การดูแลสุขอนามัยส่วนตัวและสุขอนามัยของคนใกล้ตัว หากออกนอกบ้าน
จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ในช่วงนี้ ถือเป็นช่วงเวลาแห่งการระมัดระวังตัวทั้งการดูแลสุขอนามัยส่วนตัวและสุขอนามัยของคนใกล้ตัว หากออกนอกบ้าน หรือจำเป็นต้องสัมผัสจุดเสี่ยงในที่สาธารณะต่าง ๆ อย่าลืมล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือสบู่และน้ำทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
หลายๆ คนเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ คงตกใจหวาดกลัวกัน อยากจะช่วยให้แนวคิดเพื่อให้สบายใจกันขึ้นครับ … บทความโดย ศ.นพ.นิธิ มหานนท์
หลายๆ คนเห็นตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายวันค่อยๆ เพิ่มขึ้นๆ คงตกใจหวาดกลัวกัน อยากจะช่วยให้แนวคิดเพื่อให้สบายใจกันขึ้นครับว่า ตัวเลขแบบนี้ถ้าใครติดตามผม คงพอมองเห็นว่าไม่ได้เกินความคาดหมาย แต่ที่สำคัญ ระบบสาธารณสุขเรายังรับได้สบายๆครับ ไม่ต้องจิตตกกังวลกันนัก เดี๋ยวผมจะบอกก่อนจบว่า จริงๆแล้ว ทุกคนควรทำอย่างไรที่ดีกว่าการวิตกกังวลและบ่นกันไปโดยไม่ได้ผลอะไร ทุกอย่างที่เห็นตอนนี้มีเหตุและผลอธิบายได้ทั้งสิ้น ไม่มีใครผิด ไม่มีใครพลาด ทำใจสบายๆ ครับ ย้ำอีกหนว่า ระบบสาธารณสุขของเรายังรับมือได้สบายๆ ยิ่งตอนนี้ได้ข่าวว่าจะมีภาคเอกชนและอาสาสมัครเข้ามาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง หน่วยราชการที่สำคัญโดยตรงไม่ว่า กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีมหาวิทยาลัยโรงเรียนแพทย์ระดับโลกอยู่หลายแห่ง ร่วมมือกันขนาดนี้ โควิดก็โควิดเถอะครับ ผมว่ารวมกับน้ำใจคนไทยแล้ว เราผ่านไปได้สบายมาก รัฐบาลก็เข้าใจ ทำให้การจัดหาวัคซีนมาเพิ่มทำได้ค่อนข้างไม่ยากนักแล้ว การให้ข้อมูลความจริงต่างๆ ก็เริ่มดีขึ้น ไม่มีนักวิชาการแปลกๆ มาให้ข่าวทำให้คนสับสน ถึงมี ก็มีคนออกมาแก้ได้ทันที เหลืออีกนิดหน่อยคือ แผนการกระจายและให้วัคซีน กับยาต้านไวรัสที่ยังไม่ชัดเจนนัก แต่ก็พอรู้ว่ากำลังปรับกันอยู่ ผมคาดว่าภายในสิ้นเดือนนี้หากตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ไม่ลดลง(แนะนำทุกๆคนอย่าดูตัวเลขรายวันครับ ดูเฉลี่ยเจ็ดวันจะดีสุด เพราะการรายงานทุกวัน มีปัจจัยมากที่ทำให้มันแกว่งได้) รัฐบาลคงมีมาตรการมาเพิ่มเติมในพื้นที่ที่ควบคุมไม่ได้ เพื่อรอผลวัคซีน (ซึ่งก็ไม่เห็นผลทันทีนะครับ เป็นเดือนกว่าจะเห็นผล) และมาตรการเพิ่มนั้นเมื่อทำแล้วก็จะยังไม่เห็นผลทันที ดังนั้น ขณะนี้ทุกคนควร 1)ป้องกันตัวเองเต็มสุดความสามารถ ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา […]
ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เสี่ยงเป็น โรคปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส”โครานา”สายพันธุ์ใหม่ หากท่านมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อย ภายใน 14 วัน หลังกลับมาจากเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ท่านควรพบแพทย์และขอคำแนะนำด้านสุขภาพ เพราะท่านอาจได้รับเชื้อ “ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Coronavirus: CoV)” และเสี่ยงเป็น “โรคปอดอักเสบ” ก่อนเดินทางมายังประเทศไทย โรคปอดอักเสบ คืออะไร ปอดอักเสบ (pneumonia) ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบได้ทั้งการติดเชื้อ ไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ทำให้เกิดการอักเสบของถุงลมปอด และเนื้อเยื่อโดยรอบ โดยมีอาการสำคัญ ได้แก่ มีไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ และอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับอายุและโรคประจำตัว มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้มีมาตรการเฝ้าระวังคัดกรอง และป้องกันควบคุมโรค ปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนา ดังนี้ 1) คัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศใน 4 ท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ […]
โควิด-19 จากสัตว์สู่คนได้อย่างไร
เชื้อไวรัสโคโรนา (Coronaviruses: CoV) เป็นเชื้อไวรัสในกลุ่มอาร์เอนเอไวรัส (RNA viruses) ลักษณะพิเศษของเชื้อกลุ่มนี้คือมีโปรตีนเป็นตุ่มหนาม (spike protein) อยู่รอบชั้นไขมันที่หุ้มห่ออยู่ (lipid envelope) ทำให้ดูคล้ายมงกุฏ (crown) หรือกลดของพระอาทิตย์ (corona) การติดเชื้อไวรัสโคโรนาพบได้ทั่วไปทั้งในมนุษย์และสัตว์ เชื้อไวรัสโคโรนาบางชนิดสามารถติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ได้และก่อให้เกิดอาการหลากหลาย ตั้งแต่อาการที่คล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ ไปจนถึงโรคระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง เช่น กลุ่มอาการระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันในประเทศตะวันออกกลาง (Middle East respiratory syndrome coronavirus: MERS-CoV) โรคซาร์สหรือโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS-CoV) เป็นต้น จากการสอบสวนโรคทั้งสองพบว่า มนุษย์ได้รับเชื้อ SARS-CoV จากสัตว์ป่าในวงศ์ชะมดและอีเห็น (civets) และ MERS-CoV จากอูฐ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 พบผู้ป่วยด้วยอาการปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑล หูเป่ย์ (Hubei) ประเทศจีน ซึ่งต่อมารัฐบาลจีนได้ออกประกาศแถลงสาเหตุของอาการดังกล่าวว่ามาจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 […]
แนวทางการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19
สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข การใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (Personal protective equipment) แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลทั้ง 4 ชิ้น คือ เสื้อคลุมแขนยาวรัดข้อมือ กรณีเสื้อคลุมทำจากผ้าสามารถใช้เสื้อ หน้ากากกรองอากาศ (surgical mask) หรือหน้ากากกรองอนุภาค เช่น N95, N100 ขึ้นอยู่กับ อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย หรือหัตถการ/กิจกรรมการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย แว่นป้องกันตา หรือ กระจังกันใบหน้า ถุงมือ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่แนะนำให้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเป็นมูลฝอยติดเชื้อ ได้แก่ ถุงมือและหน้ากากปิดปาก จมูกชนิดต่าง ๆ ส่วนที่ใช้แล้วสามารถมาทำความสะอาดก่อนใช้ใหม่ ได้แก่ แว่นป้องกันตา/กระจังหน้า เสื้อคลุมแขนยาวรัดข้อมือชนิดทำด้วยผ้า สำหรับการดูแลผู้ป่วยหลายคนใน cohort ward ต้องเปลี่ยนถุงมือทิ้งเป็นมูลฝอยติดเชื้อ ล้างมือ และสวมถุงมือคู่ใหม่ก่อนจะไปดูแลผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง ส่วนอุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคลชิ้นอื่นพิจารณาตามความเหมาะสมของการปนเปื้อน หรือลักษณะการสัมผัสหรือการดูแลผู้ป่วย หรือลักษณะของการสัมผัส การดูแลผู้ป่วย เช่น มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งผู้ป่วย ควรเปลี่ยน PPE ใหม่ทั้งชุด ข้อแนะนำการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล (PPE) […]
แนวทางการปฏิบัติตนของบุคลากรทางการแพทย์ในสถานการณ์ COVID-19
แนวทางการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกายส่วนบุคคล เมื่อต้องดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 การเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์