ไขข้อสงสัยภาวะใหลตาย ภัยเงียบทางพันธุกรรม เกิดขึ้นได้ในผู้ชายมากกกว่าผู้หญิง 8-10 เท่า
ภาวะใหลตายเป็นโรคทางพันธุกรรม ซึ่งผู้ป่วยเป็นมาตั้งแต่กำเนิด แต่ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัว มักเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเอเชียมากกว่าในยุโรป ในคนไข้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือมีประวัติคนในครอบครัวมีโรคทางพันธุกรรม โดยอันดับหนึ่งพบได้ในคนไข้ที่อายุไม่มากในกลุ่มของคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปี นับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ที่เกิดจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติชนิดรุนแรง คล้ายๆ หัวใจจะหยุดเต้น โดยจะต้องให้การรักษาด้วยการช็อคหัวใจด้วยระบบไฟฟ้า เพียงแต่ว่าในขณะที่เกิดขึ้นคนไข้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และคนไข้ก็จะนอนจนเสียชีวิตไป
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคไหลตาย
- การออกกำลังกายอย่างหนัก และเยอะเกินไป
- การพักผ่อนน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ จนทำให้ร่างกายอ่อนแอ อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคได้ง่ายขึ้น
- เคยมีประวัติเสี่ยงของคนในครอบครัว
อาการของโรค
- ในหลายราย ไม่มีอาการแสดง
- ในบางรายอาจมีอาการหน้ามือ เป็ยลม โดยไม่ทราบสาเหตุ
การป้องกันภาวะใหลตาย
- ตรวจเช็กประวัติเสี่ยงจากบุคคลครอบครัว
- ตรวจร่างกายประจำปี โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือ EKG
- อาจมีการตรวจอัลตราซาวด์หัวใจหรือ ECHOCARDIOGRAM เพิ่มเติม
การตรวจสุขภาพหัวใจสม่ำเสมอจะทำให้แพทย์สามารถตรวจเจอภาวะในกลุ่มโรคใหลตายได้ และหาวิธีการป้องกัน แนะนำคนไข้ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงในอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
นายแพทย์วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์
อายุรแพทย์หัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลจุฬาภรณ์