

สัญญาณเตือน มะเร็งเต้านม
คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้
บริเวณหัวนมบุ๋มเต้านมมีรูปร่างผิดไปจากเดิม
มีสารคัดหลั่งหรือเลือดออกจากหัวนม
เต้านมมีผื่นแดงผิดปกติ
มีแผลแตกบนเนื้อเต้านม
มีอาการปวดบริเวณเต้านม

ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งเต้านม
หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
เริ่มมีประจำเดือนเร็วก่อนอายุ 12 ปี
ทานยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 10 ปี
มีบุตรคนแรกช้าหลังอายุ 30 ปีหรือไม่มีบุตร
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่
เคยได้รับการฉายแสงบริเวณทรวงอกเมื่ออายุน้อย
พฤติกรรมเสี่ยง เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกายสูบบุหรี่
พันธุกรรม เช่น การกลายพันธุ์ ของ ยีน BRCA-1 หรือ BRCA-2

ตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงอายุ 20 ปีขึ้นไป หมั่นตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน (หลังมีประจำเดือนสัปดาห์)
ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองด้วยวิธีแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์เต้านมทุกปี
ผู้ป่วยที่เคยเป็นมะเร็งหรือเนื้องอกเต้านมตรวจตามคำแนะนำแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษา
ควรตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุน้อยและบ่อยมากกว่าคนปกติผู้ที่มีผลการตรวจทางพันธุกรรมที่ผิดปกติ
ตระหนักเกี่ยวกับสุขภาวะเต้านมของตนเองและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
(Breast Awareness and Breast Self Examination-BSE)
ผู้หญิงทุกคนที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรทำความรู้จักกับเต้านมตนเอง ตั้งแต่ลักษณะภายนอกบริเวณผิวหนัง หัวนมและลานหัวนม รวมไปถึงลักษณะผิวสัมผัสของเนื้อเต้านมในแต่ละช่วงของรอบเดือน การคลำเต้านมด้วยตนเองเพื่อให้ทราบถึงสุขภาวะเต้านมตนเอง หากยังมีประจำเดือนให้ตรวจช่วงหลังมีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ หากพบความผิดปกติแนะนำให้พบแพทย์ เพื่อทำการตรวจประเมินซ้ำ
การตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์
การตรวจแมมโมแกรม เป็นการถ่ายฟิล์มเอกซเรย์เต้านม เพื่อดูความผิดปกติของเต้านมช่วยบอกถึงลักษณะก้อนที่คลำได้ สามารถตรวจพบก้อนเนื้อทีมีขนาดเล็กหรือกลุ่มหินปูนแคลเซียมที่เกิดจากมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการค้นพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะเริ่มแรก หลังจากตรวจแมมโมแกรมเสร็จรังสีแพทย์จะทำการตรวจอัลตราซาวด์เพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยแยกก้อนและถุงน้ำ และยังใช้ตรวจหาความผิดปกติของเต้านมในสตรีที่อายุยังน้อยที่เนื้อเต้านมมีความหนาแน่นสูง
การเตรียมตัวก่อนตรวจแมมโมแกรม (Mammogram)
- ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร
- ไม่ควรทาแป้ง โลชั่นหรือโรลออนบริเวณหน้าอกและรักแร้ เนื่องจากจะมีผลต่อภาพแมมโมแกรม
- หลีกเลี่ยงช่วงใกล้หรือมีประจำเดือน โดยช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการตรวจแมมโมแกรม คือ 7-14 วัน หลังหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนในร่างกายเริ่มลดลงทำให้เต้านมไม่คัดตึงเวลาตรวจแมมโมแกรมก็จะเจ็บน้อยกว่า
- ควรนำฟิล์มภาพเก่ามาเปรียบเทียบด้วยเพื่อให้นักรักสีแพทย์สามารถเปรียบเทียบความผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ได้
ศัลยกรรมเต้านม ชั้น 2 โซน B อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ขนาด 400 เตียง
วันและเวลาให้บริการ
ในเวลาราชการ : จันทร์ อังคาร พฤหัสบดี 08.00-16.00 น.
นอกเวลาราชการ : อังคาร พุธ พฤหัสบดี 16.00-20.00 น. เสาร์ 08.00-16.00 น.