การศึกษา วิจัย และนวัตกรรม
ค้นหาจากช่วงเวลา

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สกวส. ขยายระยะเวลาบทเรียนออนไลน์อัลตราซาวด์สำหรับใช้ในห้องฉุกเฉิน Ultrasound in Emergency medicine บน Platform Chula MOOC (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สกวส. ประกาศขยายระยะเวลาบทเรียนออนไลน์อัลตราซาวด์สำหรับใช้ในห้องฉุกเฉิน Ultrasound in Emergency medicine บน Platform Chula MOOC  (ไม่มีค่าใช้จ่าย) เนื้อหาในบทเรียนประกอบไปด้วย 1) Introduction and hepatobiliary system โดยอ.พญ.ลักษพรรณ เจริญวิศาล 2) E-FAST and lung US โดยผศ.นพ.รัฐชัย  แก้วลาย 3) OB ultrasound in ED โดยผศ.นพ.เกษม เรืองรองมรกต 4) Gyne Ultrasound in ED โดย ผศ.นพ.เกษม  เรืองรองมรกต 5) Vascular ultrasound in ED โดยอ.พญ.ศศิกร  เฟื่องกำลูน 6) Echocardigram in ED โดยอ.พญ.สุธาพร ลำเลิศกุล 7) […]

เปิดผลงานวิจัยชนะเลิศ เครื่อง MRI mock-scanner ช่วยลดการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะในกลุ่มเด็ก ประหยัดต้นทุนนำเข้า โดย นศ.รังสีเทคนิค ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

เนื่องด้วยการตรวจด้วยเครื่อง MRI เป็นการตรวจที่ใช้เวลานานและต้องอาศัยการนอนนิ่งของผู้เข้ารับการตรวจ จึงเป็นปัญหาอย่างมากในผู้เข้าการตรวจในกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถอยู่นิ่งได้นาน ปัญหาการตื่นกลัวต่อการตรวจด้วยเครื่อง MRI ซึ่งมีเสียงดังและลักษณะของเครื่องที่เป็นอุโมงค์แคบ ทำให้ผู้เข้ารับการตรวจกลุ่มเด็กเกิดอาการกลัวและไม่สามารถเข้ารับการตรวจได้ ทั้งหมดก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแปลกปลอมหรือความเบลอขึ้นในภาพ MRI อาจนำไปสู่ความยากในการวินิจฉัยให้ถูกต้อง ปัจจุบันมีเครื่อง MRI mock-scanner แต่ต้องนำเข้าและมีราคาที่สูงมาก (ทั้งนี้กลุ่มนักศึกษาสามารถประดิษฐ์และใช้งานได้เหมือนกัน ในราคาเพียงสองหมื่นห้าร้อยบาท) เน้นการพัฒนาทักษะทางการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตต่อไปในอนาคต ล่าสุดมีผลงานของ นักศึกษารังสีเทคนิค คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มาบอกกล่าวกัน เป็น งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาอุปกรณ์จำลองการตรวจด้วยเครื่อง MRI เพื่อลดการเคลื่อนไหวบริเวณศีรษะ ขณะตรวจด้วยเทคนิค fMRI ในอาสาสมัครเด็ก (MRI mock-scanner for the reduction of head movement in pediatric participants undergoing fMRI scanning) ของ น.ส.นันทิกานต์ สงทิพย์ (มะเหมี่ยว) , น.ส.พรรษชนก ปันทะรส […]

กิจกรรม “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา” ณ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

