สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย
ประเทศไทยมีรายงานการระบาดของโรคไข้เลือดออกมานานกว่า 50 ปีปัจจุบันโรค ไข้เลือดออก มีการระบาดกระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งการกระจายของโรคมีการเปลี่ยนแปลงตามพื้นที่อยู่ ตลอดเวลา ดังนั้นการพยากรณ์และประเมินพื้นที่เสี่ยงจึงมีความสำคัญในการคาดการณ์สถานการณ์โรค ล่วงหน้า รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (Health Risk Assessment) รายพื้นที่ เพื่อใช้เป็น เครื่องมือช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย แผนงานและกลยุทธ์ในการป้องกัน ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ต่อไป
การพยากรณ์โรคไข้เลือดออกในปี 2563ใช้วิธีการทางสถิติแบบอนุกรมเวลา ด้วย ARIMA model โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้ป่วยย้อนหลัง10 ปี (ปี พ.ศ. 2553-2562) ผลการวิเคราะห์คาดว่าในปี 2563จะมีผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก ประมาณ 140,000 ราย ซึ่งใกล้เคียงกับการระบาดใหญ่ในปี 2558 โดยเชื้อไวรัส DEN-1 และ DEN-2 เป็นชนิดเชื้อเด่นและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง DENV-2 เป็นชนิดเชื้อไวรัสเดงกีที่ทำให้เกิด อาการรุนแรง ดังนั้น ในปี 2563 จึงอาจจะเป็นอีกปีที่มีการระบาดต่อเนื่อง และมีผู้ป่วยอาการรุนแรงและ เสียชีวิตสูงเหมือนกับปี 2562 สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการป่วยโรคไข้เลือดออกยังคงอยู่กลุ่มเด็กวัยเรียน (5-14 ปี) แต่กลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเป็นวัยผู้ใหญ่ (อายุ 35 ปีขึ้นไป) โดยเฉพาะในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เรื้อรัง สำหรับการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงโรคไข้เลือดออกระดับอำเภอ โดยพิจารณาจากปัจจัยการเป็นพื้นที่ป่วย ซ้ำซาก และการเกิดโรคในปี 2562 คาดว่ามีจำนวนพื้นที่เสี่ยงสูงต่อการระบาดโรคไข้เลือดออก จำนวน 224 อำเภอ ใน 60 จังหวัด โดยพบว่าอำเภอเสี่ยงสูงส่วนใหญ่เป็นอำเภอเมือง และอำเภอที่เป็นเมืองใหญ่ที่มีความ เจริญด้านต่างๆ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น สถานศึกษา ศูนย์ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว นิคม อุตสาหกรรม
จากผลการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกและการประเมินพื้นที่เสี่ยง มาตรการในการป้องกันควบคุมโรค ไข้เลือดออก จึงควรมุ่งเน้นในการป้องกันโรคล่วงหน้า โดยการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งภายในบ้าน ชุมชน สถานที่สำคัญต่างๆ โดยเฉพาะในสถานศึกษาและโรงพยาบาลควรมีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายเท่ากับศูนย์ ซึ่งช่วงเวลาสำคัญที่ควรดำเนินการคือช่วงเดือนมกราคม – เมษายน เนื่องจากเป็นช่วงที่โอกาสการแพร่โรคเกิด น้อยที่สุด และจะส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วยที่อาจเกิดมากขึ้นในช่วงฤดูฝน (พฤษภาคม-สิงหาคม) โดยมุ่งเน้น ดำเนินการอย่างเข้มข้นในพื้นที่เสี่ยงสูง แต่อย่างไรก็ตามทุกพื้นที่ควรดำเนินการมาตรการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เช่นกัน นอกจากนี้ในระยะที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ควรมีการรณรงค์ให้ผู้ป่วยที่มีไข้เกิน 2 วันต้องไป พบแพทย์ ในการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคจะได้มีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันผู้ป่วยชีวิต โดยเฉพาะ ในผู้ป่วยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง
ในปัจจุบันวัคซีนไข้เลือดออกที่ขึ้นทะเบียนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกสายพันธุ์ได้ ร้อยละ 65 ซึ่งประเทศไทยมีการใช้วัคซีนดังกล่าวตั้งแต่ปี 2560 จากการเก็บข้อมูลในสถานพยาบาลภาครัฐและ เอกชน พบผู้มีอาการข้างเคียงหลังจากได้รับวัคซีนเพียงร้อยละ 0.22 ซึ่งทุกรายมีอาการไม่รุนแรง ทั้งนี้องค์การ อนามัยโลกแนะนำการใช้วัคซีนในผู้ที่มีอายุ9-45 ปี และเป็นผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้วเท่านั้น โดย แพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนเป็นรายบุคคล
หมายเหตุผลการพยากรณ์จะให้ความแม่นยำสูงในช่วง 3 – 4 เดือนแรก กองโรคติดต่อนำโดยแมลงจึงจะดำเนินการพยากรณ์ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกอีกครั้งในเดือนมกราคม และเดือนเมษายน เพื่อเฝ้าระวังโอกาสที่จะเกิดการระบาดก่อนเข้าสู่ฤดูฝนรายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี2563
(ที่มา : กองโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 – 12 สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค)
โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)
ไข้เลือดออก มีพาหะคือ ยุงลาย แพร่เชื้อได้เมื่อยุงกัดคนที่มีเชื้อแล้วไปกัดคนอื่นต่อไป อีกทั้งยังแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วจากแม่ยุงไปสู่ลูกยุง เพราะช่วงชีวิต 60 วันของยุงตัวเมียหนึ่งตัวจะมีลูกได้มากกว่า 500 ตัว ถ้ามีไข้เกิน 3 วัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเจาะเช็กผลเลือด และความดัน หากเกล็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ต่อ ลูกบาศก์มิลลิเมตร ก็คาดการณ์ได้ว่าจะเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง
การป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออก คือ การดูแลไม่ให้โดยยุงกัด และการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ช่วงหลังมานี้มักจะมีข่าวคนเป็นไขเลือดออกกันบ่อยๆ โดยเฉพาะไข้เลือดออกชนิดรุนแรงที่อันตรายถึงชีวิตทำให้หลายคนค่อนข้างเป็นกังวลเวลาที่ถูกยุงกัดหรือต้องไปอยู่ในที่ที่มียุงชุกชุม เพราะพาหะน้ำเชื้อไข้เลือดออกก็คือยุงลายนั้นเอง ไข้เลือดออกเกิดจากไว้รัสเด็งกี (Dengue) ซึ่งมีพาหะคือยุงลาย เมื่อยุงลายไปกัดคนที่มีเชื้อนี้อยู่มันจะสามารถเก็บเชื้อไว้ในตัวได้ และหากไปกัดคนอื่นต่อก็เป็นการแพร่เชื้อได้โดยอัตโนมัติ หรือไม่ถ้ายุงลายที่มีเชื้ออยู่วางไข่มีลูกเชื้อไวรัสเก็งกี ก็จะแพร่ไปสู่ลูกซึ่งเป็นการแพร่กระจายเชื้อออกไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะในช่วงชีวิต 60 วัน ของยุงตัวเมียหนึ่งตัวจะมีลูกได้มากถึง 500 ตัว ดังนั้นจะสังเกตได้ว่าหากในพื้นที่ไหนมีคนเป็นไข้เลือดออก เชื้อจะระบาดอย่างหนักในพื้นที่นั้น ส่วนความรุนแรงขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสเด็งกี ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ แยกเป็นประเภทรุนแรง 2 สายพันธุ์และไม่รุนแรง 2 สายพันธุ์ แต่การที่จะระบุว่าผู้ป่วยรายใดได้รับเชื้อสายพันธุ์ใดนั้นต้องส่งตรวจเลือดที่กรมวิทย์ฯ และใช้เวลานานประมาณ 2 สัปดาห์จึงได้ผลเลือด ซึ่งอาจไม่ช่วยในการรักษาขณะนั้น
