📢ขอเชิญประชาชนเข้าร่วมโครงการวิจัยประเมินประสิทธิภาพชุดตรวจแอนติเจน COVID-19 ด้วยตนเอง (ATK) เปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน RT-PCR รับสมัครอาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 600 ราย
คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ • ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจส่วนต้นที่สงสัยการติดเชื้อ COVID-19 จำนวน 300 ราย • ผู้ที่มีประวัติสัมผัสเสี่ยงสูงตามเกณฑ์กรมควบคุมโรค จำนวน 300 ราย ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมโครงการผ่านทางเว็บไซต์ https://ari.cra.ac.th กรอกข้อมูลผ่านเมนู “ลงทะเบียนตรวจ COVID-19” (รับจำนวนจำกัด 80 รายต่อวัน) เข้ารับการตรวจที่ ARI Clinic ด้านหน้าอาคารศูนย์การแพทย์จุฬาภรณ์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ทั้งนี้ หากผู้เข้าร่วมโครงการมีผลตรวจพบการติดเชื้อโควิด-19 ท่านจะได้รับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาพื้นฐานพร้อมทั้งมีโอกาสได้รับคัดเลือกเข้าโครงการวิจัยยาและการรักษาต่างๆ ของทางโรงพยาบาล เช่น การรับยาแอนติบอดี ค็อกเทล (Antibody Cocktail) กลุ่มยาภูมิคุ้มกันลบล้างฤทธิ์ เป็นต้น โครงการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รหัสการอนุมัติโครงการ EC No. 125/2564 วันที่ได้รับการอนุมัติ 17 กันยายน 2564 ประกาศ ณ วันที่ 5 ตุลาคม 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดกิจกรรมเคารพธงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ (Thai National Flag Day)
๒๘ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๐ น. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ นำโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์องค์การ เรืองรัตนอัมพร รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมเคารพธงชาติและร้องเพลงชาติไทย เนื่องในวันพระราชทานธงชาติไทย ๒๘ กันยายน ประจำปี ๒๕๖๔ ณ บริเวณเสาธงหน้าอาคารบริหาร สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร วันพระราชทานธงชาติไทย (Thai National Flag Day) เป็นวันที่ระลึกถึงโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช ๒๔๖๐ โดยมีสาระสำคัญคือ การประกาศให้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้มีการประกาศไว้ ณ วันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ โดยที่ประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศที่ ๕๔ ของโลกที่มีวันธงชาติ และการกำหนดวันธงชาติของทุกประเทศ ล้วนอิงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ รวมไปถึงความเป็นมาในการสร้างชาติของแต่ละประเทศ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๖๐ สำนักนายกรัฐมนตรี […]
ประชาสัมพันธ์เว็บไซต์การขอรับยา “ฟาวิพิราเวียร์” สำหรับสถานพยาบาลและองค์กร/นิติบุคคลเพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับยา“ฟาวิพิราเวียร์” ทั้งแบบยาเม็ดและแบบยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็กเล็กและผู้ป่วยกลืนลำบากได้ทางเว็บไซต์ https://favipiravir.cra.ac.th เลือกเมนู “ลงทะเบียนขอรับยาฟาวิพิราเวียร์ เตรียมข้อมูลอะไรบ้าง ? – หนังสือขอรับยา (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มหนังสือได้ในเว็บไซต์ลงทะเบียน)เอกสารเพิ่มเติม กรณีรับยาเองที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ – สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสานงาน – สำเนาบัตรประชาชนผู้บริหารสูงสุด – หนังสือมอบอำนาจจากผู้บริหารสูงสุด สำหรับสถานพยาบาลและองค์กร/นิติบุคคล ที่ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว สามารถตรวจสอบสถานะการขอรับยาได้ที่ https://favipiravir.cra.ac.th เลือกเมนู “ตรวจสอบสถานะการขอรับยา” ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน 2564
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สมาคมวิชาชีพและสถาบันทางการแพทย์ หารือแนวทางรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันและอนาคต
กรุงเทพฯ ประเทศไทย – ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานแถลงข่าวในหัวข้อ “การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันและอนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย มาร่วมอภิปรายเพื่อแสดงวิสัยทัศน์และความร่วมมือระหว่างคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมวิชาชีพและสถาบันทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ต่อการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในครั้งนี้จะมีส่วนช่วยลดภาระงานของแพทย์ด่านหน้า ที่กำลังทำงานอย่างหนัก ลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรงซึ่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และลดตัวเลขผู้เสียชีวิตในประเทศลงได้ ศ. นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงพันธกิจที่จะยับยั้งความรุนแรงของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยพระปณิธานใน ศ.ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน […]
ขอเชิญประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าวออนไลน์”การรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันและอนาคตและแผนการใช้ยาแอนติบอดี ค็อกเทล เพื่อรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย”
รับฟังแนวทางความร่วมมือเพื่อจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิกฤตผู้ป่วยล้นระบบสาธารณสุข และจำนวนผู้ป่วยอาการหนักหรือเสียชีวิตซึ่งยังคงสูงกว่าร้อยรายต่อวัน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกแนวทางการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละกลุ่ม และตัวเลือกการรักษาของยาแอนติบอดี ค๊อกเทล สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการน้อยถึงปานกลาง และที่มีความเสี่ยงสูงต่อการลุกลามไปสู่ระดับรุนแรง นำโดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล-หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล-นายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด อังคารที่ 21 กันยายน 2564 เวลา: 10:30 – 11:30 น. ติดตามรับชมสดพร้อมกันได้ทางช่อง Youtube : CHULABHORN Channel Facebook Live : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ ์Facebook Live : Spring News Facebook Live : กรุงเทพธุรกิจFacebook Live […]
หน่วยพยาบาลคลินิกการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สำนักวิชาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดประชุมวิชาการ Virtual Conference เนื่องในวัน Palliative Care Day 2021
