บทความสุขภาพ

การแพทย์บูรณาการ

ดูทั้งหมด

ธาตุเจ้าเรือนกับการดูแลสุขภาพตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย

ศาสตร์การแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงร่างกายมนุษย์ จะประกอบไปด้วยธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแต่ละคนจะมีธาตุประจำตัวของคนเราที่มีติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด เรียกว่า “ธาตุเจ้าเรือน” ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม และมูลเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมของบุคคลนั้น หากธาตุเหล่านี้สมดุลกันร่างกายคนเราก็จะแข็งแรง หากธาตุทั้ง 4 ในร่างกายเสียสมดุล จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา ธาตุเจ้าเรือน สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ธาตุเจ้าเรือนที่เป็นไปตามวัน เดือน ปีเกิด ธาตุเจ้าเรือนปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากธาตุเจ้าเรือนเดิมที่ติดตัวมา ตามสภาพแวดล้อมและปัจจัยในการใช้ชีวิตต่าง ๆ ทั้งอายุ ที่อยู่ ฤดูกาลที่กระทบทำให้เปลี่ยนแปลงไป จึงสามารถพิจารณาธาตุเจ้าเรือนปัจจุบันจากบุคลิก ลักษณะอุปนิสัย ธาตุเจ้าเรือนทางการแพทย์แผนไทย แบ่งเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ โดยมีลักษณะทั่วไปและสภาวะสุขภาพที่แตกต่างกัน  ซึ่งหากปรับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพและเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเน้นเลือกรับประทานอาหารถูกรสกับธาตุตามแต่ละธาตุเจ้าเรือน จะช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย และทำให้สุขภาพแข็งแรงมากขึ้น ดังต่อไปนี้ ธาตุดิน (เกิดเดือนตุลาคม – ธันวาคม) ลักษณะทั่วไปของผู้ที่อยู่ในธาตุดิน : รูปร่างสูงใหญ่ กล้ามเนื้อข้อต่อแข็งแรง […]

การแพทย์แผนไทยประยุกต์

การแพทย์แผนไทย (Thai Traditional Medicine) เป็นวิถีการดูแลสุขภาพตามความรู้หรือตำราที่ถ่ายทอดและพัฒนาสืบต่อมา มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งด้านการตรวจโรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกันโรค การส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ โดยปัจจุบันมีการพัฒนานำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และ วิทยาศาสตร์การแพทย์มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการแพทย์แผนไทย ที่เรียกว่า “การแพทย์แผนไทยประยุกต์” หัตถการเพื่อรักษาและฟื้นฟูสุขภาพ ได้แก่ นวดกดจุดรักษาโรค กลุ่มอาการที่สามารถรักษาด้วยการนวดกดจุดรักษาโรค ได้แก่ กลุ่มอาการปวดบริเวณต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ปวดคอบ่าไหล่ ปวดหลัง สะโพก แขน ขา กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง ข้อติด ข้อเสื่อม เหน็บชา ตะคริวน่อง ยอก ข้อพลิก ข้อแพลงและอื่นๆ อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมถึงอัมพาตใบหน้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรงอื่นๆ ปวดศีรษะไมเกรน หรือลมปะกัง ท้องผูก มีเถาดาน ปรับสมดุลร่างกาย โรคโลหิตสตรี เช่น อาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน มดลูกด่ำ  มดลูกลอย มดลูกเคลื่อน มดลูกตะแคง ฟื้นฟูมารดาหลังคลอด และนวดกระตุ้นน้ำนม ห้ามนวด ในกรณีต่อไปนี้ […]

กุมารเวชกรรม

ดูทั้งหมด

มาแปรงฟันกันเถอะ

ฟันผุ เป็นปัญหาสุขภาพฟันที่พบได้บ่อยมากในเด็ก อาจเริ่มมีฟันผุที่บริเวณผิวฟัน ลึกลงไปยังเนื้อเยื่อไปจนถึงโพรงประสาทฟัน อาจรุนแรงถึงขั้นมีอาการปวดบวม และมีหนองร่วมด้วย แนะนำควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน คือ ช่วงเช้า และก่อนเข้านอน ครั้งละ 2 นาที เพื่อสุขอนามัย ความสะอาดในช่องปาก ขจัดคราบจุลินทรีย์ออกจากฟัน และเพื่อป้องกันฟันผุ ดังนั้น ยาสีฟันที่เลือกใช้ ควรจะต้องมีส่วนผสมของฟลูออไรด์ โดยแนะนำให้ใช้ที่ความเข้มข้น 1,000-1,500 ppm ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ การเลือกยาสีฟันและใช้ยาสีฟันเยอะแค่ไหน -เลือกยาสีฟันสำหรับเด็ก ต้องมี “ฟลูออไรด์” -บีบยาสีฟันสำหรับเด็ก ปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัย       -ฟันซี่แรก ตอนอายุ 3 ขวบ ใช้ยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวสาร       -อายุ 3 – 6 ขวบ ใช้ยาสีฟันเท่าเมล็ดข้าวโพด       -อายุ 6 ขวบขึ้นไป บีบตามความยาวของแปรง

