พระกรณียกิจองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ค้นหาจากช่วงเวลา

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี ณ โรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา  15.12  น.  ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังโรงพยาบาลบ้านหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน  เพื่อทรงติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดีในจังหวัดน่าน  โดยมีพระดำริให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยมะเร็งตับและท่อน้ำดี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2554  ด้วยทรงมีความห่วงใยในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และทรงเพียรพยายามที่จะช่วยเหลือในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขของประเทศ   ในการนี้  ทรงรับฟังการกราบทูลรายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ดังนี้ โครงการคัดกรองและเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี  ในพื้นที่ที่พบการระบาดเฉพาะถิ่น   โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีรภัทร อึ้งตระกูล โครงการพัฒนาแนวทางการคัดกรองมะเร็งตับและท่อนํ้าดีด้วยปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับภาพอัลตราซาวด์ในประเทศไทย โดย อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอด โครงการอาสาจุฬาภรณ์ รุ่นที่ 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วิสุทธิ์ ล้ำเลิศธน ซึ่งโครงการคัดกรองโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี  โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ จะช่วยตรวจจับรอยโรคเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคร่วมกับภาพอัลตราซาวด์ เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับได้ในระยะแรกเริ่มได้ ทำให้เพิ่มระยะการรอดชีวิตและระยะปลอดโรค และโครงการอาสาจุฬาภรณ์ ซึ่งเป็นโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพของประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการดูแลสุขภาพอนามัยของตนเอง ครอบครัว และชุมชน  […]

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บรรเทาโรคภัยแก่ประชาชนชาวไทย และพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธรูป พระกริ่ง เหรียญพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ สมทบทุนศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๒๔ น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสด็จพระดำเนินไปทรงเป็นประธานประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ บรรเทาโรคภัยแก่ประชาชนชาวไทย และพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธรูป พระกริ่ง เหรียญพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ ณ  พลับพลาพิธี หน้าหอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ โดยมีคณะผู้บริหาร และบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้ารับเสด็จฯ โอกาสนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กราบทูลถวายรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน จากนั้นทรงร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยพระสงฆ์ ๑๐ รูป มีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ด้วยบทสวดอาฏานาฏิยะปริตร เพื่อบรรเทาโรคภัยแก่ประชาชนชาวไทย ให้เกิดความเป็นสิริมงคล ป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวง และเป็นขวัญเป็นกำลังใจให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยทั้งปวง จากนั้นเสด็จไปทรงพระสุหร่าย ทรงโปรยดอกไม้ในพิธีเจริญพระพุทธมนต์สมโภชพระพุทธรูป พระกริ่ง เหรียญพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ พร้อมพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา ทั้งนี้ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ […]

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระโอวาทแก่บุคลากรใหม่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ในโอกาสเริ่มปฏิบัติหน้าที่ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕

วันอังคารที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๕ เวลา ๑๔.๐๗ น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสด็จพระดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งไปยังศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ในการพระราชทานพระโอวาทแก่บุคลากรใหม่ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ โดยมีคณะผู้บริหาร และบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้ารับเสด็จฯ การนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าเฝ้ากราบทูลถวายรายงาน และขอพระราชทานพระวโรกาสเบิกบุคลากรใหม่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จำนวน ๖๘๖ คน เข้าเฝ้ารับพระราชทานพระโอวาทในโอกาสเริ่มปฏิบัติหน้าที่ใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยบุคลากรที่เข้ารับพระราชทานพระโอวาทในครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะผู้บริหาร (จำนวน ๓๓ คน) ที่ปรึกษา (จำนวน ๑๕ คน) บุคลากรทางการแพทย์และสนับสนุนการแพทย์ (จำนวน ๓๓๙ คน) บุคลากรฝ่ายสนับสนุนทั่วไป (จำนวน […]

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงออกหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ณ สนามกีฬากลางสะพานหิน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

20 พฤษภาคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงออกหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ณ สนามกีฬากลางสะพานหิน อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อพระราชทานบริการสาธารณสุข แก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เป็นวันแรก    สำหรับหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 154 ราย แบ่งเป็นโรคระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ จำนวน 55 ราย ระบบจักษุ จำนวน 23 ราย ระบบประสาท จำนวน 23 ราย ตรวจสุขภาพ จำนวน 18 ราย และระบบทางเดินอาหาร จำนวน 11 ราย มีผู้ป่วยส่งต่อ จำนวน 19 ราย การนี้ได้รับผู้ป่วยในพระอนุเคราะห์ จำนวน 1 ราย โดยหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ […]