7 กันยายน 2564: หน่วยพยาบาลคลินิกการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สำนักวิชาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดประชุมวิชาการเนื่องในวัน Palliative Care Day 2021 ผ่านระบบ Virtual Conference เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการจำนวนทั้งสิ้น 67 คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยการประชุมวิชาการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสําคัญในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและครอบครัว อันจะนําไปสู่การพัฒนาและยกระดับการให้บริการด้านการดูแลแบบประคับประคองของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจการให้บริการทางการแพทย์ การสนับสนุนภารกิจช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ
31 สิงหาคม 2564: ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย พลเอก ณัฐ อินทรเจริญปลัดกระทรวงกลาโหม ลงนามความเข้าใจผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีพลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย พลอากาศเอก ธรินทร์ ปุณศรี รองปลัดกระทรวงกลาโหม และพลตรี พจน์ เอมพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานแพทย์ สำนักงานสนับสนุน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมเป็นพยานในพิธีผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมใหญ่ MC232 ชั้น 3 อาคารบริหาร ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ ห้องยุทธนาธิการ ชั้น 2 ในศาลาว่าการกลาโหม สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีความมุ่งมั่นที่จะสืบสานพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ […]
ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ – บางจากฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
31 สิงหาคม 2564: ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านการพัฒนานวัตกรรมและงานบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ระหว่าง ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และบริษัท บางจากฯ โดยมีกรอบความร่วมมือครอบคลุมด้านงานวิชาการ การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางการแพทย์และสาธารณสุข แก่ประชาชนผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาสในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีนาวาอากาศเอก ปพาฬ ศิริสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายนิติการ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ นายวิบูลย์ วงสกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานวางแผนยุทธศาสตร์และพัฒนาธุรกิจองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี ณ ห้องประชุมใหญ่ MC232 ชั้น 3 อาคารบริหาร สำนักงานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล
เมื่อวันที่ ๒๔ ถึง ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยา ร่วมกับ สำนักวิชาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จัดฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล (Cancers Registrar Training) ผ่านระบบฝึกอบรมออนไลน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-๑๙) โดยในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น ๒๑ คน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล และบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านทะเบียนมะเร็ง จาก ๗ โรงพยาบาลภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ โดยการฝึกอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดทักษะความรู้ และประสบการณ์จากทีมสหสาขาวิชาชีพด้านโรคมะเร็งของศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยา ในการฝึกอบรมบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านโรคมะเร็งในโรงพยาบาลภาคีเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนระบบบริการทางการแพทย์ และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ต้องการพัฒนาความรู้ ทักษะและเจตคติที่ดีในการเพิ่มศักยภาพทางวิชาชีพและการบริหารการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดทำทะเบียนมะเร็งให้มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานตามหลักสากล
ขอเชิญร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์การพัฒนาและคิดค้นสูตร“ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย
ขอเชิญร่วมรับฟังการชี้แจงข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์การพัฒนาและคิดค้นสูตร“ตำรับยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์” สำหรับผลิตในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ (Hospital preparation) ต้านเชื้อไวรัสสำหรับเด็ก และผู้ป่วยที่มีความลำบากในการกลืนยาเม็ด ตำรับแรกในประเทศไทย โดยศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จากทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. วรสิทธิ์ วงศ์สุทธิเลิศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกร ดร. บดินทร์ ติวสุวรรณ และเภสัชกรหญิง พร้อมพร จำนงธนาโชติ จากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เมดิกา อินโนวา จำกัด พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการใช้ยาน้ำเชื่อมฟาวิพิราเวียร์ต้านไวรัสในผู้ป่วยเด็ก โดย แพทย์หญิงศรัยอร ธงอินเนตร และ แพทย์หญิงครองขวัญ เนียมสอน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.00 น. ติดตามและรับชมการชี้แจงออนไลน์ผ่านทางช่อง […]
ผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมสมทบทุน มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถ้มภ์ฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และคนไทยในวิกฤตโควิด-19
มื่อวันอังคารที่ 3 สิงหาคม 2564 คุณสุรินทร์ กฤตยาพงศ์พันธุ์ กรรมการผู้อำนวยการสายธุรกิจโทรทัศน์ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นด่านหน้า โดยมอบเงินที่ได้จากผู้ร่วมทำบุญอุทิศให้ คุณแม่สุนีย์ กฤตยาพงศ์พันธุ์จำนวน 1,200,000 บาท เพื่อสมทบทุนราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ สนับสนุนการบริหารจัดการภายในโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ที่มีความจำเป็น ตลอดจนช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางวิกฤตการณ์อยู่ในขณะนีั โดยมี พลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้รับมอบ ณ ชั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอขอบคุณและขออนุโมทนาบุญกุศล พร้อมทั้งขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย จงดลบันดาลให้ท่านและครอบครัวจงพบแต่ความสุขตลอดไป