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย

ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย คือ ภาวะที่เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่เร็วกว่าปกติ สังเกตได้อย่างไรว่ามีภาวะหนุ่มสาวก่อนวัย? เด็กหญิง มีเต้านมขึ้นก่อนอายุ 8 ปี มีตกขาวหรือประจำเดือนก่อนอายุ 9 ปีครึ่ง เด็กชาย มีการขยายตัวของอัณฑะหรือองคชาติ ก่อนอายุ 9 ปี มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ รักแร้ มีสิว มีกลิ่นตัว ตัวสูงเร็วกว่าเพื่อน ผลเสียของภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย ปัญหาทางด้านร่างกาย: กระดูกปิดเร็วและหยุดสูงเร็ว ทำให้ความสูงสุดท้ายเตี้ยกว่าศักยภาพทางพันธุกรรม ปัญหาในการดูแลตัวเองเมื่อมีประจำเดือน ผลกระทบต่อจิตใจ: อาจจะรู้สึกอับอาย ถูกเพื่อนล้อ แนวทางการวินิจฉัยของแพทย์ ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และประเมินอัตราการเพิ่มความสูง เอกซเรย์ เพื่อประเมินอายุกระดูก ตรวจเลือดวัดระดับฮอร์โมนในร่างกาย ตรวจอัลตราซาวนด์มดลูกและรังไข่ (ในรายที่จำเป็น) ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สมองและต่อมใต้สมอง (ในรายที่จำเป็น) การรักษาภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย สามารถรักษาได้โดยการฉีดยายับยั้งการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง เพื่อชะลอการเข้าสู่วัยสาว ทำให้การเจริญเติบโตเหมาะสมตามวัย สรุป ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของร่างกายบุตรหลาน หากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษากุมารแพทย์ เพื่อรับการตรวจรักษา เพื่อให้บุตรหลานเติบโตอย่างเหมาะสมตามวัย

พาเด็กไปโรงพยาบาลอย่างไร ไม่ให้กลัวหมอ

การตรวจสุขภาพเด็ก วัยเด็กเป็นช่วงเวลาการเจริญเติบโตและพัฒนาที่เร็วของร่างกายและจิตใจ การตรวจสุขภาพที่ถูกต้องช่วยให้สามารถตรวจจับและประเมินสภาพร่างกาย พัฒนาการ สภาพจิตใจ และพฤติกรรมของเด็ก ประเมินภาวะพัฒนาการของเด็ก การรับวัคซีนช่วยป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเด็ก และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับเด็กเพื่อป้องกันการติดเชื้อ  การตรวจสุขภาพในเด็กควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง แต่หากเด็กมีปัญหาสุขภาพหรือมีอาการผิดปกติ ควรนำเด็กไปตรวจสุขภาพที่แพทย์อย่างเร่งด่วน   

