เนื่องจากโรงพยาบาลมีผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อจากโรงพยาบาล หากคุณมีอาการป่วยเพียงเล็กน้อย คุณสามารถรักษาตนเองที่บ้านทานยาพาราเซตามอล (paracetamol) ดื่มน้ำมาก ๆ นอนพักผ่อนอย่างเพียงพอควรพบแพทย์เมื่อไหร่?
- หากคุณมีอาการเหนื่อย ไอมาก หายใจลำบาก หอบเหนื่อย โดยเฉพาะคุณเป็นผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างรับการรักษาโรคมะเร็ง หรือผู้สูงอายุ ควรปรึกษาแพทย์
- หากคุณแข็งแรงปกติดี และสงสัยรับเชื้อ COVID-19 ร่วมกับมีไข้ตั้งแต่ 37.5 c และมีอาการไอ หายใจลำบาก เหนื่อยร่วมด้วย
วิธีการดูแลตนเองเมื่อคุณมีอาการป่วยระบบทางเดินหายใจเพียงเล็กน้อยเช่น ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อสู่คนอื่น1.STAY HOME ย้ำ อยู่บ้าน โดยเฉพาะเมื่อคุณมีอาการป่วยไม่มากเช่น น้ำมูก ไอไม่มาก ไม่มีไข้
- ควรงดการทำกิจกรรมนอกบ้าน ยกเว้นว่าจะไปพบแพทย์
- งดการไปที่สาธารณะ เช่น โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร ตลาดนัด หยุดงาน ไม่ไปโรงเรียน
- งดการใช้บริการขนส่งสาธารณะเช่น รถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟ แท็กซี่
2.แยกตัวเองจากคนอื่น ๆ และสัตว์เลี้ยงในบ้าน
- ควรมีห้องพักแยกสำหรับตัวคุณเอง หากเป็นไปได้ควรใช้ห้องน้ำแยกเป็นส่วนตัว
- ไม่ให้อาหารสัตว์เลี้ยง กอด จูบสัมผัส นอนด้วยกัน หรือแบ่งอาหารตนเองให้สัตว์เลี้ยง แต่หากคุณจำเป็นต้องดูแลสัตว์เลี้ยงเอง ให้ใส่หน้ากาก และล้างมือก่อนและหลังสัมผัสสัตว์
3.หากจำเป็นต้องมาพบแพทย์ ควรโทรทำนัดก่อนมาโรงพยาบาล เพื่อทางโรงพยาบาลจะได้แนะนำขั้นตอนการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 4.การใช้หน้ากากอนามัย
- หากมีอาการป่วย ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่อคุณอยู่ร่วมห้องกับบุคคลอื่นหรืออยู่กับสัตว์เลี้ยง และก่อนเข้ามาในโรงพยาบาล
- หากผู้ป่วยไม่สามารถใส่หน้ากากอนามัยได้ แนะนำให้บุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้ป่วย ไม่ควรอยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย หรือให้บุคคลอื่นสวมใส่หน้ากากอามัยเมื่อเข้าห้องที่มีผู้ป่วยอยู่
5.การป้องกันเมื่อมีการไอ จาม น้ำมูก
- ปิดบังใบหน้าและจมูกทุกครั้งที่ไอ จาม หรือมีน้ำมูก และทิ้งกระดาษทิชชู่ในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วล้างมือทันทีด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที หรือด้วยน้ำยาทำความสะอาดมือ alcohol hand rub
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังจากสั่งน้ำมูก ไอ จาม เข้าห้องสุขา และก่อนทำอาหารหรือทานข้าว
- หากไม่มีสบู่ ให้ทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ (alcohol hand rub) ทั่วทั้งมือจนกว่าแอลกอฮอล์แห้ง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก ปาก
6.ไม่ใช้ภาชนะบรรจุอาหาร จาน ชาม แก้ว ผ้าเช็ดตัว ชุดเครื่องนอนร่วมกับผู้อื่น หรือสัตว์เลี้ยง และทำความสะอาดซักล้างหลังใช้งาน 7.ทำความสะอาดพื้นผิว อุปกรณ์ สิ่งของ โต๊ะที่ใช้งานบ่อย ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อ และป้องกันตนเองระหว่างการใช้งานตามคู่มือแนะนำของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว 8.ติดตามอาการของตัวคุณเองอย่างสม่ำเสมอ
- ไปพบแพทย์หากคุณมีอาการแย่ลงเช่น เหนื่อย ไอมาก หอบ
- วัดอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง
- ใส่หน้ากากอนามัยก่อนไปรพ.
- หากคุณเป็นผู้สงสัยการติดเชื้อ COVID-19 ก่อนเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุณาโทรแจ้งทำนัดก่อน
- หากมีอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินติดต่อ 1669 และแจ้งว่าคุณเป็นผู้สงสัยการติดเชื้อ COVID-19
9. เมื่อไหร่ที่จะพ้นระยะการกักตัว
- ตามกฎระเบียบที่กรมควบคุมโรคประกาศ ปัจจุบันแนะนำการแยกตนเองจากบุคคลอื่น 14 วัน