แนวทางการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (Personal protective equipment)

แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลทั้ง 4 ชิ้น คือ

  • เสื้อคลุมแขนยาวรัดข้อมือ กรณีเสื้อคลุมทำจากผ้าสามารถใช้เสื้อ
  • หน้ากากกรองอากาศ (surgical mask) หรือหน้ากากกรองอนุภาค เช่น N95, N100 ขึ้นอยู่กับ อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย หรือหัตถการ/กิจกรรมการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
  • แว่นป้องกันตา หรือ กระจังกันใบหน้า
  • ถุงมือ

ทั้งนี้อุปกรณ์ที่แนะนำให้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเป็นมูลฝอยติดเชื้อ ได้แก่ ถุงมือและหน้ากากปิดปาก จมูกชนิดต่าง ๆ ส่วนที่ใช้แล้วสามารถมาทำความสะอาดก่อนใช้ใหม่ ได้แก่ แว่นป้องกันตา/กระจังหน้า เสื้อคลุมแขนยาวรัดข้อมือชนิดทำด้วยผ้า

สำหรับการดูแลผู้ป่วยหลายคนใน cohort ward ต้องเปลี่ยนถุงมือทิ้งเป็นมูลฝอยติดเชื้อ ล้างมือ และสวมถุงมือคู่ใหม่ก่อนจะไปดูแลผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ส่วนอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลชิ้นอื่นพิจารณาตามความเหมาะสมของการปนเปื้อน หรือลักษณะการสัมผัสหรือการดูแลผู้ป่วย หรือลักษณะของการสัมผัส การดูแลผู้ป่วย เช่น มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งผู้ป่วย ควรเปลี่ยน PPE ใหม่ทั้งชุด

ข้อแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (PPE) ดังนี้

 1. ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ การช่วยพื้นชีพ การใส่/ถอดท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะ หรือ

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะปอดอักเสบ หรือมีอาการไอมาก ให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล ดังนี้

1) เสื้อคลุมกันน้ำแขนยาวรัดข้อมือ (gown)

2) หน้ากากกรองอนุภาค เช่น N95 mask/N 100/P 100 หรือสูงกว่า

3) Goggle หรือ Face Shield

ข้อแนะนำแนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ กรณีโรคโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019

(Novel Corona virus: nCoV) (ฉบับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563)

4) หมวกคลุมผม (ใช้ในกรณีที่กิจกรรมนั้นก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) หรือผู้ป่วยมี

อาการไอมาก และ

5) ถุงมือ

2. กรณีที่ผู้ป่วยไม่ไอ ไม่จาม หรือไม่ได้ทำหัตถการที่จะก่อให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosolgenerating procedures) ในการดูแลผู้ป่วยให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล ดังนี้

1) เสื้อคลุมกันน้ำแขนยาว (gown) กรณีใช้เสื้อคลุมที่ทำด้วยผ้าและผู้ป่วยมีอาการไอ จามมาก ๆ

สามารถใส่เสื้อพลาสติกคลุมทับเสื้อกาวน์ผ้าได้

2) Surgical mask หรือ N95 และ

3) ถุงมือ