การแพทย์และสาธารณสุข
ค้นหาจากช่วงเวลา

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ออกหน่วยให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีการศึกษา 2565 ให้กับนักเรียน โรงเรียนอนุบาลชนานันท์

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์โดยทีมแพทย์กุมารเวชกรรม ทันตแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ออกหน่วยให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีการศึกษา 2565 ให้กับนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 โรงเรียนอนุบาลชนานันท์ แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคณะคุณครูและน้อง ๆ นักเรียนชั้นอนุบาล โดยมีฐานต่าง ๆ จำนวน 4 ฐาน ประกอบด้วย ฐาน A ตรวจคัดกรองสุขภาพร่างกายตามวัย โดยกุมารแพทย์ ฐาน B ตรวจคัดกรองสุขภาพตาในเด็ก โดยนักทัศนมาตร ฐาน C ตรวจสุขภาพช่องปากและฟันในเด็ก โดยทันตแพทย์และฐาน D ตรวจประเมินพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กในเด็ก โดยนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้เด็ก ๆ ได้เล่นกิจกรรมควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพพร้อมรับของที่ระลึกจากทีมงานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมรณรงค์ให้สตรีตระหนักถึงความสำคัญตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรอง จัดกิจกรรมให้ความรู้ในประเด็น “ Women’s Health in Thailand – What Can Be Done to Provide Better Care for Women to Achieve Elimination of Cervical Cancer – เหลียวหลังแลหน้า เพื่อหาวิธีพิชิตภารกิจกำจัดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ”

24 กุมภาพันธ์ 2566 : ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมรณรงค์ให้สตรีตระหนักถึงความสำคัญตลอดจนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อโรคมะเร็งปากมดลูกและการตรวจคัดกรอง โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ในประเด็น “ Women’s Health in Thailand – What Can Be Done to Provide Better Care for Women to Achieve Elimination of Cervical Cancer – เหลียวหลังแลหน้า เพื่อหาวิธีพิชิตภารกิจกำจัดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย ” แก่สื่อมวลชนเพื่อร่วมรณรงค์เผยแพร่องค์ความรู้แก่ประชาชนในวงกว้าง โดยมี ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ กันตถาวร แพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งวิทยานรีเวช หัวหน้างานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นผู้ให้ความรู้ในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมเพชรคราม 1 ชั้น 11 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ทั้งนี้ ภายในกิจกรรมมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ […]

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้รับรางวัล FINALIST BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA กลุ่มแบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย สาขาโรงพยาบาล ในงาน THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 11

กรุงเทพฯ 22 กุมภาพันธ์ 2566 : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้รับรางวัล FINALIST ในกลุ่มรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA กลุ่มแบรนด์ที่ทำผลงานยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย สาขาโรงพยาบาล ในงาน THAILAND SOCIAL AWARDS ครั้งที่ 11 งานประกาศรางวัลโซเชียลสุดยิ่งใหญ่แห่งปี จัดขึ้น ณ TRUE ICON HALL ICONSIAM โดยบริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ข้อมูลโซเชียล เพื่อส่งเสริมการใช้โซเชียลมีเดียอย่างสร้างสรรค์ และยกระดับวงการโซเชียลผ่านการมอบรางวัลเพื่อเชิดชูแบรนด์และผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ สำหรับกลุ่มรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE ON SOCIAL MEDIA นี้มอบให้กับแบรนด์ที่มีความเป็นเลิศในการใช้โซเชียลมีเดียทำกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์การวัดผลตามมาตรฐาน WISESIGHT METRIC ซึ่งพัฒนาโดยไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) ในการวัดประสิทธิภาพการทำงานบนโซเชียลมีเดียของแบรนด์จากช่องทางของตัวเอง (Own Channel) และช่องทางจากการที่คนอื่นพูดถึงแบรนด์ […]

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหารจากโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานด้านการให้บริการสิทธิการเบิกจ่าย สปสช. ณ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