ตรวจสุขภาพ

ดูทั้งหมด

“ยา”กับการเดินทาง

ก่อนการเดินทาง เตรียมยาอย่างไร สำหรับการเดินทางภายในประเทศด้วยรถยนต์จะไม่มีปัญหา ยกเว้นการเดินทางโดยสารเครื่องบิน โดยการพกยาที่เป็นของเหลว ต้องเป็นไปตามระเบียบการบิน หรือสามารถโหลดใต้เครื่องได้ สำหรับการเดินทางต่างประเทศ นักท่องเที่ยวอาจจำเป็นต้องเตรียมยาสำหรับการเจ็บป่วยเฉียบพลันหรือยาสำหรับโรคประจำตัวของตัวเอง ซึ่งแต่ละประเทศจะมีระเบียบและข้อจำกัดสำหรับการนำยาเข้าประเทศ เช่นห้ามนำยาที่สารเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ได้แก่ อนุพันธ์ของแอมเฟตามีนหรือยาบ้า หรือสารเสพติดบางอย่าง, ยาจิตเวชบางชนิด หรือกัญชาและส่วนประกอบภายในอาหาร เป็นต้น ดังนั้นต้องเช็คกฏระเบียบของแต่ละประเทศก่อนการเดินทางเสมอ แต่สิ่งที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงระหว่างการโดยสารในเครื่องบิน คือ อาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ทำให้เกิดการมึนเมา , กัญชาหรือส่วนประกอบกัญชาภายในอาหาร อาจส่งผลทำให้มึนงง เวียนศีรษะหรือคลื่นไส้อาเจียนได้ และอาจหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น น้ำอัดลม โซดา เพราะอาจทำให้เกิดภาวะท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องได้ คำถามที่ 2 เดินทางช่วงปีใหม่ ควรพกยาอะไรติดตัวไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางภายในหรือภายนอกประเทศ ยาที่แนะนำให้เตรียมไปคือยาสำหรับโรคประจำตัวและยาบรรเทาอาการทั่วไป ยาสำหรับโรคประจำตัว นำไปให้เพียงพอสำหรับการเดินทางเพราะยาบางอย่างไม่มีตามร้านขายยาและต้องจ่ายโดยแพทย์ในโรงพยาบาลเท่านั้น สิ่งที่ต้องเน้นย้ำคือ เก็บรักษายาให้อยู่ในสภาพเดิมให้ได้มากที่สุดเช่นมีชื่อยา ฉลากยา รวมถึงขนาดยาและวิธีการกินยาอย่างชัดเจน หากมีโรคเรื้อรังและต้องกินยาเฉพาะโรค นักท่องเที่ยวควรขอบันทึกการรักษารวมถึงชื่อยาทุกชนิดที่จ่ายจากแพทย์ และเก็บเอกสารไว้ติดตัวตลอดการเดินทาง หากขณะเดินทางแล้วมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้ยื่นเอกสารเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วยรวมถึงยากับแพทย์ที่ทำการรักษา และถ้าเดินทางไปต่างประเทศ เอกสารควรเป็นภาษาอังกฤษ หากยาที่ติดตัวเป็นสารหรือส่วนประกอบที่ต้องห้าม หรือเป็นเข็มฉีดยาเช่น Insulin หรือยาฉีดเมื่อมีอาการแพ้ฉุกเฉินอย่าง EpiPen นักท่องเที่ยวต้องขอเอกสารถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ยา […]

การเตรียมตัวก่อนเดินทาง

สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อนการเดินทาง 1. ตรวจสุขภาพก่อนการเดินทางหรือตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาภาวะเจ็บป่วยที่ซ่อนอยู่ คงไม่มีใครอยากป่วยในขณะท่องเที่ยว ดังนั้นการประเมินสุขภาพทั่วไปโดยแพทย์จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักท่องเที่ยวสูงอายุ, มีโรคประจำตัว, เด็กเล็กหรือหญิงตั้งครรภ์เป็นต้น 2. โรคติดเชื้อประจำถิ่น แต่ละพื้นที่ของโลกจะมีโรคประจำถิ่นซึ่งแตกต่างจากบ้านเรา อาทิ ไวรัสไข้เหลือง, มาลาเรียหรือโรคติดเชื้อเฉพาะจากสัตว์หรือแมลงประจำถิ่น หากนักท่องเที่ยวเดินทางไปพื้นที่ที่ไม่คุ้นเคย, ชนบท หรือป่าดิบชื้น แนะนำพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนการเดินทาง 3. วัคซีนสำหรับการเดินทาง โรคประจำถิ่นบางโรคมีวัคซีนโดยเฉพาะและต้องฉีดก่อนการเดินทาง เช่นโรคไข้เหลืองหรือไข้กาฬหลังแอ่น หรือนักท่องเที่ยวสามารถฉีดวัคซีนทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อหรือติดเชื้อรุนแรงระหว่างการเดินทาง เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่, โควิด-19, ไวรัสตับอักเสบเอหรือบี, อีสุกอีใสหรือหัด, หัดเยอรมันและคางทูม เป็นต้น 4. ยาสำหรับการเดินทาง ได้แก่ยาสำหรับโรคประจำตัวและยาบรรเทาอาการทั่วไป ควรเตรียมให้เพียงพอและควรพกติดตัวขึ้นเครื่องไว้บางส่วน หากไม่มั่นใจว่ายาที่พกติดตัวไปสามารถนำไปต่างประเทศได้หรือไม่ ควรตรวจสอบก่อนการเดินทาง นอกจากนี้หากเดินทางไปพื้นที่ที่มีโรคมาลาเรียเป็นโรคประจำถิ่น นักท่องเที่ยวอาจต้องปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาสำหรับป้องกันมาลาเรีย 5. ประวัติการรักษา สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาโรคประจำตัวต่อเนื่อง ควรขอประวัติการรักษาของตนเองและยาที่รับประทานจากแพทย์ประจำตัว และพกติดตัวตลอดการเดินทาง กรณีเจ็บป่วยระหว่างเดินทาง สามารถยื่นกับแพทย์ที่รักษาได้ และควรเป็นภาษาอังกฤษ หากเดินทางไปต่างประเทศ 6. ประกันการเดินทาง หากมีภาวะเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ สามารถใช้ประกันการเดินทางได้ การเดินทางบางประเภทอาจต้องใช้ประกันการเดินทางแบบเฉพาะเจาะจงเช่น การเดินทางไปพื้นที่สูง อาจต้องมีประกันการเดินทางครอบคลุมการขนส่งคนเจ็บกรณีมีการเจ็บป่วยบริเวณยอดเขา […]

