ประมวลภาพบรรยากาศ โครงการจิตอาสาจุฬาภรณ์เพื่อชุมชน ปีการศึกษา 2565 กิจกรรมที่ 2 PSCM ปันน้ำใจเพื่อน้อง
ประมวลภาพบรรยากาศ โครงการจิตอาสาจุฬาภรณ์เพื่อชุมชน ปีการศึกษา 2565 กิจกรรมที่ 2 PSCM ปันน้ำใจเพื่อน้อง เมื่อวันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ.2566 โดยกิจกรรมดังกล่าวประกอบไปด้วยการบูรณะสนามเด็กเล่น ห้องพยาบาล และโรงเพาะเห็ด พร้อมบริจาคอุปกรณ์การเรียนและอุปกรณ์กีฬา ณ โรงเรียนวัดไทรน้อย อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ที่หลากหลาย โดยเน้นหลักให้นักศึกษาเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และส่งเสริมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อฝึกฝนทักษะเฉพาะด้านที่ตนเองมีเพื่อช่วยเหลือสังคม
ประมวลภาพบรรยากาศพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
22 มกราคม 2566 : ประมวลภาพบรรยากาศพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยในวันนี้ น้องๆ นักศึกษาจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ร่วมลงแข่งขันกีฬาเทเบิลเทนนิส ประเภทชายเดี่ยวและหญิงเดี่ยว รวม 4 รายการ การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 48 “ดอกจานบ้านเชียงเกมส์ ” ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-30 มกราคม 2566 มีการแข่งขันกีฬาจำนวน 35 ชนิด มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 122 สถาบัน พร้อมทัพนักกีฬาและเจ้าหน้าที่กว่า 30,000 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาซึ่งเป็นเยาวชนสำคัญของชาติ และบุคลากรผู้เกี่ยวข้องมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจและพัฒนาทักษะความสามารถด้านกีฬา รวมถึงการเสริมสร้างความสามัคคีและ สัมพันธไมตรีอันดีระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันรวม 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน ว่ายน้ำ กรีฑา […]
พิธีเปิดการฝึกอบรม และปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๔๒๐ ชั่วโมงวันอาทิตย์ ที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๖ ณ ศูนย์ฝึกอบรมวิสาหกิจชุมชนอำเภอแม่จัน (ป่าตึง) เชียงราย หลั่นล้าอีโคโนมี อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ให้เกียรติเป็นประธานในในพิธีเปิดการฝึกอบรมและปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรประกาศนีบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๔๒๐ ชั่วโมง ณ ศูนย์ฝึกอบรมวิสาหกิจชุมชนอำเภอแม่จัน (ป่าตึง) เชียงราย หลั่นล้าอีโคโนมี อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายสำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๔๒๐ ชั่วโมง เป็นการจัดการศึกษาภายใต้โรงเรียนนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานพยาบาล คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยมีมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุ มีทักษะอาชีพในการปฏิบัติงานได้จริงและสามารถนำความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปใช้ประกอบอาชีพดูแลผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงที่ต้องการการดูแลต่อไป การดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๔๒๐ ชั่วโมง ครั้งนี้ เป็นการจัดฝึกอบรม รุ่นที่ ๒ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน ๔๐ คน ดำเนินการฝึกอบรมตั้งแต่วันที่ ๑๖ มกราคม ถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยแบ่งการฝึกอบรมออกเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ เรียนภาคทฤษฎีและปฏิบัติในชั้นเรียน จำนวน ๒๐๐ […]
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมจัดงาน “ ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ” ร่วมสร้างสรรค์วันมหัศจรรย์ให้กับเด็กและเยาวชนผ่านกิจกรรมเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ณ ศูนย์การค้าเดอะสตรีท รัชดา กรุงเทพฯ
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม 2566: วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ววจ.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และหน่วยงานต่างๆ จัดงาน “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2566” ภายใต้แนวคิด “KIDS SCIENCE คิดส์สร้างโลก อย่างสร้างสรรค์” ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมีศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้การต้อนรับ ภายในงานมีการจัดกิจกรรมจากหน่วยงานต่างๆ มากมายให้เด็กๆ ได้ร่วมสนุกสนานและเพลิดเพลินควบคู่กับการมอบสาระความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพในรูปแบบ “ คิดสนุกกับถนนสายวิทยาศาสตร์ SCIENCE AVENUE รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ” จัดสถานีแห่งการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อให้เด็กๆได้ ร่วมค้นหาความรู้ทางด้านสุขภาพผ่านกิจกรรม 3 […]
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการ “ รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565 ” นำนักศึกษาลงพื้นที่ทัศนศึกษา ณ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
