มีความเชื่อกันว่าถ้าคนเรามีรูปร่างสูงใหญ่มักจะได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเล่นกีฬา หรือแม้แต่เรื่องของบุคลลิกภาพ สำหรับคนที่ต้องการเพิ่มส่วนสูง ปัจจจัยในเรื่องของส่วนสูงไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุกรรม การใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน ดังนั้น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ การดื่มนมเพื่อเพิ่ม แคลเซียม (Calcium) หรือสำหรับบางคนที่เลือกที่จะไปหาซื้ออาหารเสริม ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงในท้องตลาด
จากการค้นหาข้อมูลในสื่อออนไลน์ พบข้อมูลว่าต้องทานอาหารที่มีแคลเซียม (Calcium) สูงๆ ไว้ก่อน ซึ่งได้บอกไว้ว่าผักและผลไม้ก็จัดเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง ประเด็นเรื่องความสูง มีปัจจัยมาจาก กรรมพันธุ์ เช่น คุณพ่อ คุณแม่ และความสมบูรณ์ของภาวะโภชนาการโดยรวม อย่างแรกต้องได้รับพลังงาน และสารอาหารอย่างเพียงพอก่อน และโปรตีน (Protein) มักจะเป็นโครงสร้างหลักในการที่จะก่อให้เกิดการสะสมมวลกระดูกไม่ใช่ แคลเซียม (Calcium) อย่างเดียวยังมีองค์ประกอบอีกมากมาย เพราะฉะนั้นการรับประทานผักผลไม้อย่างเดียวสามารถทำให้เพิ่มความสูงได้ สำหรับทุกช่วงวัย เพราะกลไกของการสร้างมวลกระดูกจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นมากกว่าแคลเซียม (Calcium) อย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือ วิตามินดี (Vitamin D) ต่างๆ เหล่านี้ช่วยในเรื่องของการดูดซึม แคลเซียม (Calcium) เข้าไปแล้วเอาไปสร้างเป็นมวลกระดูกขึ้นมา ถ้าเราคาดหวังว่าการรับประทาน แคลเซียม (Calcium) เพื่อที่จะเพิ่มความสูงนี้ถือว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด สำหรับวัยผู้ใหญ่ การที่มี แคลเซียม (Calcium) ที่เพียงพอจะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องของโรคกระดูกพรุน เป็นต้น
การลดความเสี่ยงในเรื่องของโรคกระดูกพรุนมีความสำคัญสำหรับในวัยผู้ใหญ่นี้อย่างไร อย่างที่เรารู้ว่าตอนเด็กก็จะเป็นการเติบโตในเชิงส่วนสูง สะสมมวลกระดูกให้กระดูกแข็งแรง มีความหนาแน่น เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายไม่ได้สะสมแล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีกระบวนการที่ศูนย์เสียทำให้ แคลเซียม (Calcium) ออกไปตามช่วงวัย แต่ถ้าเราไม่มี แคลเซียม (Calcium) ชุดใหม่เข้าไปในร่างกายเลยก็จะยิ่งทำให้แคลเซียม (Calcium) ที่มีอยู่ในร่างกายพร่องลงไป
การดื่มนมเพียงอย่างเดียวเพียงพอต่อการต้องการแคลเซียม (Calcium) ในร่างกายของคนเราหรือไม่ เราจำเป็นต้องกินผลไม้ กินผัก ตัวอย่างข้อมูลในอินเตอร์เน็ตบอกว่า ผลไม้จำพวก ฝรั่ง แครอท ก็มีแคลเซียม แล้วเราจำเป็นต้องกินไหม แคลเซียมมีทั้งในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ นม ชีด ต่างๆ และในพืชผักด้วยเหมือนกัน แต่ในนมมีทั้งแคลเซียม (Calcium) ฟอสฟอรัส (Phosphorus) ต่างๆ เยอะมาก ส่วนในผักถึงแม้จะมีแคลเซียม (Calcium) แต่จากตารางของการวิเคราะห์สารอาหาร DRI ล่าสุดในปี 2563 เราแบ่งแยกผักออกเป็น 3 ประเภท คือ มี ออกซาลิก (Oxalic acid) ต่ำ , ออกซาลิก (Oxalic acid) ปานกลาง , ออกซาลิก (Oxalic acid) สูง
ออกซาลิก (Oxalic acid) คือ อะไร
การที่แคลเซียมสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ดูดซึมได้จริง ขึ้นอยู่กับปริมาณของ ออกซาลิก (Oxalic acid) ถ้าผักที่มี ออกซาลิก (Oxalic acid) สูง ยกตัวอย่างเช่น ผักใบยอที่อยู่ในห่อหมก มีการวิเคราะห์ออกมาแล้วว่ามีแคลเซียม (Calcium) สูงมาก แต่นำไปใช้ได้จริงน้องมาก ในขณะที่ในกลุ่มที่มีออกซาลิก (Oxalic acid) ต่ำๆ เช่น พวกถั่วพลู ก็ยังพอมีแคลเซียม (Calcium) อยู่บ้าง แต่ออกซาลิก (Oxalic acid) ไม่สูงมากก็ยังพอเอาไปใช้ได้บ้าง ชนิดที่มีแคลเซียม (Calcium) สูงมาก