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคทุกวัย ด้วยวัคซีน

เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันโรคสำหรับทุกวัย ด้วยวัคซีน ทางเลือกเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รายละเอียดวัคซีน โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มีดังนี้ ปรึกษาแพทย์ถึงข้อบ่งชี้และขั้นตอนการฉีดวัคซีนแต่ละเข็ม ได้ที่ ตรวจสุขภาพ อาคารข้าราชบริพาร โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ติดต่อนัดหมาย โทร 02 576 6153, 02 576 6156

ทางเดินอาหารและตับ

ดูทั้งหมด

ทางเดินอาหารหรือระบบย่อยอาหาร ทำงานอย่างไร ?

การทำงานอย่างมีสปิริตของระบบในร่างกายเราตั้งแต่ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก เรามาทำความรู้จักกับระบบย่อยอาหารว่ามีอวัยวะส่วนใดบ้างที่มีความเกี่ยวข้อง ปาก ประกอบไปด้วย ริมฝีปาก มีฟันทำหน้าที่ตัดบดเคี้ยวอาหารให้มีขนาดเล็กลง หรือละเอียด มีลิ้นทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารร่วมกับน้ำลาย ให้อาหารที่รับประทานไปอ่อนนุ่ม และในน้ำลายจะมีเอนไซม์ที่ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต ตอนที่เรากลืนอาหารส่งต่อไปยังคอหอย ผ่านไปสู่หลอดอาหาร 2. หลอดอาหาร มีลักษณะเป็นท่องผนังซึ่งประกอบด้วย กล้ามเนื้อที่หดและคลายตัวเพื่อรับส่งก้อนอาหารจากปากส่งต่อไปยังกระเพาะอาหาร 3. กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุงรูปตัวเจ รับอาหารต่อมาจากหลอดอาหารและมีหูรูดที่ส่วนต่อกับหลอดอาหารทำให้อาหารไม่สามารถย้อนกลับทางเดิมได้ ส่วนประกอบของกระเพาะอาหาร กล้ามเนื้อผนังด้านในขรุขระ มีกรดและเอนไซม์สำหรับย่อยโปรตีน เมื่อผ่านการย่อยให้เป็นของเหลวข้นในกระเพาะอาหาร ส่วนปลายของกระเพาะอาหารจะกับลำไส้เล็กและมีหูรูดที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของอาหาร จากกระเพาะหารไปต่อไปยังลำไส้เล็ก การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อที่ผนัง นอกจากจะทำให้อาหารมีขนาดเล็กลงและคลุกเคล้ากับกรอดและเอนไซม์ได้ดีแล้วยังมีส่วนช่วยในการดันให้อาหารผ่านหูรูดไปยังลำไส้เล็กต่อไปได้อีก 4. ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะที่ต่อจากกระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง เป็นอวัยวะสุดท้ายในทางเดินอาหารที่มีกระบวนการย่อยอาหาร เมื่ออาหารเคลื่อนที่ผ่านลำไส้เล็กจะมีเอนไซม์จากลำไส้เล็กมาย่อยดปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โดยจะทำงานร่วมกันกับน้ำดีจากตับและเอนไซม์จากตับอ่อน ซึ่งการย่อยอาหารจะเสร็จสิ้นที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่สำคัญในการดูดซึมสารอาหารทุกประเภทอีกด้วย ทั้งโปรตีนคาร์ไบไฮเดรต ไขมัน น้ำ รวมทั้งเกลือแร่และวิตามินที่ละลายออกมาจากอาหาร ทั้งหมดจะถูดดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองบริเวณผนังด้านในของลำไส้เล็ก ซึ่งมีลักษณะยื่นออกมาคล้ายนิ้วมือขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก 5. […]