1 เมษายน 2566 : ร่วมเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์พระราชา กับกิจกรรม “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565” โดยสัปดาห์นี้ฝ่ายกิจการนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พาน้องๆ นักศึกษาร่วมเดินทางเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์พระราชา ณ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา     พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน เป็นสถานที่รวบรวมผลงานของช่างสถาบันสิริกิติ์ ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้มีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมผลงานตั้งแต่เริ่มทำในระยะแรกๆ จนถึงผลงานประณีตศิลป์ชิ้นเอก (Masterpiece) ที่ช่างสถาบันสิริกิติ์รังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ด้วยสองมือลูกหลานชาวนา ชาวไร่ ผู้ยากจน ไม่มีแบบ ไม่มีพิมพ์ ไม่มีหุ่น ผลงานบางชิ้นใช้เทคนิคที่มีรากฐานจากศิลปะไทยโบราณตั้งแต่สมัยอยุธยา และหลายชิ้นถูกสร้างสรรค์โดยใช้เทคนิคที่คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร      เมื่อเข้ามาภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน น้องๆได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ ผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของแผ่นดิน ซึ่งงานศิลป์ชั้นสูง อาทิ หมู่เรือพระที่นั่งจำลองจากขบวนเรือพระราชพิธี พระที่นั่งพุดตานถมทอง เครื่องเงินเครื่องทอง และฉากจำหลักไม้เรื่องสังข์ทองและหิมพานต์ เป็นต้น จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมอาคารเรียน-รู้-เรื่องโขน ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องนาฏกรรมโขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งประกอบด้วยผลงานศิลปกรรมแขนงต่างๆที่ใช้ประกอบการแสดงโขน อาทิ เครื่องประกอบฉาก […]

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ศึกษาดูงานการจัดกิจกรรมค่ายยุวชนรักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม

28 มีนาคม 2566: ศูนย์กีฬาและนันทนาการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำคณะเจ้าหน้าที่และบุคลากรในสังกัดไปศึกษาดูงานการจัดกิจกรรมค่ายยุวชนรักกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการวางแผนและเตรียมความพร้อมการจัดกิจกรรมเข้าค่ายยุวชนด้านกีฬาช่วงฤดูร้อนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในปี 2566 นี้ ให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และพัฒนาสัมพันธภาพอันดีระหว่างสองสถาบัน    ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ผศ.ถาวร  กมุทศรี รักษาการรองคณบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา  มหาวิทยาลัยมหิดล  ให้การต้อนรับและพาเยี่ยมชมการจัดกิจกรรมว่ายน้ำ ณ สระว่ายน้ำสิริมงคล และห้องจัดกิจกรรมกีฬาอื่นๆ ภายในศูนย์กีฬาฯ ตลอดจนศึกษาขั้นตอนการลงทะเบียนและการจัดเตรียมอาหารกลางวันสำหรับยุวชนที่มาเข้าค่ายในครั้งนี้  ณ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา  มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จ.นครปฐม

กิจกรรม “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565” ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม

25 มีนาคม 2566 : กิจกรรม “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565” สัปดาห์นี้ ฝ่ายกิจการนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมทัศนศึกษา ณ โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ จังหวัดสมุทรสงคราม ร่วมเรียนรู้ศาสตร์และศิลป์ของพระราชา ผ่านการบรรยายถ่ายทอดความรู้ตามแนวทางการดำเนินโครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ โดยมูลนิธิชัยพัฒนา จากนั้น ลงพื้นที่เยี่ยมชม พร้อมศึกษาเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชน สวนเกษตรสาธิตเพื่อการเรียนรู้เรื่องพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและพืชสมุนไพร เรียนรู้การจัดพื้นที่สวนผลไม้ แหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่นอัมพวา อีกทั้งยังเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาการเกษตร เกษตรกรชาวสวนและผู้ที่สนใจ จากนั้นชมการเคี่ยวน้ำตาลมะพร้าวแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นการส่งเสริมเอกลักษณ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน เยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชนและเลือกซื้อสินค้าในโครงการ พร้อมชมนิทรรศการริมคลองอัมพวา ที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ชุมชนชาวอัมพวา จากนั้น ในช่วงบ่ายน้องๆ นักศึกษาได้ทำกิจกรรมจักสานของที่ระลึกจากใบมะพร้าว และทำบ้านนกจากกะลามะพร้าวเป็นการร่วมเรียนรู้และร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาความเป็นไทย สร้างความสนุกสนานสามัคคีได้เป็นอย่างดี โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์ ดำเนินงานสนองพระราชดำริในการพัฒนาและอนุรักษ์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชุมชนอัมพวา ทั้งในด้านกายภาพและการดำเนินชีวิตของผู้คนในชุมชน เป็นการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดศักยภาพเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของจังหวัดสมุทรสงคราม รวมทั้งเป็นแหล่งศึกษาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้พื้นเมือง การรักษาระบบนิเวศน์ของสวนผลไม้ และแหล่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนอัมพวา ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยสร้างโอกาสให้ชุมชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการบริหารจัดการพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการพัฒนา และการพึ่งพาตนเองของชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9

วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันในเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดลาดพร้าว

วันพุธที่ 22 มีนาคม 2566 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 หลักสูตรพยาบาลศาตรบัณฑิตสำหรับผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาอื่น วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากและฟันในเด็กก่อนวัยเรียนศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดลาดพร้าว นอกจากนี้ยังได้ร่วมมอบของที่ระลึก สมุดระบายสี,เข็มกลัด,แปรงสีฟัน,นม,สมุด ปากกา,แอลกอฮอล์เจล โดยมีคุณสุชาดา จันทกูล ประธานศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดลาดพร้าว ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดลาดพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ 1 ซอยลาดพร้าววังหิน 21 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมสืบสานแนวทางของพ่อ สานต่อทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง จัดกิจกรรม “ รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565 ” ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

11 มีนาคม 2566 : ฝ่ายกิจการนักศึกษาและสโมสรนักศึกษา ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรม “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565” โดยในวันนี้น้องๆนักศึกษาฯได้ร่วมเดินทางมาทัศนศึกษาพร้อมทำกิจกรรมร่วมกัน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับกิจกรรมในวันนี้เริ่มด้วยการเข้ารับฟังการบรรยายแนะนำโครงการในพระราชดำริตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 โดยวิทยากรของศูนย์ฯ  จากนั้นน้องๆได้แบ่งกลุ่มร่วมฐานกิจกรรมศึกษาหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วย กิจกรรมสานปลาตะเพียนใบลาน การออกแบบพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่และการทำไข่เค็มดินสอพอง ปิดท้ายด้วยกิจกรรมลองปักดำ เพื่อเรียนรู้ฝึกดำนา ณ แปลงนาสาธิตของโครงการ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่เรียนรู้เชิงเกษตรนำเสนอแนวคิด แรงบันดาลใจและการสร้างจิตสำนึกดีๆ ผ่านหลักคำสอนและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อส่งต่อให้เด็กเยาวชน รวมทั้งประชาชนให้ได้นำไปต่อยอดพัฒนาตนเองและสังคม ภายในศูนย์ฯ มีการสาธิตและฐานกิจกรรมการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงให้ความรู้ด้านต่างๆ อาทิ พื้นที่นา พื้นที่เพาะปลูก พื้นที่เลี้ยงสัตว์ พื้นที่กักเก็บน้ำ รวมไปจนถึงการได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ กับสัตว์เลี้ยง อาทิ ไก่ เป็ด แพะ เป็นต้น กิจกรรมครั้งนี้สร้างความสนุกสนานและสานความสามัคคีในการร่วมกันทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะให้แก่น้องๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จัดโครงการอาสาจุฬาภรณ์: การบูรณาการทางการแพทย์และนวัตกรรมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน ในพื้นที่ อ.บ้านหลวง จ.น่าน

