25 – 26 มกราคม 2563 : ฝ่ายกิจการนักศึกษา และ สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ร่วมจัดโครงการสานสัมพันธ์จุฬาภรณ์ รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2562
เมื่อวันที่ 25 – 26 มกราคม 2563 ฝ่ายกิจการนักศึกษา และ สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ร่วมจัดโครงการสานสัมพันธ์จุฬาภรณ์ รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2562 ณ ชลพฤกษ์รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร และ นายขจร จิตสุขุมมงคล ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจการนักศึกษา พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากร จำนวน 35 คนร่วมโครงการ กิจกรรมโครงการประกอบด้วย การฟังบรรยายจากวิทยากรโครงการจิตอาสาพระราชทาน 904 เรื่อง”สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย” และการส่งเสริมพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลผ่านกิจกรรมโครงการ อาทิ กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรม Walk Rally เป็นต้น กิจกรรมโครงการสานสัมพันธ์จุฬาภรณ์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาศักยภาพตนเอง […]
29 มกราคม 2563 : โรงเรียนวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพจัดการสัมมนาผู้มีประสบการณ์ด้านการออกกำลังกายกับผู้สูงอายุ
29 มกราคม 2563 โรงเรียนวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวและสุขภาพ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับ สำนักวิชาการศึกษาคลินิกชั้นสูง ฝ่ายสารสนเทศเพื่อการแพทย์และการศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดการสัมมนาผู้มีประสบการณ์ด้านการออกกำลังกายกับผู้สูงอายุ ณ ห้องประชุมชั้น 14 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทั่วประเทศไทยที่มีประสบการณ์ในการจัดการอกกำลังกายกับผู้สูงอายุ ร่วมหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการจัดทำคู่มือการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ด้วยรูปแบบการฝึกสอนที่ได้มาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักการทางวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อผู้ฝึกสอนและผู้ดูแลผู้สูงอายุใช้ประกอบการสอนและจัดโปรแกรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุต่อไป
31 มกราคม : สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้ไปศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา
เมื่อวันที่ 31 มกราคม – วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2563 สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคุณบุรินทร์ ตระการวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมผู้แทนฝ่ายต่างๆ ในสำนักงานราชวิทยาลัยฯ หน่วยงานสายสนันสนุนวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ได้ไปศึกษาดูงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และสำนักคอมพิวเตอร์ ณ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สมถวิล จริตควร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพาให้การต้อนรับ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ปัญย์บุศยกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและประกันคุณภาพ และบุคลากรกองบริการการศึกษาร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลในด้านต่างๆ
4 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาตราจารย์ ดร.วิเชียร และ ดร.วิไลพร เลาหโกศล เข้ามอบเงินบริจาคสมทบทุน โครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชาสุรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อการศึกษา สำหรับคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาตราจารย์ ดร.วิเชียร และ ดร.วิไลพร เลาหโกศล เข้ามอบเงินบริจาคสมทบทุน โครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชาสุรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อการศึกษา สำหรับคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นเงินจำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) โดยมี ศาตราจารย์ พญ.จิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ ณ โรงเรียนนักอัลตราซาวด์ทางการแพทย์
13-14 กุมภาพันธ์ 2563 : ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สำนักวิชาการศึกษาคลินิกชั้นสูง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นเจ้าภาพร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นจัดประชุม 1st Meeting of Sub-Working Group (SWG) on Curriculum Development
วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สำนักวิชาการศึกษาคลินิกชั้นสูง วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นเจ้าภาพร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) จัดประชุม 1st Meeting of Sub-Working Group (SWG) on Curriculum Development ขึ้น ณ โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท ทั้งนี้ได้เรียนเชิญ นายแพทย์รายิน อโรร่า รองอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ และรักษาการคณบดีสำนักวิชาการศึกษาคลินิกชั้นสูง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และในการประชุมดังกล่าวได้เรียนเชิญผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง ๙ ประเทศ ซึ่งเป็นคณะทำงานย่อยด้านการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม (Sub-Working Group on Curriculum Development) ภายใต้โครงการ ARCH Project เข้าร่วมในการจัดประชุมดังกล่าวด้วย โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นการหารือเพื่อกำหนดแนวทางในการจัดทำและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมทางการแพทย์ภัยพิบัติ ซึ่งได้แก่ Basic Disaster […]
28 พฤษภาคม 2563 : คณะพยาบาลศาสตร์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โชว์หลักสูตรคุณภาพดูแลผู้สูงวัยช่วยคนตกงานช่วงโควิด -19
28 พฤษภาคม 2563: คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย รศ. ดร.อรพรรณ โตสิงห์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยนวัตกรรมและวิเทศสัมพันธ์ และ ผศ. ดร.เบญจมาศ ศิริกมลเสถียร ประธานหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) และ พนักงานให้การดูแลผู้สูงอายุเปิดตัว 2 หลักสูตร รองรับคนตกงานช่วงวิกฤตโควิด-19 และตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย มีทุนการศึกษาให้ จบแล้วมีงานรองรับ หลักสูตรที่เปิดประกอบด้วย: 1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล (การดูแลผู้สูงอายุ) เนื่องจากปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่ต้องการการดูแลขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องของประชาชนไทย โดยเฉพาะกลุ่มวัยผู้สูงอายุ กำลังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านสังคม สัดส่วนของประชากรในกลุ่มวัยผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น มีช่องว่างทางเศรษฐกิจและมีสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวันที่ไม่เอื้อให้มีสุขภาพดี ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยเฉียบพลันและเรื้อรัง เกิดความพิการ ช่วยเหลือตนเองได้น้อย อยู่ในภาวะพึ่งพิงจากครอบครัวและชุมชน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มุ่งมั่นและสร้างความเป็นเลิศในวิชาชีพ ได้ก่อตั้ง ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ซึ่งจะเป็นโรงพยาบาลขนาด 400 เตียงในอนาคตจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนบุคลากรทางด้านสุขภาพให้เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ช่วยพยาบาลในการให้บริการช่วยเหลือดูแลสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดตั้งหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาลขึ้น เพื่อผลิตผู้ช่วยพยาบาลตอบสนองความต้องการการดูแลในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งในสถานพยาบาลและในชุมชน […]
1 มิถุนายน 2563 : คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักศึกษาแพทย์ “Introduction and Orientation Module (IOM) for Year 1 Medical Students” ประจำปีการศึกษา 2563 สำหรับนักคึกษารุ่นที่ 1 ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ 2563 (หลักสูตรแพทย์ UCL)
1 มิถุนายน 2563 : คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดงานปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ภายใต้โครงการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักศึกษาแพทย์ “Introduction and Orientation Module (IOM) for Year 1 Medical Students” ประจำปีการศึกษา 2563 สำหรับนักคึกษารุ่นที่ 1 ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ 2563 (หลักสูตรแพทย์ UCL) จำนวน 32 คน ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และรักษาการอธิการบดีวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้กล่าวให้โอวาทแก่นักศึกษาใหม่ฯ ขอให้นักศึกษาใหม่ตั้งใจเรียนรู้และเป็นแพทย์ที่ดี การแพทย์ในอนาคตจะมีวิวัฒนาการณ์ก้าวไกล เราต้องมีองค์ความรู้รอบด้านและรักษาคนไข้ด้วยหัวใจ ทั้งนี้การใช้หัวใจความเป็นมนุษย์รักษาคนไข้มีความสำคัญกว่าการเป็นแพทย์ อีกเรื่องที่สำคัญคือ การเป็นแพทย์ต้องรู้จักการดูแลตนเองให้แข็งแรง เพราะแพทย์มีความเสี่ยงในการเป็นโรคมากกว่าคนอื่นๆ เราจึงต้องรู้จักการดูแลป้องกันตนเองและอีกสิ่งหนึ่งที่ขอฝากไว้คือ การใฝ่หาความรู้ อย่างการอ่านหนังสือเป็นสิ่งสำคัญขอให้เราฝึกเป็นนิสัย […]
10 มิถุนายน 2563 : คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19
10 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00 – 15.00 น. คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง ความรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ในโครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน แก่ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของตำบลบางขะแยง จังหวัดปทุมธานี เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังเเละการป้องกันเชื้อไวรัส COVID-19 อีกทั้งสนับสนุนให้ประชาชนตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน รองคณบดีคณะเเพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางขะแยง จังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีแผนที่จะดำเนินโครงการบำเพ็ญพระกุศล ในศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2563 ใน ”โครงการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโรค COVID-19 ในชุมชนชาวไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัส SARS –CoV – […]