อร่อยปาก ลำบากท้อง อาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบโรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อน

อร่อยปาก ลำบากท้อง อาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบโรคยอดฮิตในช่วงฤดูร้อนโรคอาหารเป็นพิษเป็นอาการป่วยที่เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรืออาหารที่สารพิษโดยตรง สาเหตุของอาหารเป็นพิษได้บ่อยครั้งได้แก่• สารพิษของแบคทีเรีย ที่เจริญเติบโตในอาหารก่อนการบริโภค• จากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือ พยาธิ• สารพิษจากเห็ดพิษ สาหร่ายบางสายพันธุ์ หรือพิษปลาปักเป้า การระบาดของโรคอาหารเป็นพิษ พบได้จากการรับประทานเพียงคนเดียว หรือพบได้ในการกรณีที่คนจำนวนมากรับประทานอาหารร่วมกัน ส่วนใหญ่จะมีอาการอย่างรวดเร็ว การให้ประวัติอย่างละเอียดและทันท่วงที เป็นส่วนสำคัญในการสอบสวนและให้การวินิจฉัยโรค ในบางโรคที่เกี่ยวข้องสารพิษบางชนิด เช่น botulism จะมีอาการทางคลินิกที่เด่นชัดและจำเพาะ โรคอาหารเป็นพิษอาจจะเป็นสาเหตุที่พบบ่อยมากในการป่วยเฉียบพลัน โดยส่วนใหญ่จะมีลักษณะและรายละเอียดดังนี้ อาการ• อาจจะมีไข้ ปวดศรีษะ ปวดมวนท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเป็นน้ำ อาจมีมูกเลือดปนในกลุ่มอาการรุนแรง ส่วนใหญ่มีอาการภายหลังรับประทานอาหารทะเล ที่ปรุงไม่สุกพอ อาหารที่ปนเปื้อน หรืออาหารเก่าที่มีการถนอมอาหารไม่เหมาะสม การรักษา• ดื่มน้ำและน้ำเกลือแร่ (ORS) ให้เพียงพอเพื่อประคับประคองและชดเชยการสูญเสียน้ำและเกลือแร่• รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด ทานอาหารอ่อน เน้นย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด นม ผลไม้ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบหรือปรุงไม่สุก• สังเกตอาการและอุจจาระ หากอาการไม่ดีขึ้น มีอาการท้องร่วงรุนแรง […]

ผิวหนังและเลเซอร์

ดูทั้งหมด

5 วิธีฟื้นฟู ผิวไหม้แดด

ข้อแนะนำเบื้องต้นในการฟื้นบำรุงผิวจากอาการผิวไหม้แดด ด้วย 5 เคล็ดลับดี ๆ ดังนี้ 1. ทาครีมบำรุงผิว  2. ใช้หมวกหรือร่ม เมื่อต้องโดนแดดช่วงกลางวัน 3. ทาครีมกันแดดเป็นประจำ  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 5.หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง ช่วงเวลา 9.00 – 16.00 น. นอกจากปัญหาอากาศร้อนแล้ว ฝุ่น PM 2.5 ก็สามารถส่งผลต่อระบบผิวหนังได้ โดย PM 2.5 อาจทำให้เกิดผื่นแพ้ผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็ก หรือผู้ป่วยที่มีโรคผิวหนังอยู่แล้ว เช่น โรคผื่นแพ้สัมผัส ผิวแห้ง โรคสะเก็ดเงิน อาการทางผิวหนังที่ควรพบแพทย์ ภาวะผื่นแดง หากเกิดจากการโดนแดดหรืออากาศร้อน โดยส่วนใหญ่มักหายได้เอง โดยผู้ป่วยจะมีอาการผื่นแดงชั่วคราว 1 – 2 ชั่วโมง แต่หากหลังจากเผชิญอากาศร้อนๆ แดดแรงๆ แล้วเกิดอาการแสบไหม้ ยังคงอยู่ข้ามวัน ควรมาพบแพทย์ วิธีการป้องกันผิวหนังจากอากาศร้อน + PM 2.5 […]