ในวันที่ 7-10 มีนาคม 256 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ได้ดำเนินโครงการอาสาจุฬาภรณ์: การบูรณาการทางการแพทย์และนวัตกรรมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน ในพื้นที่ อ.บ้านหลวง จ.น่าน เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชาชนในชุมชน รวมถึงการนำนวัตกรรมระบบเก็บข้อมูลสุขภาพ แอปพลิแคชัน อาสาจุฬาภรณ์ นำไปใช้ในชุมชนนำทีมลงพื้นที่โดยรองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงกัญชนา ง้าวสุวรรณ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ มหิกุล, อาจารย์ ดร.ปวรี นนทะแสน และผู้วิจัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฟ้า ตำบลบ้านนาวี ตำบลบ้านพี้ ตำบลสวด ตำบลป่าคาหลวง กระทรวงสาธารณสุข อ.บ้านหลวง จ.น่าน โดยมีประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทีั้งนี้ ขอขอบคุณในความร่วมมือที่จะนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จัดกิจกรรม บรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง โรคมะเร็งและการคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น แก่ประชาชน ณ การเคหะชุมชนหลักสี่ กรุงเทพฯ

ในวันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2566 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน จัดกิจกรรม บรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน ณ การเคหะชุมชนหลักสี่ กรุงเทพฯ ในหัวข้อเรื่อง โรคมะเร็งและการคัดกรองมะเร็งเบื้องต้น โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน ให้เกียรติเป็นวิทยากรให้ความความรู้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม 3 ป. ห่างไกลมะเร็ง ป.1 ประเมินความเสี่ยงของโรคที่ซ่อนอยู่ ป.2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นป.3 ป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งด้วยวิธีการต่าง ๆ พร้อมกันนี้ ได้รับสมัครอาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ 3 เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนในชุมชน จากการดูแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ภายในงานอีกด้วย

ประมวลภาพบรรยากาศ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ UCL-CRA Faculty Development and Capacity Building Conference ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลตำรวจ และอาคารสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ประมวลภาพบรรยากาศ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการระหว่างประเทศ UCL-CRA Faculty Development and Capacity Building Conference ในระหว่างวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ – วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลตำรวจ และอาคารสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ บุคลากรสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตลอดจนบุคลากรของสถาบันร่วมสอนในด้านการจัดการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษา และการพัฒนาทักษะการสอน นอกจากนี้ยังเป็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมและวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจาก University College London สหราชอาณาจักร

วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนได้รับเกียรติจาก รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร และ ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ มาร่วมสัมภาษณ์และให้ข้อมูลกับคณะกรรมการประเมินภายนอก จาก University College London (UCL) สหราชอาณาจักร

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2566 วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนได้รับเกียรติจาก รศ.พญ.ประสบศรี อึ้งถาวร กรรมการแพทยสภา และ ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ ผู้อำนวยการสมพ. (IMEAc) ที่มาร่วมสัมภาษณ์และให้ข้อมูลกับคณะกรรมการประเมินภายนอก (External reviewers) จาก University College London (UCL) สหราชอาณาจักร โดยเป็นมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ต่อการดำเนินการของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ วิทยาลัยฯ ได้รับการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานแพทยสภา/IMEAc และมาตรฐานระดับสากล WFME

พิธีมอบโล่รางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันการออกกำลังกายในโครงการ CRA Calories Credit Challenge

24 กุมภาพันธ์ 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รักษาการรองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันการออกกำลังกายในโครงการ CRA Calories Credit Challenge ณ Co-Working ชั้น 2 โซน C อาคารสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งโครงการดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มงานที่ได้รับรางวัล มีดังนี้ 🥇รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 กลุ่มงานนโยบายแผนและงบประมาณ🥈รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กลุ่มสื่อสารองค์กร🥉รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กลุ่มโครงการตามพระดำริและเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการแข่งขัน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีการสะสมแคลอรี่รวม 1,399,736 แคลอรี่ ขอแสดงความยินดีกับทุกหน่วยงานที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง สำหรับ โครงการ CRA Calories Credit Challenge จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายสําหรับบุคลากรและนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ […]

1 16 17 18 40