มะเร็งปากมดลูก

รู้หรือไม่?

มะเร็งปากมดลูกไม่ได้เกิดจากพันธุกรรม

แต่เกิดจากเชื้อไวรัส HPV หรือ Human Papilloma Virus ซึ่งติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ การสัมผัสใกล้ชิด

HPV

เชื้อเอชพีวี เป็นไวรัสที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก หูดหงอนไก่ ซึ่งเชื้อเอชพีวีที่ก่อโรคมีประมาณ 40 สายพันธุ์ แต่มีเพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่ก่อโรคบ่อย

เชื้อเอชพีวี ก่อโรคมะเร็งได้ทั้งใน หญิง และ ชาย

  • มะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งช่องคลอด
  • มะเร็งปากช่องคลอด
  • มะเร็งช่องปากและลำคอ
  • มะเร็งทวารหนัก
  • หูดหงอนไก่
  • มะเร็งองคชาต
  • มะเร็งทวารหนัก
  • มะเร็งช่องปากและลำคอ
  • หูดหงอนไก่

เชื้อไวรัส
HPV

HPV 6, 11 สายพันธุ์ความเสี่ยงต่ำ

สาเหตุ 90% ของหูดหงอนไก่

HPV 16, 18, 31, 33, 45, 52, 58 สายพันธุ์ที่มีความรุนแรงมาก

สาเหตุ 70% ของมะเร็งปากมดลูก

ตรวจก่อนพบ HPV

เพื่อให้แพทย์ได้ควบคุมความเสี่ยง

การตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีแพปสเมียร์ (Pap Smear) แบบเดิมเป็นการตรวจพบการเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูก ซึ่งกว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอาจใช้เวลานานถึง 10 ปี ทำให้ในบางรายกว่าจะตรวจพบก็เข้าสู่มะเร็งระยะท้าย ดังนั้น การตรวจคัดกรองด้วยการตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA) จะช่วยให้ตรวจพบรอยโรคก่อนมะเร็งตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยให้แพทย์สามารถประเมินและควบคุมความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก รวมถึงเลือกวิธีการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

  • สำหรับสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว อายุ 25 ปีขึ้นไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทุก 2 ปี และ หากอายุ 30 ปีขึ้นไปควรปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับ การตรวจHPV DNA เพิ่มเติม
  • สำหรับสตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อายุ 30 ปีขึ้นไป แนะนำให้เข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก ทุก 2 ปี

สร้างเกราะ
ป้องกัน HPV

ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยงและรับวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV มีการใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี ชนิด 9 สายพันธุ์จากเดิมวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์ คือ 6, 11, 16, 18 เพิ่มการป้องกันมาอีก 5 สายพันธุ์ คือ 31, 33, 45, 52, 58 เพิ่มการป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 90%

อายุ 9 ปีขึ้นไป
เป็นวัยที่เหมาะสมที่สุด
ในการป้องกัน

คำแนะนำการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี

  • ฉีดได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี
  • อายุ 9-15 ปี รับวัคซีน 2 เข็ม ในเดือนที่ 0 และ 6
  • อายุ 15 ปีขึ้นไป รับวัคซีน 3 เข็ม ในเดือนที่ 0, 1-2 และ 6
  • ผู้หญิงอายุเกิน 45 ปี แนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีน
  • ที่เคยติดเชื้อ HPV หรือมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติสามารถรับวัคซีนได้แต่อาจได้รับประโยชน์น้อยลง และลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้ 70-80%

มะเร็งปากมดลูก เป็นหนึ่งในมะเร็งเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันได้ โรคมะเร็งปากมดลูก ไม่แสดงอาการจนกว่าโรคจะพัฒนาจนร้ายแรงแต่หากตรวจพบเร็ว จะมีโอกาสรักษาให้หาย
สูงถึงร้อยละ 98 %

ซึ่งวิธีการป้องกันไม่ยากเลย…