มะเร็งวิทยา

ดูทั้งหมด

ศัลยกรรม

ดูทั้งหมด

ปวดหัว ตามัว อาเจียน ระวัง!สัญญาณเนื้องอกในสมอง

เนื้องอกในสมองเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน มีส่วนน้อยที่เกิดจากพันธุกรรม หรือเคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะ แต่ในส่วนของปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งอาหารและพฤติกรรมการใช้ชีวิตยังไม่พบว่าเป็นสาเหตุของโรคเนื้องอกในสมอง เนื้องอกในสมองที่พบบ่อยแบ่งออกเป็น 5 ชนิดได้แก่ 1. เนื้องอกที่เกิดจากเนื้อสมอง 2. เนื้องอกที่เกิดจากเยื่อหุ้มสมอง 3. เนื้องอกที่เกิดจากเส้นประสาทหู 4. เนื้องอกที่เกิดจากต่อมใต้สมอง 5. มะเร็งของอวัยวะอื่นที่ลุกลามมาที่สมอง สมองทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเกือบทุกหน้าที่ของร่างกาย ดังนั้นอาการของเนื้องอกสมองจึงมีได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกสมองนั้นเกิดขึ้นในส่วนของสมองที่ควบคุมการทำหน้าที่ของระบบใดในร่างกาย ซึ่งอาการที่พบบ่อย มีดังนี้ปวดศีรษะ อาเจียน ชักตามัว ตาเหล่ เห็นภาพซ้อนแขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก เดินเซพูด ฟัง อ่าน เขียน ผิดปกติหูหนวก 1 ข้างความคิดช้าลงบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง สามารถตรวจวินิจฉัยเนื้องอกสมองด้วยเครือ่งมือทางรังสีวินิยฉัย เช่น CT Scan brain และ MRI brain หรืออาจมีการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมตามการพิจารณาของแพทย์ การรักษาเนื้องอกในสมองมี 4 วิธีคือ 1. การผ่าตัดเนื้องอก 2. การฉายแสง 3. การให้ยาเคมีบำบัด ยาพุ่งเป้า […]

นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones)

ถุงน้ำดีคืออะไร? ถุงน้ำดี (Gallbladder) คือ อวัยวะที่มีลักษณะเป็นถุงรูปทรงรี ตั้งอยู่บริเวณใต้ต่อตับ มีท่อขนาดเล็กเชื่อมเข้ากับท่อน้ำดีหลักของร่างกาย ถุงน้ำดีทำหน้าที่กักเก็บน้ำดีที่ผลิตจากตับ เมื่ออาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กจะไปกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัว เพื่อขับน้ำดีให้ไหลออกสู่ท่อทางเดินน้ำดีหลักที่เปิดออกสู่ลำไส้เล็ก ทำให้ไขมันในอาหารแตกตัว เพื่อย่อยและดูดซึมต่อไป โรคนิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) คืออะไร? น้ำดีปกติมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ คอเลสเตอรอล, ตะกอนสีน้ำดี (bile pigment) และแคลเซียม เมื่อมีความไม่สมดุลของส่วนประกอบเหล่านี้ในถุงน้ำดี จะกระตุ้นให้น้ำดีตกตะกอนเป็นผลึก กลายเป็นนิ่วในถุงน้ำดี สามารถเกิดได้ทั้งนิ่วขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็กหลายๆก้อนก็ได้ นิ่วในถุงน้ำดี มี 2 ชนิดหลัก ได้แก่ นิ่วคอเลสเตอรอล (Cholesterol stone) และนิ่วตะกอนสีน้ำดี (Pigment stone) โดยอุบัติการณ์ของผู้ป่วยในประเทศฝั่งตะวันตกจะพบนิ่วชนิดคอเลสเตอรอลมากที่สุด กลับกันผู้ป่วยในประเทศฝั่งตะวันออกจะพบนิ่วชนิดตะกอนสีน้ำดีมากกว่า ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี 1.ภาวะอ้วน 2.เพศ เพศหญิงจะพบนิ่วในถุงน้ำดีมากกว่าเพศชายประมาณ 1.5 เท่า 3.อายุ ช่วงอายุที่พบมากอยู่ที่ประมาณ 40 – 60 ปี 4.กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5.การลดน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว 6.การบริโภคอาหารที่ไขมันสูง […]