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทอดพระเนตรการให้บริการของศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทอดพระเนตรการให้บริการของศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และทรงร่วมกิจกรรมประกอบชุด Casette เพื่อเตรียมการสังเคราะห์สารและกดปุ่มเพื่อเริ่มต้นการผลิตสารเภสัชรังสี จากเครื่องไซโคลตรอนที่ติดตั้งเป็นเครื่องที่สอง รุ่น HM-20S แบบ Self-shielded ซึ่งเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ด้วยพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลได้ทรงเป็นผู้ริเริ่มให้มีเครื่องไซโคลตรอนและเพทสแกนเป็นครั้งแรกในประเทศไทยโดยทรงวางแนวทางการดำเนินงานและทรงสนับสนุนทุกวิถีทางในการติดต่อกับต่างประเทศ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ทรงติดตามการก่อสร้าง และการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ศูนย์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางการให้บริการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีราคาสูงให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุด ทั้งด้านการผลิตสารเภสัชรังสีจากเครื่องไซโคลตรอน สำหรับตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคที่มีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาทและสมอง โรคหัวใจด้วยเครื่องเพทสแกน ทรงมีพระนโยบายให้ศูนย์ฯ กำหนดอัตราค่าบริการตรวจเพทสแกนที่ช่วยเหลือผู้ป่วยในประเทศให้สามารถเข้าถึงการตรวจได้มากที่สุด และให้ศูนย์ฯผลักดันนโยบายการเบิกจ่ายตรงกับทาง สปสช. ในอัตราที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ และสามารถเพิ่มสิทธิเบิกจ่ายสำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องเพทสแกนในภาวะโรคต่างๆ ได้มากขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการตรวจวินิจฉัยที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์นายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้บริหารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พร้อมฉลองพระองค์ครุย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน

๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์นายกสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้บริหารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ พร้อมฉลองพระองค์ครุย ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ ด้วยพระวิริยะเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรมาโดยตลอด ตั้งแต่เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร มาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการแพทย์และการสาธารณสุข อันเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ พระวิสัยทัศน์ที่ทรงตั้งมั่นที่จะทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเสริมสร้างและสนับสนุนความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องของระบบการแพทย์และการสาธารณสุขไทย และทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์และองค์ประธานหน่วยงานและมูลนิธิต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนภารกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยให้สำเร็จตามพระราชปณิธาน ทั้งยังพระราชทานพระบรมราโชบาย และพระราชทานพระราชทรัพย์ในการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนในทุกมิติ เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก (Pandemic) ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนไทยในทุกระดับ จากพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และสาธารณสุขอันมีคุณประโยชน์ต่อประเทศอย่างอเนกอนันต์ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น สภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จึงมีมติขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาแพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว Cr: เพจโบราณนานมา

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเปิดอาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติส่วนต่อขยาย เปิดตัวเครื่องดิจิทัลเพทซีที รุ่น Biograph Vision 600 Edge และทอดพระเนตรการให้บริการของศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๔๘ น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสด็จไปทรงเปิดอาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติส่วนต่อขยาย เปิดตัวเครื่องดิจิทัลเพทซีที รุ่น Biograph Vision 600 Edge และทอดพระเนตรการให้บริการของศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมีคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้บริหารและบุคลากรของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เฝ้ารับเสด็จฯ โอกาสนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงชนิสา โชติพานิช รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และผู้อำนวยการศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ เข้าเฝ้าถวายสูจิบัตร และกราบทูลถวายรายงานโครงการจัดสร้างอาคารศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติส่วนต่อขยาย ทั้งนี้ ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ก่อตั้งขึ้นจากพระปณิธาน และพระวิสัยทัศน์ใน สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ ด้วยทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการวางรากฐานการดำเนินงานด้านการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีสร้างภาพวินิจฉัยในระดับโมเลกุลทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ที่นับเป็นการยกระดับความก้าวหน้าไปอีกขั้นในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ไทยในช่วงเวลานั้น โดยเป็นหน่วยงานที่มีการนำเครื่องไซโคลตรอนและเครื่องเพทสแกนเพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยทางมะเร็งวิทยา […]