แคลเซียม (Calcium) ที่ดีที่สุดครบพร้อมที่จะสามารถนำไปใช้ได้ดีที่สุดก็คือจากนม ผลิตภัณฑ์แคลเซียม (Calcium) มีจากนม และไข่แดง บางท่านที่ไม่ได้ดื่มนม หรือแพ้นม หรือแพ้โปรตีนนม หรือว่าไม่มีน้ำย่อยแลคโตส (Lactose) ที่สามารถจะมาย่อยได้ อาจจะเลี่ยงไปเป็นดื่มนมถั่วเหลืองที่เสริมแคลเซียม (Calcium) ก็ได้ก็จะมีโปรตีน มีแคลเซียม (Calcium) มีฟอสฟอรัส (Phosphorus) มากพอสมควรเหมือนกัน
กรณีจะกินเพื่อหวังให้เพิ่มความสูงนี้สามารถช่วยได้หรือไม่ หรือจริงๆ แล้วปัจจุบันนี้พวกนวัตกรรมการผ่าตัดมามีบทบาทแทนการกิน ความสูงขอคนเราจะหยุดสูงในช่วงวัยรุ่น หรือช่วงอายุ 18 ปี ถึงแม้เราจะทานผลไม้มากเท่าไรก็จะไปเป็นส่วนของการสะสมให้กระดูกแข็งแรงมากกว่า สรุปคือ พันธุกรรม ร่วมถึงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต และการรับประทานอาหาร การพักผ่อน รวมการออกกำลังกาย
เพราะฉะนั้นในช่วงวัยเด็ก ควรเป็นวัยเด็กที่เติบโตอย่างสมวัย ซึ่งต้องเริ่มจากมารดาที่แข็งแรงสมบูรณ์ สามารถที่จะเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ และมีอาหารเสริมตามวัยตามช่วงเวลาได้อย่างสมบูรณ์ พอเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นกินอาหารได้เพียงพอ ออกกำลังกาย และพักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็จะโตเต็มที่ได้ตามวัย
กรณีการกินแคลเซียม (Calcium) ถ้ากินมากเกินไปก็จะส่งผลเสียอะไรได้หรือไม่ ตอนนี้ได้มีการศึกษาหาคำตอบอยู่หลายทางเหมือนกัน ถ้ากรณีที่เราไม่ได้กินในรูปของเม็ด อาหารเสริม หากเรากินในรูปของผลิตภัณฑ์อาหารปกติ นม ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ จะมีกลไกของมันเอง ซึ่งมันจะไม่มากจนเกินไป ปัจจุบันปริมาณแคลเซียม (Calcium) ที่ให้เรารับประทานประมาณ 1000 มิลลิกรัม ต่อวัน สำหรับผู้ใหญ่กินก็พอเพียง ถ้าเกิดเราไม่ได้กินเป็นเม็ดเข้าไป ถ้ากรณีเรากินแบบเป็นเม็ดที่แข็มข้น ตัวอย่างที่มีโฆษณาว่ามีแคลเซียม 1000 มิลลิกรัม หรือ 10,000 มิลลิกรัม ถ้ากินเข้าไปเยอะๆ จะมีอันตรายหรือไม่ ก็อาจจะมีอันตรายได้ถ้าหากกินติดต่อกันเป็นระยะเวลานานความสูงหรือส่วนสูงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวชี้วัดของพัฒนาการหากตอนนี้เราไม่สามารถจัดการอะไรเกี่ยวกับร่างกายได้ เราก็ควรจะรักษาร่างกายตัวเราเองให้แข็งแรง ให้เราไม่เป็นโรคกระดูกพรุน
สำหรับคนทุกช่วงวัย ควรจะดื่มนม หรือควรจะบริโภคแคลเซียม (Calcium) แค่ไหน ถึงจะพอดี ทั้งในวัยเด็ก วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ เริ่มตั้งแต่คนเป็นแม่ทุกๆ คน ท่านที่กำลังจะมีบุตร ควรรักษาสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงสมบูรณ์ ในตัวเองมีโภชนาการที่แข็งแรงที่ดี ถัดมาเมื่อมีลูกแล้วก็คือให้นมบุตร ตามที่คุณหมอแนะนำ แล้วตัวเองก็รักษาสุขภาพ รวมถึงมีการให้อาหารตามช่วงตามวัย เมื่อลูกโตขึ้นพยายามให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกพลังงานที่เหมาะสม โปรตีนที่เพียงพอประมาณคือ 20% และสิ่งที่สำคัญนมที่เป็นแหล่งสารอาหารที่สำคัญและสมบูรณ์ที่สุดสามารถดื่มได้ถึง 3 แก้วต่อวัน แม้กระทั้งผู้สูงอายุก็สามารถดื่มได้ 2-3 แก้วต่อวัน จะให้แคลเซียม (Calcium) ต่อวันถึงเกือบๆ 1000 มิลลิกรัม ต่อ วัน หรือ 1000 มิลลิกรัม ตอ่ วัน ซึ่งเหมาะสมต่อความต้องการต่อวันตามที่แนะนำ
คุณวัชรพล ขุนอินทร์
หัวหน้าหน่วยโภชนาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์