17 มิถุนายน 2563 : ฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ นำคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2563 เข้าพบท่านอธิการบดี เพื่อรับฟังโอวาทและรับมอบนโยบายในการบริหารงานของสโมสรนักศึกษา
17 มิ.ย.63 ฝ่ายกิจการนักศึกษา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ นำคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2563 เข้าพบท่านอธิการบดี เพื่อรับฟังโอวาทและรับมอบนโยบายในการบริหารงานของสโมสรนักศึกษา สรุปโอวาทที่สำคัญได้ดังนี้ “การทำงานเป็นเรื่องจิตอาสา เพราะเป็นการทำงานด้วยความสมัครใจ การทำงานเป็นทีมจะมีความสำคัญ การรู้ลึกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะเปลี่ยนไป การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ และลดการแข่งขันลง มีความสามัคคี ระหว่างนักศึกษาทุกคณะ เป็นตัวอย่างที่ดี แก่เพื่อนนักศึกษา และน้องๆ ทั้งนี้การสืบสานวัฒนธรรมที่ดีงาม รู้รากเหง้าของความเป็นไทย จะเป็นสิ่งสำคัญในการสืบสาน และมีความยั่งยืน…….” ส่วนหนึ่งของโอวาทท่านอธิการบดี มอบแก่คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ปีการศึกษา2563
20 มิถุนายน 2563 : คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขจัดกิจกรรม “โครงการปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการในชุมชนการเคหะหลักสี่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19
20 มิถุนายน 2563 คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขจัดกิจกรรม “โครงการปันน้ำใจสู้ภัยโควิด-19” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้พิการในชุมชนการเคหะหลักสี่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยคณะฯ ได้รวบรวมของบริจาคต่างๆ อาทิเช่น ข้าวสาร 32 กระสอบ (1,600 กก.) ไข่ไก่ 2,500 ฟอง บะหมี่สำเร็จรูป อาหารกระป๋อง น้ำผลไม้และนม ที่ได้รับบริจาคจากคณาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและผู้ปกครอง พร้อมทั้งผักผลไม้หลากหลายชนิดจำนวน 500 ชุดจากตลาดสี่มุมเมืองและน้ำดื่ม 90 ลังจากบริษัทอิชิตันนำมาร่วมมอบให้กับชุมชนด้วย ในโอกาสเดียวกัน ทีมจิตอาสาของคณะฯ ยังได้นำสิ่งของ อาทิเช่น ผ้าอ้อมผู้สูงอายุ ข้าวสารอาหารแห้ง ไข่ไก่ ผักสดและผลไม้ต่างๆ ไปมอบให้กับผู้ป่วยติดเตียงที่พักอาศัยอยู่ตามอาคารต่างๆ ของการเคหะหลักสี่ โดยมีประธานชุมชนและประธานอาคารต่างๆ ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
24 มิถุนายน 2563 : ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข จัดพิธีมอบแอลกอฮอล์เจลพระราชทานจำนวน 800 ขวด แก่สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท
24 มิถุนายน 2563 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข จัดพิธีมอบแอลกอฮอล์เจลพระราชทานจำนวน 800 ขวด แก่สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท เพื่อนำไปจัดสรรและมอบให้แก่ประชาชนในชุมชนจังหวัดชัยนาท ณ ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท โดยมีนายแพทย์พัลลภ ยอดศิรจินดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยนาท เป็นตัวแทนรับมอบสิ่งของพระราชทาน และกล่าวสำนึกในพระกรุณาธิคุณ การนี้ ยังได้ร่วมประชุมหารือการดำเนินโครงการบำเพ็ญพระกุศลในศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ 4 กรกฎาคม 2563 ใน “โครงการตรวจภูมิคุ้มกันต่อโรค COVID – 19 ในชุมชนชาวไทย” กับหน่วยงานด้านสาธารณสุขและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเขตพื้นที่จังหวัดชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโรค COVID -19 ให้กับประชาชนจำนวน 15,000 ราย โดยครอบคลุมกลุ่มประชากรในชุมชนต่าง ๆ ในประเทศไทยตามความเหมาะสม
1 กรกฏาคม 2563 : คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง สู้ยุงลายให้ห่างไกล ไข้เลือดออก
คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้ เรื่อง สู้ยุงลายให้ห่างไกล ไข้เลือดออก โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ณัฐวุฒิ กันตถาวร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและสังคม กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชน เพื่อส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และอาการของโรคไข้เลือดออก รวมถึงวิธีป้องกันตนเอง ครอบครัว และชุมชน จากโรคไข้เลือดออก ณ ชุมชนเคหะทุ่งสองห้อง 302 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยในครั้ง มีผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยายในหัวข้อดังกล่าวกว่า 20 -30 คน การนี้ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.วรณิช หินทอง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และการศึกษานานาชาติ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขที่ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย