ข่าวภายในราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ค้นหาจากช่วงเวลา

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบให้ราษฎรในพื้นที่ชุมชนแออัดต่างๆที่ได้รับผลกระทบ

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 : ด้วยพระกรุณาธิคุณของ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงห่วงใยสุขภาพอนามัยของราษฎร ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ปัจจุบันมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ผู้กักตัวอยู่บ้าน อีกทั้งประสบปัญหาในเรื่องการดำรงชีพ จึงโปรดให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยนางมาริษา สมบัติบูรณ์ ผู้ช่วยเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบให้ราษฎรในพื้นที่ชุมชนแออัดต่างๆที่ได้รับผลกระทบ โดยมีอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในวันโอกาสวันคล้ายประสูติ วันที่ 4 กรกฎาคม 2564

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อัคคีภัยย่านซอยกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม 2564 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยพลอากาศตรี นายแพทย์สันติ ศรีเสริมโภค รองเลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เชิญถุงยังชีพพระราชทาน เครื่องอุปโภค บริโภค จำนวน 1,000 ถุง มอบแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อัคคีภัยย่านซอยกิ่งแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ณ โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น และเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสบภัย โดยมีนายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ และส่วนงานราชการจังหวัดในพื้นที่ ประสานความร่วมมือช่วยสำรวจความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ นำมาซึ่งความปลาบปลื้มปีติแก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และต่างสำนึกในพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดสร้างสถาบันการแพทย์แห่งใหม่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง และอาคารการเรียนการสอนของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ศูนย์การแพทย์แห่งนี้ว่า “ภัทรมหาราชานุสรณ์” อันมีความหมายว่า ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระดำริให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ขยายบริการรักษาพยาบาลจากเฉพาะโรคมะเร็งให้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค พร้อมทั้งพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ สถาบันการศึกษาวิจัยและสถาบันการแพทย์ชั้นนำของภูมิภาค ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จัดสร้างสถาบันการแพทย์แห่งใหม่ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง และอาคารการเรียนการสอนของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ 90ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในปี พ.ศ. 2560 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ที่ทรงมีต่อปวงชนชาวไทยตลอดระยะเวลาแห่งการครองสิริราชสมบัติ โดยมุ่งหวังให้สถาบันการแพทย์แห่งนี้เป็นสถานพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่และวิทยาลัยแพทย์ เพื่อพัฒนาค้นคว้าวิจัยสร้างองค์ความรู้ สร้างแพทย์และบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ พร้อมทั้งช่วยเหลือประชาชนไทยให้ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามให้ศูนย์การแพทย์แห่งนี้ว่า “ภัทรมหาราชานุสรณ์” อันมีความหมายว่า ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง โดยสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 มีกำหนดการสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2565 นี้ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดกิจกรรมสานหัวใจทำความดี ฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 แก่ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง จำนวน 6,400 ราย ถวายเป็นพระกุศล เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมจัดกิจกรรมสานหัวใจทำความดี ฉีดวัคซีน “ซิโนฟาร์ม” สร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 แก่ประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง จำนวน 6,400 ราย ถวายเป็นพระกุศล ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 64 พรรษา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 ณ ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอขอบคุณทุกองค์กรที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มและแบ่งปันวัคซีนบริจาคเพื่อประชาชนกลุ่มเปราะบาง และบุคลากรทางการแพทย์จากทุกภาคส่วนที่สานหัวใจร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทย เราจะก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณภาพจาก https://med.mahidol.ac.th/th/news/events/05jul2021-2205

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตหลักสี่ ให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับประชาชนในชุมชนเขตหลักสี่ริมคลองเปรมประชากร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ณ โรงเรียนวัดหลักสี่ จำนวน 3,200 คน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

วันที่  8 – 9 กรกฎาคม 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ร่วมกับ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตหลักสี่ ได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มให้กับประชาชนในชุมชนเขตหลักสี่ริมคลองเปรมประชากร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ณ โรงเรียนวัดหลักสี่ จำนวน 3,200 คน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์      ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ขอขอบคุณทุกองค์กรที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนซิโนฟาร์มและแบ่งปันวัคซีนบริจาคเพื่อประชาชนกลุ่มเปราะบาง และบุคลากรจิตอาสาจากทุกภาคส่วน ที่สานหัวใจร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทย เราจะก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ ในสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่จะช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว จึงมีพระดำริจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ

ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่จะช่วยเหลือและบรรเทาความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคมะเร็งและครอบครัว จึงมีพระดำริจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง” ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ และเมื่ออาคารโรงพยาบาลแล้วเสร็จ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” และเสด็จเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เพื่อเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางชำนาญการด้านโรคมะเร็ง ขนาด 100 เตียง ช่วยเหลือบำบัดดูแลรักษาและบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์เข็ญทั้งทางร่างกาย ทางจิตใจ และทางสังคมของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ต่อมามีการขยายขอบข่ายการรักษาโรคทั่วไป ในพุทธศักราช 2560 ได้พระราชทานนามอาคารโรงพยาบาลแห่งนี้ว่า “ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์” โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

จากพระวิสัยทัศน์ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย ก่อกำเนิดศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ

จากพระวิสัยทัศน์ ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสร้างภาพในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ เพื่อยกระดับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ในประเทศไทย ทรงก่อตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โดยทรงวางแนวทางการดำเนินงานและทรงติดตามการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง และเสด็จเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 เพื่อให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคระบบประสาท โรคหัวใจด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุด เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับสำนักอนามัย กทม. และสำนักงานเขตหลักสี่ ได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ให้กับประชาชนในชุมชนเขตหลักสี่ริมคลองเปรมประชากร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส จำนวน 3,200 คน ถวายเป็นพระกุศล

วันที่ 8-9 กรกฏาคม 2564 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับสำนักอนามัย กทม. และสำนักงานเขตหลักสี่ ได้ออกให้บริการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม ให้กับประชาชนในชุมชนเขตหลักสี่ริมคลองเปรมประชากร ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และผู้ด้อยโอกาส ณ โรงเรียนวัดหลักสี่ จำนวน 3,200 คน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ขอขอบพระคุณจิตอาสาทุกท่านค่ะ #เป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต #ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ #คณะเเพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

” เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” นักวิทยาศาสตร์ต้นแบบ ผู้ทรงทุ่มเทชีวิต ในการศึกษาค้าคว้าวิจัย เพื่อนำความรู้ความสามารถมาพัฒนาประเทศชาติยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพเป็นที่ประจักษ์ในด้านวิทยาศาสตร์ จนได้รับการถวายพระสมัญญานาม “เจ้าฟ้านักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ทรงมีผลงานการศึกษาวิจัยเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ทรงทุ่มเทชีวิตในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำความรู้ ความสามารถ มาพัฒนาประเทศชาติยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ด้วยทรงฝังพระทัยถึงความทุกข์ยากของผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสตามท้องถิ่นทุรกันดารทั่วประเทศในการเข้าถึงการสาธารณสุข ตลอดจนปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการขาดแคลนแพทย์ และการเข้าถึงการรักษาด้วยเทคโนโลยีระดับสากล สานต่อแนวพระราชดำริ ในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประเทศชาติและยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎร ดังพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ความว่า “ขอให้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในระดับรากหญ้า” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงสร้างสรรค์งานศิลป์ สู่เครื่องประดับอัญมณี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้รับเชิญจาก บริษัท แอสปรี ลอนดอน สหราชอาณาจักรให้ร่วมเป็นนักออกแบบเครื่องประดับอัญมณี ซึ่งการออกแบบเครื่องประดับแต่ละชิ้นเกิดจากการทำภาพร่างกว่าหลายร้อยแบบ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการทำงานศิลปะด้านงานออกแบบเครื่องประดับ โดยทรงสร้างสรรค์ภาพของดอกไม้นานาพรรณ สร้างสีสัน และจัดองค์ประกอบภาพให้มีความหลากหลาย มีลวดลายและเรื่องราวที่สื่อความหมาย อันลึกซึ้งถึงผู้ใช้มากกว่าการคิดแค่เป็นเครื่องประดับ ทรงมีพระดำรัสถึงงานออกแบบเครื่องประดับ ความตอนหนึ่งว่า “เป็นการสร้างสรรค์ชิ้นงานจากต้นแบบภาพวาด ซึ่งทำให้คิดถึงแนวทางการพัฒนาผลงานศิลปะของตนให้เติบโต หรือปรับเปลี่ยนเป็นงานศิลปะด้วยเทคนิควิธีการอื่น ๆ อีกทั้งได้นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาปรับประยุกต์ใช้เป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะเฉพาะตน ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้าได้นำความรู้ทางความคิดสร้างสรรค์ไปใช้พัฒนาต่อยอดกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่อาจก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นในสังคมที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

พระอัจฉริยภาพด้านดนตรีใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงสืบทอดพรสวรรค์ด้านดนตรีจากพระบรมชนกนาถ และทรงได้รับการส่งเสริมจากพระราชมารดาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สามารถทรงดนตรีหลายประเภทได้อย่างเป็นเลิศ อาทิ เปียโน กีตาร์ รวมถึงเครื่องดนตรีกู่เจิงของจีนที่เล่นยากมาก ก็ทรงสามารถบรรเลงกู่เจิงในระดับศิลปินได้ในเวลาไม่นาน เมื่อเจริญพระชันษาได้เพียง 13 พรรษา ทรงเปียโนและทรงแสดงคอนเสิร์ตเป็นครั้งแรกถวายแด่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และพระราชทานแก่คณะทูตานุทูต และต่อมาภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้มีการใช้ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาประเทศที่เสด็จเยือน ในพุทธศักราช 2544 ทรงจัดแสดงดนตรีและวัฒนธรรม “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างไทย – จีน รวมถึงหารายได้การกุศลช่วยเหลือสังคมไทยอีกทางหนึ่ง สร้างความประทับใจอย่างยิ่งแก่รัฐบาลจีน จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายสถานะ “ทูตวัฒนธรรม” และจัดส่งคณะนักแสดงและนาฏศิลป์เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยสลับการเป็นเจ้าภาพกับประเทศไทย จัดการแสดงขึ้นอย่างต่อเนื่องถึง 6 ครั้ง นำมาซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังทรงใช้ดนตรีเป็นสื่อสัมพันธ์เชื่อมความใกล้ชิดระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชนชาวไทยทั้งในและต่างประเทศ ในการเสด็จทรงงานวิชาการยังต่างประเทศ จะทรงจัดเวลาพระราชทานแก่ชาวไทยไกลบ้านให้ได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี4 กรกฎาคม 2564 ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

ขอเชิญร่วมเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ แห่ง “องค์สิริศิลปิน” สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ผ่านสติ๊กเกอร์ไลน์ภาพฝีพระหัตถ์ฯ หลากลาย หลายชีวิต ชุด “สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต”และร่วมถ่ายภาพจากผลงานภาพฝีพระหัตถ์ผ่านเทคโนโลยี AR Filter โดยสามารถกดติดตามได้ทางอินสตาแกรม sirisinlapin

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันประสูติฯ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี 4 กรกฎาคม 2564 ขอเชิญชวนประชาชนร่วมเผยแพร่พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ แห่ง “องค์สิริศิลปิน” สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้าพระองค์แรกในประวัติศาสตร์ของพระราชวงศ์ไทยที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ด้วยพระองค์เอง ร่วมถ่ายภาพจากผลงานภาพฝีพระหัตถ์ผ่านเทคโนโลยี AR ให้ประชาชนได้โพสต์รูปหรือสตอรี่แบ่งปันลงบนอินสตาแกรม พร้อมร่วมสนุกกับ AR Filter โดยสามารถกดติดตามได้ทางอินสตาแกรม sirisinlapin พร้อมดาวน์โหลดสติ๊กเกอร์ไลน์ภาพฝีพระหัตถ์ฯ หลากลาย หลายชีวิต ชุด “สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต” ได้ที่ https://line.me/S/sticker/15801893 ทุกการดาวน์โหลดร่วมสมทบทุนมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ฯ เพื่อนำไปจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือสามารถร่วมบริจาคสมทบทุนกับมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ฯ ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี สิริศิลปิน ศิลป์เพื่อชีวิต ประเภทบัญชีกระแสรายวัน เลขที่บัญชี 229-3-03199-9

1 39 40 41 44