ระยะของโรคไข้เลือดออกมีทั้งหมด 3 ระยะ คือ
ระยะไข้ ซึ่งเป็นระยะไม่อันตราย สังเกตได้จากการมีไข้สูงลอย 2-7 วัน แม้จะเช็ดตัวและกินยาไข้ก็ไม่ลดลง นอกจากนี้จะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดกระบอกตา และคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย ในบางรายอาจจะมีผื่นตามตัวได้
ระยะช็อก ซึ่งจะมีอาการหลังไข้ลด 24- 48 ชั่วโมง ทั้งนี้การช็อกของผู้ที่เป็นไข้เลือดออกส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเลือดข้น คือความเข้นข้นของเลือดสูงมาก เลือดจึงมีความหนืด ไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ยาก ถ้าหากปล่อยไว้นานเกินไปอาจจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไตวาย ตับอักเสบ กินอาหารแล้วคลื่นไส้ อาเจียนตลอด หนักเข้าถึงขั้นที่อวัยวะต่างๆ ในร่างกายที่ขาดเลือดไปเลี้ยงไม่ทำงานและเสียเป็นจุดๆ จนต้องตัดทิ้ง ดังนั้นผู้ป่วยในระยะนี้ต้องเข้ารับการรักษาให้ทันท่วงทีในโรงพยาบาล เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ตามมา นอกจากนี้ยังมีภาวะช็อกจากอาการเลือดออก เพราะผู้ป่วยที่เป็นไข้เลอดออกเกล็ดเลือดจะต่ำ ทำให้เลือดออกง่าย บางคนมีเลือดปนออกมาในขณะอาเจียน เมื่อเลือดออกเรื่อยๆ ก็จะเกิดอาการช็อกจากการขาดเลือด แต่บางคนอาจไม่มีอาการช็อกเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์รุนแรงหรือไม่รุนแรง และการเฝ้าระวังในระยะนี้เพียงพอหรือไม่
ระยะหาย เป็นระยะสุดท้ายของไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะเริ่มอยากอาหาร ปัสสาวะบ่อย เริ่มมีผื่นคัน และชีพจรเต้นช้าลง สำหรับการรักษาโรคไข้เลือดออกนั้นไม่มียาจำเพาะ แต่จะใช้วีธีรักษาตามอาการ เช่น ระยะไข้ให้กินยาลดไข้แล้วเช็ดตัวช่วย แต่หากมีไข้เกิน 3 วัน ควรไปพบแพทย์เพื่อเจาะเช็กผลเลือดและความดัน หากเก็ดเลือดต่ำกว่า 100,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ก็คาดการณ์ได้ว่าจะเป็นไข้เลือดออกชนิดรุนแรง เพราะในคนปกติจะมีเกล็ดเลือดประมาณ 150,000 – 400,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และมีความเข้มข้นของเลือดอยู่ที่ 36 – 40 g/dl ต้องเริ่มเฝ้าระวังอาการช็อกโดยด่วนหากอยู่ในระยะช็อกจะให้ดื่มเกลือแร่ เพราะเมื่อเกล็ดเลือดต่ำความสามารถในการห่อหุ้มน้ำเลือดของหลอดเลือดจะลดลง ทำให้น้ำเลือดไหลซึมออกมาได้ เป็นสาเหตุที่ทำให้ความเข้มข้นของเลือดสูง เมื่อกินเกลือแร่เข้าไปจะสามารถทดแทนน้ำเลือดที่ซึมออกไปได้ แต่หากเป็นระยะที่มีความผิดปกติมาก มีอาการช็อก หรือผู้ป่วยไม่สามารถทานเกลือแร่ได้ จะให้น้ำเกลือชนิดพิเศษสำหรับไข้เลือดออกโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะรั่วซึมออกช้าลง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออกได้ก็คือการดูแลไม่ให้โดยยุงกัด โดยเฉพาะยุ้งลาย เพราะเราไม่มีทางรู้ได้ว่ายุงตัวไหนจะมีหรือไม่มีเชื้อไวรัสเด็งกี การป้องกันไม่ให้ยุ้งกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด และที่สำคัญคือการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย ไม่ให้สามารถแพร่พันธุ์และแพร่เชื้อโรคได้ ฉะนั้นเมื่อเห็นน้ำขังตรงไหนต้องรีบจัดการทันที อย่างปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจจะนำไข้เลือดออกมาสู่ตัวเราได้แบบไม่ทันตั้งตัว