ยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy) : นวัตกรรมในการรักษาโรคมะเร็ง
การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก หนึ่งในวิธีการรักษาที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือ “ยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า” หรือ Targeted Therapy ซึ่งเป็นการใช้ยาเพื่อมุ่งเป้าไปที่เซลล์มะเร็งโดยเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายในการลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาแบบดั้งเดิม เช่น เคมีบำบัด ยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้าจะทำงานโดยการตรวจสอบและเข้าไปทำลายหรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเซลล์มะเร็งจะมีโปรตีนหรือลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างจากเซลล์ปกติ เป็นการช่วยลดการทำลายเซลล์ปกติในร่างกาย
วิธีนี้สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาและลดผลข้างเคียงจากการรักษาได้ทั้งนี้ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ายารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้านั้นมีความสามารถในการรักษาโรคมะเร็งบางประเภทได้ดีกว่าการรักษาแบบดั้งเดิม ความแม่นยำ สามารถปรับการรักษาตามลักษณะเฉพาะของเซลล์มะเร็งแต่ละคน แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญ เช่น การดื้อยา และการเข้าถึงการรักษาที่อาจมีราคาสูง อย่างไรก็ตามด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการวิจัยที่ไม่หยุดยั้ง อนาคตของยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้ายังคงมีความหวังในการพัฒนาวิธีการรักษาใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ มีภารกิจหลักในการผลิตยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้าชนิดที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine Kinase Inhibitors) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลหลายแห่งของประเทศไทย
โดยระยะแรกได้ดำเนินการผลิต
● ยาเม็ด Imatinib ที่ความแรง 100 mg และ 400 mg สำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
● ยาเม็ด Gefitinib ที่ความแรง 250 mg สำหรับรักษาโรคมะเร็งปอด
● ยาเม็ด Erlotinib ที่ความแรง 100 mg และ 150 mg ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับ Gefitinib
และใช้รักษาโรคมะเร็งปอดและมะเร็งตับอ่อนการผลิตยารักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้าใช้ได้เองในประเทศไทยนั้น จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าสูง เป็นการเพิ่มโอกาสให้ประชาชนชาวไทยสามารถเข้าถึงการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
เรียบเรียงโดย ดร.ศรัณญา จันทราภิรมย์ นักวิจัย ฝ่ายวิจัยและพัฒนา โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