบคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนตำรับยา (แบบ ย.๕) เพื่อแจ้งข้อมูลการขยายอายุของวัคซีนดังกล่าว แก่ท่านผู้เกี่ยวข้องในสถานพยาบาล หน่วยงานรับจัดสรรวัคซีนของท่านปรับปรุงข้อมูลในระบบบริหารจัดการคลังให้เป็นไปตามที่ได้รับอนุญาต ณ ปัจจุบันต่อไป จึงเรียนมาเพื่อทราบ […]

เครื่องฉายรังสี รุ่น Ethos

การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์การเลือกใช้เครื่องฉายรังสีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

ผลงานวิจัย

ดูทั้งหมด

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ที่ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์โครงการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปี 2565

🎉ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ที่ได้รับรางวัลชมเชย ประเภทนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ โครงการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ประจำปี 2565 ในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 35 🎖️ชื่อผลงานนวัตกรรม MISS G.BEAN ROLLING  เป็นผลงานที่นักศึกษาสร้างสรรค์ขึ้นในการศึกษารายวิชา พัฒนานวัตกรรมในคลินิก ปีการศึกษา 2565 👨‍🏫อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์วุฒิพงษ์ เชื่อมนอก👧ทีมนักศึกษาพัฒนานวัตกรรม1) นางสาวพชรกร จิตเกษม2) นางสาวทักษพร วงศ์ปฏิมาพร3) นางสาวสุพัตรา ฉันทะกรณ์4) นางสาวณัฐธิดา รอดเจริญ5) นางสาวมัชฌิมา ใจดี6) นางสาวอาภัสรา กงศรี 👩‍⚕️🧑‍⚕️ปัจจุบันนักศึกษาที่ได้รับรางวัลสำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 👉ความเป็นมาของโครงการ: อาการปวดศีรษะจากความเครียดเป็นอาการที่พบได้มากที่สุดในกลุ่มอาการปวดศีรษะซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆและการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้ที่ประสบปัญหาดังกล่าวมีความไม่สุขสบาย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมไม้นวดลดอาการปวดศีรษะจากความเครียดและเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังใช้นวัตกรรม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด , อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ และนายปฏิภาณ คำมณี สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” ( QA Pulse: Predictive Quality Assurance System of linear accelerator in Radiation Therapy using AI ) โดยได้รับรางวัล SILVER MEDAL จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “คิวเอ เพาส์: ระบบประกันคุณภาพเชิงทำนายสำหรับเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาผู้ป่วยมะเร็ง” เป็นแนวคิดใหม่ของระบบประกันคุณภาพเครื่องเร่งอนุภาคในงานรังสีรักษาที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานเชิงรุกสำหรับบำรุงรักษา โดยแก้ไขข้อบกพร่องของเครื่องเร่งอนุภาคก่อนที่เกิดความผิดพลาดของเครื่องมือที่เกิดกับค่าความคาดเคลื่อนทางคลินิกที่กำหนดไว้ ระบบนี้จะอาศัยข้อมูลประกันคุณภาพในอดีตกับการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์หรือเทคนิคปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประเมินความล้มเหลวของเครื่องเร่งอนุภาคในอนาคต ประโยชน์ที่ได้รับ […]

ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ที่ได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันท์ธิดา ภัทราประยูร , อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด และผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล สังกัดวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ในผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” ( Low-cost screening technology for neonatal jaundice using AI ) โดยได้รับรางวัล GOLD MEDAL (with the congratulations of the jury) จากการประกวดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เวทีระดับนานาชาติในงาน The 48th International Exhibition of Inventions Geneva ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ ผลงาน “เทคโนโลยีต้นทุนต่ำสำหรับการตรวจคัดกรองภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดด้วยปัญญาประดิษฐ์” เป็นเทคโนโลยีการตรวจภาวะตัวเหลืองสำหรับทารกแรกเกิดชนิดไม่รุกล้ำ โดยอาศัยอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ง่ายในทุกกลุ่มประชากร เพื่อให้ทารกทุกคนได้รับการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและรักษาภาวะตัวเหลืองได้อย่างทันท่วงทีและเหมาะสม โดยผ่านทางอุปกรณ์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สามารถใช้งานได้ง่าย ต้นทุนต่ำ เชื่อถือได้และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม อีกทั้งสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิและตติยภูมิผ่านเทคโนโลยีคลาวน์ จุดเด่นหรือความแปลกใหม่ […]