วันที่ 20-22 กรกฏาคม 2566: ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดย วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ได้ดำเนินโครงการวิจัย “โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในพื้นที่ที่พบการระบาดเฉพาะถิ่น” และภายใต้การดำเนินโครงการวิจัยดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมหลักสูตรอบรมนักวิจัยชุมชนระยะสั้น ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน เวลา 10.00-12.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดนักวิจัยชุมชนหน้าใหม่ที่มีความรู้ในเรื่องวิธีการเก็บข้อมูลคนในชุมชนเข้าใจข้อคำถามอย่างถูกต้อง และผู้วิจัยได้ข้อมูลที่ตรงประเด็นกับข้อคำถาม
ในการอบรมครั้งนี้ นายโชติวัฒน์ ฉัตรสุมงคล สาธารณสุขอำเภอบ้านหลวง ได้ให้การต้อนรับคณะผู้วิจัยและเข้าร่วมรับฟัง และมีผู้สนใจและเข้าร่วมอบรมหลักสูตรนักวิจัยชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 40 คน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจากตำบลบ้านฟ้า-บ้านนาวี, บ้านพี้, สวด, ป่าคาหลวง, บุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 4 ตำบล บุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลบ้านหลวง การอบรมดังกล่าวประกอบด้วย
1. การบรรยายและนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัย “โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีในพื้นที่ที่พบการระบาดเฉพาะถิ่น” โดย ผศ.นพ.ธีรภัทร อึ้งตระกูล รักษาการคณบดีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน และหัวหน้าโครงการวิจัย ซึ่งได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน โดยเป็นการถ่ายทอดและนำข้อมูลวิจัยที่ได้เก็บรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นให้กับชุมชนของอำเภอบ้านหลวงได้ทราบถึงอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีในปัจจุบันเพื่อหาแนวทางการรักษาและแนวทางการป้องกันการเกิดโรคที่เหมาะสม
2. การบรรยายหัวข้อ “วิธีการเก็บข้อมูลสำหรับงานวิจัย” โดยนางสาวสิริมา เจริญภัทรเภสัช พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ระดับชุมชนได้มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บข้อมูลและสามารถเป็นผู้ช่วยนักวิจัยระดับชุมชนได้ และในช่วงบ่าย คณะวิจัยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยในโครงการฯเพื่อเก็บข้อมูลโครงการวิจัย “ความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีและอุปสรรคในการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดี หรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งท่อน้ำดี” เพื่อประเมินระดับความรอบรู้เรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีและเพื่อให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้ ประโยชน์ที่สำคัญของชุมชนที่จะได้รับคือการพัฒนา