สุขภาพสตรี

ดูทั้งหมด

HPV Pride Month” NO HPV NO LIMIT #ชีวิตไม่สะดุดถึงวันหยุดเอชพีวี

ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ร่วมสร้างความปลอดภัยห่างไกลมะเร็งที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วยการตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีนป้องกัน ฉีดวัคซีนเอชพีวี 9 สายพันธุ์ ราคา 6,125 บาทต่อเข็ม วัคซีนเอชพีวี 4 สายพันธุ์ ราคา 2,494 บาทต่อเข็ม ตรวจภายในและคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ราคา 840 บาท ตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสเอชพีวี ราคา 1,840 บาท และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร่วมกับตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี ราคา 2,440 บาท อัตราดังกล่าวไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล และค่าธรรมเนียมแพทย์นอกเวลา โดยผู้ที่สนใจสามารถนัดหมายเข้ารับบริการได้ที่ ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 9 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เปิดให้บริการทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-20.00 น. และเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. Add LINE นัดหมายผ่านทาง LINE Official @chulabhornhospital กดเมนู “ศูนย์การรักษา” เลือกศูนย์ “สุขภาพสตรี” และกดติดต่อนัดหมายการตรวจคัดกรองและการฉีดวัคซีนป้องกันเอชพีวี มาร่วมขบวนหยุดเชื้อเอชพีวีไปด้วยกัน […]

มะเร็งรังไข่ภัยเงียบที่สตรีควรระวัง

มะเร็งรังไข่ภัยเงียบที่สตรีควรระวังใครเสี่ยงบ้าง? สตรีวัยกลางคน วัยหมดประจำเดือน หรือผู้สูงอายุ สตรีที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก ภาวะอ้วน มีประวัติครอบครัว ญาติใกล้ชิด เป็นมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้หรือทางเดินอาหาร มีความผิดปกติของยีน โดยเฉพาะ BRCA1 / BRCA2 mutations เคยป่วยเป็นมะเร็งเต้านม มดลูก หรือลำไส้ใหญ่มาก่อน มีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สัมผัสสารเคมีต่าง ๆ เป็นประจำ เช่น แร่ใยหิน การใช้แป้งฝุ่นทาบริเวณอวัยวะเพศ สังเกตสัญญาณและอาการเตือน มะเร็งรังไข่มักไม่มีอาการเฉพาะเจาะจง ควรหมั่นสังเกตร่างกาย หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูกเรื้อรัง ปวดในอุ้งเชิงกราน หรือปวดท้อง ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือลำบาก แน่นท้อง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทาน ท้องโตขึ้นคลำได้ก้อนในช่องท้อง “มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบ อย่าเขินอายที่จะตรวจภายใน รู้ไวรักษาทัน สร้างเกราะป้องกันมะเร็งรังไข่” ศูนย์สุขภาพสตรี ชั้น 9 ศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์

หัวใจและหลอดเลือด

ดูทั้งหมด

หัวใจห้องบนสั่นพลิ้วอันตรายเกินคาดเสี่ยงสมองขาดเลือด

หัวใจห้องบนสั่นพลิ้วอันตรายเกินคาดเสี่ยงสมองขาดเลือดมากกว่า 70% ที่ไม่รู้ตัวและไม่ได้รับการรักษา โรคที่เกิดจากหัวใจห้องบนซ้ายเต้นผิดจังหวะเรียกว่า ภาวะหัวใจห้องบนสั่นระริก บางคนอาจเรียกว่าหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งทางการแพทย์เรียกสั้น ๆ ว่า AF โดยเป็นหนึ่งในโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่มีความน่ากลัว ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ แต่เป็นสาเหตุที่สำคัญของลิ่มเลือดอุดตันในสมองทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจากภาวะสมองขาดเลือด เพราะภาวะหัวใจห้องบนสั่นระริก จะทำให้เกิดลิ่มเลือดในหัวใจห้องบนซ้าย จากนั้นจะถูกส่งมาที่หัวใจห้องล่างซ้ายที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ดังนั้น ถ้าลิ่มเลือดนี้ออกไปอุดในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะอุดในสมองก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองขาดเลือดได้ และการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว Atrial Fibrillation (AF) อาการใจสั่นรัว ใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม นอนหลับไม่เพียงพอ ป่วยโรคเรื้อรัง : หลอดเลือดหัวใจตีบ เบาหวาน ความดัน นอนกรน ไตเรื้อรัง พฤติกรรมเสี่ยง : ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ น้ำหนักตัวมาก “AF เป็นภาวะที่ไม่มีอาการทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ตัว จะมีส่วนน้อยมากที่รู้ตัวเพราะมีอาการชัดเจน เช่น ใจสั่น เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม นอนหลับไม่เพียงพอ ส่วนคนที่ไม่รู้และไม่ได้คัดกรองก็จะไม่รู้ตัว […]