7 มกราคม 2566 ฝ่ายกิจการนักศึกษาและสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดโครงการ “ รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา 2565 ” โดยมีนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ร่วมเดินทางไปทัศนศึกษาและทำกิจกรรมร่วมกัน ณ พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โครงการ “รักษ์แผ่นดิน ศาสตร์และศิลป์พระราชา” ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักพื้นฐานในการศึกษาเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิต ผสมผสานการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้เกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ จัดขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเมษายน 2566 โดยมีสถานที่ต่างๆ ที่น่าสนใจในการไปทัศนศึกษา อาทิ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ ราชดำเนินกลาง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านของพ่อ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของชาติและพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตามแนวทางพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนกระบวนการทางความคิดที่พระองค์ทรงใช้ในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบผ่านการศึกษาดูงานและเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้การต้อนรับน้องเมย์” รัชนก อินทนนท์ เพื่อทำการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ เป็นการวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (3D Movement Analysis) ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา โรงเรียนวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้การต้อนรับ “น้องเมย์” รัชนก อินทนนท์ นักแบดมินตันมือ 1 ทีมชาติไทย และมืออันดับ 7 ของโลก ทำการวิเคราะห์ท่าทางชีวกลศาสตร์ เป็นการวิเคราะห์ท่าทางการเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ (3D Movement Analysis) โดยมีการติดเครื่องหมายสะท้อนแสงที่ปุ่มกระดูกหรือข้อต่อและใช้กล้องบันทึกภาพการเคลื่อนไหว จากนั้นใช้โปรแกรมเฉพาะเพื่อวิเคราะห์ตัวแปรทางคิเนเมติกส์และคิเนติกส์ของการเคลื่อนไหว เช่น มุมองศาของข้อต่อ ความเร็วเชิงเส้น เชิงมุมของข้อต่อ และแรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งจากพื้น เป็นต้น เพื่อประเมินและวางแผนพัฒนาการฝึกซ้อมของนักกีฬาให้มีพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้นต่อไป
คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โชว์ความพร้อมในการผลิต “นักฉุกเฉินการแพทย์ความช่วยเหลือแรกก่อนถึงมือแพทย์” รองรับความขาดแคลนในอนาคต
วันที่ 20 ธันวาคม 2565 คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โดยโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาฉุกเฉินทางการแพทย์ (ต่อเนื่อง) โชว์ศักยภาพและความพร้อมในการผลิต “นักฉุกเฉินการแพทย์ ความช่วยเหลือแรกก่อนถึงมือแพทย์” รองรับอาชีพสาขาขาดแคลนอย่างแน่นอนในอนาคต ณ ห้องหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ “การบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล” ถือเป็นงานบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของประเทศ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการปฏิบัติการทางการแพทย์ขั้นสูงตั้งแต่เมื่ออยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ดังนั้นการบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่บริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2551 และเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้มีประกาศ “พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาฉุกเฉินการแพทย์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2564” โดยให้มีคณะกรรมการวิชาชีพทำหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรสาขาอื่นที่เทียบเท่าปริญญาด้านฉุกเฉินการแพทย์” ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการศึกษาด้านฉุกเฉินการแพทย์ระดับปริญญามาแล้วประมาณ 13 ปี ตราบจนปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้สำเร็จการศึกษาสาขาฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความสามารถในระดับนี้จำนวน 674 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ. 2565) อัตราการผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์ เพียงปีละ 180-200 คนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ […]
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลและลงนามถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ทุกแห่งทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์
20 ธันวาคม 2565 เวลา 07.45 น. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดยศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคลและลงนามถวายพระพรแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)ทั่วประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ ทั้งนี้ พิธีจัดขึ้น ณ CRA HALL ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร การนี้ ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงโฉมศรี โฆษิตชัยวัฒน์ อธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคลต่อหน้าพระรูป สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พร้อมคณะผู้บริหารและบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ น้อมจิตร่วมกันถวายพระพรชัยมงคลและลงนามถวายพระพร ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว และทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง สถิตเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยยิ่งยืนนานตลอดไป
นักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ร่วมสวดมนต์ อธิษฐานจิตถวายพระพรให้ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ทรงหายจากพระอาการประชวร
18 ธันวาคม 2565 เวลา 20.00 น. สโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย นางสาวณัฐฐิรา ใจมา นายกสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมคณะกรรมการสโมสรนักศึกษา ได้นำนักศึกษาจากทุกคณะของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ น้อมใจร่วมกันสวดมนต์ผ่านระบบออนไลน์ โดยอัญเชิญบทสวด “โพชฌังคปริตร” อธิษฐานจิตถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ว และทรงมีพระพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง สถิตเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยยิ่งยืนนานตลอดไป