22 กุมภาพันธ์ 2566 : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ให้การต้อนรับคณะผู้บริหาร จาก จากโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าศึกษาดูงานการให้บริการสิทธิการเบิกจ่าย สปสช. และการเชื่อมโยงการใช้โปรแกรม KTB กับระบบของโรงพยาบาลสำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA Test ณ ห้องประชุมเพชรคราม 1 ชั้น 11 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โอกาสนี้ ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้นำเสนอข้อมูลแก่คณะศึกษาดูงานฯ ประกอบด้วย ข้อมูลกระบวนการให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV Test การให้บริการทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยาที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของ สปสช. การเชื่อมโยงการใช้โปรแกรม KTB กับระบบของโรงพยาบาลและการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจาก สปสช. จากนั้นได้พาคณะฯ เข้าเยี่ยมชมขั้นตอนการให้บริการของศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 9 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และนำข้อมูลที่ได้รับนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนต่อไป

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดโครงการกายภาพบำบัดใส่ใจใกล้คุณ “เข้าใจ เข้าถึงการฟื้นฟูร่างกายในผู้ป่วยมะเร็ง” ครั้งที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดโครงการกายภาพบำบัดใส่ใจใกล้คุณ “เข้าใจ เข้าถึงการฟื้นฟูร่างกายในผู้ป่วยมะเร็ง” ครั้งที่ 2 ผ่านระบบออนไลน์ โดยงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์ทางเลือก ร่วมกับ สำนักวิชาการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศูนย์จำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ในการฟื้นฟู ป้องกันและส่งเสริมให้ผู้ป่วยมะเร็ง รวมถึงผู้ให้การดูแลได้เข้าใจหลักการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง ผู้สนใจ ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ ถึง 31 มีนาคม 2566 นี้ รับจำนวนจำกัด 100 ท่าน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)ลงทะเบียนได้ที่ >> https://daa.cra.ac.th/?p=2612กำหนดการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2566สามารถดูรายละเอียดกิจกรรมและช่องทางการลงทะเบียนได้ที่ https://daa.cra.ac.th/?p=2210 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเวชศาสตร์ฟื้นฟู ชั้น 12 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์โทร 0 2576 6477 จัดโดย เวชศาสตร์ฟื้นฟูและแพทย์ทางเลือก ร่วมกับสำนักวิชาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และศูนย์จำลองสถานการณ์เพื่อการเรียนรู้ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง “ โรคตาในผู้สูงอายุ ” เป็นวันที่ 2

6 กุมภาพันธ์ 2566 : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้เรื่อง “ โรคตาในผู้สูงอายุ ” บรรยายโดย นายแพทย์ปัณณ์ธนารัช กะสีวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางด้านจักษุวิทยา โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการดูแลสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางตาให้แก่กำลังพลสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 130 นาย พร้อมทั้งออกร้านจัดแสดงผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ โดยมีพลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ รองปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานและให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมพินิตประชานารถ ในศาลาว่าการกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมซ้อมแผนจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน ฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ ประจำปี 2566 ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง

25 มกราคม 2566 : ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมซ้อมแผนจำลองสถานการณ์ฉุกเฉิน เรื่อง การฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นและซ้อมอพยพหนีไฟ ประจำปี 2566 ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง แจ้งวัฒนะซอย 5 เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพัฒนา ให้ความรู้และทักษะแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงานตามแผนจำลองสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างรวดเร็วและทันที ลดความสูญเสียทั้งแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ในกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เพราะความปลอดภัย คือ สิ่งสำคัญ

ภาพบรรยากาศการเปิดให้บริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง

วันที่ 9 มกราคม 2566 ภาพบรรยากาศการเปิดให้บริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียงเป็นวันแรก โดยเริ่มเปิดให้บริการในส่วนของพื้นที่ชั้น 1 ประกอบด้วย❇ ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยกรรมกระดูกและข้อ)❇ เวชศาสตร์ฟื้นฟู❇ ภาพวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษา❇ อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่มีนัดหมายเดิมกับศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ และเวชศาสตร์ฟื้นฟู ณ อาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ สามารถนำใบนัดหมายของท่านมาติดต่อเข้ารับบริการได้ที่ อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ⚠ สำหรับการเปิดให้บริการของศูนย์การรักษาอื่น ๆ ณ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง จะประกาศแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานแจกันดอกไม้มอบให้ผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้หายป่วยโดยเร็ว

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระราชทานแจกันดอกไม้มอบให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อนำไปมอบให้แก่ผู้ป่วย เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและให้หายป่วยโดยเร็ว โดยมีเจ้าหน้าที่กองตำรวจวังประจำพระองค์และรับรอง โดยนางทัศอันน์ เครือขวัญ รองหัวหน้าแผนกและรักษาการหัวหน้าฝ่ายธุรการแผนกตำรวจวัง พระที่นั่งอัมพรสถาน เป็นผู้เชิญแจกันดอกไม้พระราชทาน การนี้ พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยพยาบาลและบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นผู้รับมอบ ณ อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์และเชิญผ้าห่มกันหนาวพระราชทานมอบแก่ผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์