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ และเททองหล่อพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ เพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ อาคารศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

วันอังคารที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๕.๒๔ น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เสด็จพระดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปทรงวางศิลาฤกษ์หอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ และทรงเททองหล่อพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ ณ มณฑลพิธี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่ โดยมีคณะผู้บริหาร และบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เฝ้ารับเสด็จฯ โอกาสนี้ พระราชทานพระวโรกาสให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าเฝ้าถวายสูจิบัตรและกราบทูลถวายรายงานการดำเนินโครงการจัดสร้างหอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ และพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ ซึ่งทรงมีพระดำริโปรดให้จัดสร้างเป็นแห่งที่สองเพื่ออัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด ๔๐๐ เตียง ทั้งนี้ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๙ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ เป็นพระพุทธรูปประจำโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้งทรงเจริญพระชนมายุ ๘๙ […]

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงออกหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ณ สนามกีฬาราชนาวี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

20 เมษายน 2565 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงออกหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ณ สนามกีฬาราชนาวี อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อพระราชทานบริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยทรงมุ่งมั่นในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนชาวไทยรวมถึงสัตว์เลี้ยงที่มีความใกล้ชิดกัน ได้เข้าถึงการบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึง เพื่อสร้างสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและสัตว์ให้มีมาตรฐาน ถือเป็นพลังขับเคลื่อนหลักในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน สำหรับ การหน่วยแพทย์พระราชทานโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับบริการทั้งหมด 173 ราย แบ่งเป็นเป็นโรคระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ จำนวน 87 ราย ระบบผิวหนัง จำนวน 26 ราย ระบบประสาท จำนวน 24 ราย ระบบจักษุ จำนวน 16 ราย และระบบทางเดินหายใจ จำนวน 14 ราย มีผู้ป่วยส่งต่อ จำนวน 10 ราย การนี้ ประชาชนชาวจังหวัดชลบุรี ต่างสำนึกในพระกรุณาธิคุณของ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ […]

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นครั้งที่ 2

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี เป็นครั้งที่ 2 วันที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 09.47 น. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปวัดเกษรศีลคุณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ทรงออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ในโครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานฯ เพื่อทรงฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และทำหมันให้กับสุนัขและแมวของประชาชนในจังหวัดอุดรธานี และใกล้เคียง เป็นครั้งที่ 2 ในการนี้ ทรงนำทีมสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ จากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงพยาบาลสัตว์ทิพย์พิมาน ร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ผ่าตัดทำหมันให้กับสุนัขของประชาชน จำนวน 7 ตัว ด้วยทรงห่วงใยในสุขภาพอนามัยของประชาชน และสัตว์เลี้ยงที่อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยทรงให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งการออกหน่วยสัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์ ถือเป็นการรณรงค์ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า อันเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เพื่อให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความปลอดภัย ลดความเสี่ยงการแพร่กระจาย และตัดวงจรโรคพิษสุนัขบ้า ไม่ให้ก่ออันตรายมาสู่คนได้อีกต่อไป สำหรับการออกหน่วยฯ ครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนทีมสัตวแพทย์ […]

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงพระราชทานวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,500 โดส ให้แก่ประชาชนจังหวัดอุดรธานี

เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงพระราชทานวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,500 โดส ให้แก่ประชาชนจังหวัดอุดรธานี โดยมีหน่วยแพทย์พระราชทานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี และโรงพยายาลอุดรธานีให้บริการฉีดวัคซีนพระราชทาน แก่ประชาชนในพื้นที่ ณ วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ วัดป่านาคำน้อย ตำบลบ้านก้อง อำเภอนายูง จังหวัดอุดรธานี

สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นำกล่องยังชีพพระราชทานไปมอบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสุกร

วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดเกล้าฯ ให้นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา นำกล่องยังชีพพระราชทานไปมอบให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสุกร โดยมีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจำนวน 16 อำเภอ รวม 244 ราย เข้ารับมอบ ณ ที่ว่าการอำเภอพิมาย จ.นครราชสีมา

1 3 4 5 12