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอแสดงความยินดีกับนางสาวธันย์ชนก จอมศักดิ์ นักรังสีการแพทย์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัล Best oral presentation ในหัวข้อ Assessment of Performing and Development of Al-based Automatically Volumetric Measurement Associated With Semi-quantitative Analysis Using Metabolic 18F-FDG Imaging ในงาน 22nd Asia-Oceania Congress on Medical Physics, 2022 (AOCMP 2022)
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอแสดงความยินดีกับนางสาวธันย์ชนก จอมศักดิ์ นักรังสีการแพทย์ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่ได้รับรางวัล Best oral presentation ในหัวข้อ Assessment of Performing and Development of Al-based Automatically Volumetric Measurement Associated With Semi-quantitative Analysis Using Metabolic 18F-FDG Imaging ในงาน 22nd Asia-Oceania Congress on Medical Physics, 2022 (AOCMP 2022) งานประชุมนักฟิสิกส์ทั่วโลก ประจำปี 2565 ครั้งที่ 22 จัดขึ้นที่ประเทศไต้หวัน ทั้งนี้ นักรังสีการแพทย์ท่านนี้เป็น ผลผลิตรุ่นที่ 1 จากโรงเรียนรังสีเทคนิค คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โชว์ศักยภาพ เร่งปั้น “นักฟิสิกส์การแพทย์” ที่เป็นเลิศทางการปฏิบัติ บูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่การสร้างนวัตกรรม
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เปิดห้องเรียนหลักสูตรฟิสิกส์การแพทย์ ณ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ แนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ ให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมกระบวนการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานจากสถานที่จริง เพื่อให้ได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของ นักฟิสิกส์การแพทย์ อาจารย์ ดร.จีรศักดิ์ คำฟองเครือ อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เปิดเผยว่า “ฟิสิกส์การแพทย์” เป็นสาขาวิชาที่นำความรู้และกระบวนการทางฟิสิกส์และการคำนวณมาประยุกต์ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยด้วยรังสี ซึ่งนักฟิสิกส์การแพทย์ในโรงพยาบาลจะทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอย่างใกล้ชิด ประกอบด้วย รังสีแพทย์ นักฟิสิกส์การแพทย์ และนักรังสีการแพทย์ ทั้งนี้ในปัจจุบัน เทคโนโลยีทางการแพทย์ การวินิจฉัยและการรักษาชนิดใหม่ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านฟิสิกส์การแพทย์ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวินิจฉัย การรักษาผู้ป่วยด้วยรังสี เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความปลอดภัยสูงสุด บทบาทและหน้าที่ของ “นักฟิสิกส์การแพทย์”• คำนวณปริมาณรังสีที่ใช้ในการฉายรังสีรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง• กำหนดระดับปริมาณรังสีและการควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสีให้มีความเหมาะสม• ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพเครื่องกำเนิดรังสีและเทคนิคการฉายรังสีที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย• วางแผนการรักษาผู้ป่วยร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีรักษาและเวชศาสตร์นิวเคลียร์• บริหารจัดการด้านความปลอดภัยทางรังสี• วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับงานทางด้านรังสีการแพทย์ โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านฟิสิกส์รังสีกับความรู้และเทคโนโลยีแขนงอื่น เช่น สถิติ คอมพิวเตอร์ และการประมาลผล ปัญญาประดิษฐ์ เป็นต้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ เพื่อรองรับการผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์การแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่ขาดแคลนของประเทศ โดยเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปี […]
วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดรับนักศึกษาใหม่ปี 2566 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ เร่งพัฒนาการแพทย์ด้วย Data Science
ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร ในแต่ละวันจึงมีข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย และอยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ที่สามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง สามารถรับรู้และค้นหาได้สะดวก รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลเส้นทางการเดินทางและสภาพการจราจร ข้อมูลรายการอาหาร ข้อมูลสถานพยาบาล ข้อมูลการรักษาพยาบาล ข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาโรค ซึ่งจากปริมาณข้อมูลที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีทักษะเฉพาะอย่าง Data Scientist หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มาวิเคราะห์ข้อมูล ทำการต่อยอดความรู้จากแหล่งต่างๆ รวมถึงสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ เป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงเกิดประโยชน์สูงสุดต่อวงการทางการแพทย์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เล็งเห็นความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงได้ร่วมกันเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Bachelor of Science in Health Data Science) ขึ้น โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่เป็นเลิศในด้านการบูรณาการวิทยาศาสตร์ข้อมูลและวิทยาศาสตร์สุขภาพเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการร่วมแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.พีรุทย์ เชียรวิชัย ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันได้มีการเปิดหลักสูตรการพัฒนาการแพทย์ ด้วย […]