27 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์องค์การ เรืองรัตนอัมพร รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญผ้าห่มกันหนาวพระราชทานมอบแก่ผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ณ หอประชุมที่ว่าการอําเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 500 ผืน พร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และมอบกระเป๋ายาสามัญประจำบ้านให้แก่ประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างขวัญกำลังใจ โดยมีนายชนก มากพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นผู้แทนในการรับมอบผ้าห่มกันหนาวพระราชทานในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้ารับบริการตรวจสุขภาพจำนวน 82 ราย แบ่งเป็นระบบกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ 42 ราย ระบบทางเดินหายใจ 17 ราย ระบบทางเดินอาหาร 6 ราย ระบบหัวใจและหลอดเลือด 3 ราย และระบบประสาท 9 ราย โอกาสนี้ รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์และรองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้เดินทางเยี่ยมผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง พร้อมทั้งได้นำผ้าห่มกันหนาวพระราชทานและกระเป๋ายาพระราชทาน มอบให้จำนวน 4 ราย ได้แก่1.นายคำ บัวระภา […]

คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โชว์ความพร้อมในการผลิต “นักฉุกเฉินการแพทย์ความช่วยเหลือแรกก่อนถึงมือแพทย์” รองรับความขาดแคลนในอนาคต

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โดยโรงเรียนวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิชาฉุกเฉินทางการแพทย์ (ต่อเนื่อง) โชว์ศักยภาพและความพร้อมในการผลิต “นักฉุกเฉินการแพทย์ ความช่วยเหลือแรกก่อนถึงมือแพทย์” รองรับอาชีพสาขาขาดแคลนอย่างแน่นอนในอนาคต ณ ห้องหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉิน ศูนย์แพทย์ภัยพิบัติและฉุกเฉินเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ “การบริการการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล” ถือเป็นงานบริการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบสุขภาพของประเทศ โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่า การที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้รับการปฏิบัติการทางการแพทย์ขั้นสูงตั้งแต่เมื่ออยู่นอกโรงพยาบาล ทำให้มีอัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ ดังนั้นการบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำเป็นต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่บริบาลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล อันเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2551 และเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ได้มีประกาศ “พระราชกฤษฎีกากำหนดให้สาขาฉุกเฉินการแพทย์เป็นสาขาการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2564” โดยให้มีคณะกรรมการวิชาชีพทำหน้าที่ในการขึ้นทะเบียนและออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาฉุกเฉินการแพทย์ ซึ่งผู้ที่มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ ต้องได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรสาขาอื่นที่เทียบเท่าปริญญาด้านฉุกเฉินการแพทย์” ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการศึกษาด้านฉุกเฉินการแพทย์ระดับปริญญามาแล้วประมาณ 13 ปี ตราบจนปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้สำเร็จการศึกษาสาขาฉุกเฉินการแพทย์ที่มีความสามารถในระดับนี้จำนวน 674 คน (ข้อมูลเดือนเมษายน พ.ศ. 2565) อัตราการผลิตบัณฑิตฉุกเฉินการแพทย์ เพียงปีละ 180-200 คนเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ คณะเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ […]

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลปากช่องนานา บริการตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาลเบื้องต้น แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ณ โรงพยาบาลมกุฎคีรีวัน ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยฝ่ายโครงการตามพระดำริและงานส่วนพระองค์ จัดหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมกับโรงพยาบาลปากช่องนานา ระดมทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาลวิชาชีพ พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไป บริการตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาลเบื้องต้น พร้อมให้ความรู้ถึงการป้องกันโรคและการดูแลตนเอง แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ณ โรงพยาบาลมกุฎคีรีวัน ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีจำนวนผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 28 ราย แบ่งเป็น 1.ระบบกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ จำนวน 16 ราย 2.ระบบทางเดินอาหาร จำนวน 6 ราย 3.ระบบทางเดินหายใจ จำนวน 4 ราย 4.ระบบประสาท จำนวน 2 ราย ผู้ป่วยส่งต่อ จำนวน 4 ราย

1 15 16 17 47