โภชนาการในผู้ป่วยมะเร็ง

“ผู้ป่วยมะเร็งมีความต้องการพลังงานและสารอาหารสำคัญ มากกว่าคนปกติเพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์  ซึ่งผู้ป่วยมักประสบปัญหาที่ทำให้การรับประทานอาหารพร่องลงไป ดังนั้นการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาด้านโภชนาการจะส่งผลต่อความสำเร็จในการรักษาตามเป้าหมาย”

พลังงาน

ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้พลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป พลังงานที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยขึ้นอยู่กับน้ำหนักและภาวะอาการที่ผู้ป่วยเป็นในขณะนั้น หากจะกล่าวโดยรวม ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1600-2000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารหลักหมวดต่างๆ เพื่อให้ได้สารอาหาร ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยมีการกระจายสัดส่วนที่เหมาะสม

โปรตีน

ผู้ป่วยมีความต้องการโปรตีนที่สูงขึ้น ดังนั้นจึงควรรับประทานโปรตีนทั้งจากพืชและเนื้อสัตว์เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วน โดยเลือกรับประทานเนื้ออกไก่ ไข่ ปลา ฯลฯ ในปริมาณที่เพียงพอ และเหมาะสม

ข้อปฏิบัติด้านโภชนาการของผู้ป่วยมะเร็ง ขณะรักษาด้วยยาเคมี ฉายแสง หรือผ่าตัด

1. เบื่ออาหาร

เลือกอาหารที่ผู้ป่วยพอรับประทานได้ กลิ่นและรสไม่จัด ควรจัดอาหารเป็นมื้อย่อยๆ หลายๆ มื้อ (4-6 มื้อต่อวัน) หรือเสริมขนมที่รับประทานได้ง่าย เช่น ไอศกรีม ขนาต่างๆ เป็นอาหารว่าง ใช้เครื่องดื่มเสริมพลังงานและมีโปรตีนสูง เช่น นม หรืออาหารทางการแพทย์

2. คลื่นไส้อาเจียน

รับประทานอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุนหรือรสเผ็ดร้อน และเลือกรับประทานอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนาดปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน ควรนั่งยกศีรษะหรือพิงพนักสบายๆ จิบนำ้สะอาดหรอืเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ 

3.การรับรสเปลี่ยน

กลั้วปากด้วยน้ำสะอาดก่อนรับประทานอาหาร ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วหรือพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว อาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อยเพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไป การอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมิ้นต์เพื่อช่วยกระตุ้นการรับรส

4. ปากแห้งมีแผลในช่องปาก

รับประทานอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว รับประทานอาหารเย็น ไม่ร้อนจัด และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่มีกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม รวมไปถึงควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร

5. ท้องเสีย

ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ ดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง ลดหรืองดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เนย ถั่ว ผักดิบ

6. เม็ดเลือดขาวต่ำ

การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ทำให้่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร ควรเลือกรับระทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ระวังผักผลไม้ที่ทานทั้งเปลือก มีรอยช้ำมีเชื้อรา งดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนข้ามของเชื้อจุลินทรีย์

7. น้ำหนักลด

รับประทานอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลายๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากนำ้หนักลดลงมาก จากต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม

8.ท้องผูก

แนะนำการรับประทานอหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง ดื่มน้ำสะอาด 8-10 แก้ว ต่อวัน

งานโภชนาการ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์