ออโธปิดิกส์

ดูทั้งหมด

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณเอว LUMBAR SPINAL STENOSIS

โรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบบริเวณเอว หรืออีกชื่อที่คนทั่วไปมักเรียกว่ากระดูกกหลังเสื่อมทับเส้นประสาท เป็นภาวะที่มักพบในผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปี โรคนี้เกิดจากความเสี่ยมของหมอนรองกระดูก (Intervertebral Disc) มีการฉีดขาดหรือความสูงลดลง และข้อต่อกระดูกหลัง (Facet) เกิดข้อเสื่อม หรือมีกระดูกงอกขึ้น ทำให้กระดูกหลังขาดความมั่นคงจึงเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง และนำมาซึ่งโพรงกระดูกหลังตีบแคบกดทับเส้นประสาท อาการของโรค ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการเฉพาะ (Neurogenic Claudication) คือปวดร้าวลงขา ความรู้สึกชา และหากเป็นมากอาจพบอาการอ่อนแรงกลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ โดยจะมีอาการมากขณะยืนเดินนาน ๆ  และอาการจะทุเลาเมื่อนั่งพักเอนตัวไปข้างหน้าหรือนอนพัก การวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยจากการซักประวัติตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางด้านรังสีวินิจฉัย โดยเครื่องตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI มีประโยชน์ และให้ความแม่นยำมากที่สุด ซึ่งจะช่วยในด้านการวางแผนการรักษา และผ่าตัด ภาพถ่ายเอกซเรย์ โรคกระดูกหลังเสื่อม การรักษา การรักษาเริ่มจากวิธีไม่ผ่าตัด ได้แก่ การฝึกกายภาพเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง การดึงหลัง และยา หากเมื่อผู้ป่วยอาการยังไม่ดีขึ้นจึงเป็นการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดเปิดระบายโพรงกระดูกสันหลัง การใส่โลหะดามกระดูกสันหลัง การใส่วัสดุเทียบทดแทนหมอนรองกระดูกสันหลัง โดยมีวิธีการผ่าตัดทั้งแบบเปิดแผลปกติ หรือเปิดแผลขนาดเล็ก ภาพถ่ายเอกซเรย์ หลังผ่าตัดเปิดระบายช่องไขสันหลังและใส่โลหะยึดดามกระดูกสันหลัง ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังเป็นเวลานาน มีอาการปวดร้าวลงขา อาการชา […]

โรคกระดูกพรุน Osteoporosis

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกมีมวลลดลง ส่งผลให้กระดูกมีความเปราะ บางมากขึ้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายมากขึ้น โรคกระดูกพรุนพบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังหมดประจำเดือนนั่นเอง โรคกระดูกพรุน เป็นโรคที่พบเจอได้บ่อย มีปริมาณของผู้ป่วยมาก แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้รับการวินิจฉัย เนื่องจากไม่มีอาการของโรคที่ชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบอุบัติการณ์การเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากภาวะกระดูกพรุน พบว่าสูงกว่า โรคหลอดเลือดหัวใจหรือว่าโรคมะเร็ง เสียอีก อาการของโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกพรุนไม่มีอาการบ่งบอกชัดเจน ดังนั้นคนที่เป็นอาจจะไม่ทราบได้เลยว่าตัวเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่ ซึ่งกว่าจะแสดงอาการให้เห็น คือ มีภาวะกระดูกหักง่ายจากภาวะกระดูกพรุน ในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรง เช่น ลื่นล้ม ซึ่งบริเวณของกระดูกหักที่พบบ่อย จะเป็นกระดูกบริเวณสะโพก ข้อมือ หรือกระดูกสันหลัง โดยกระดูกหักเหล่านี้มีความสำคัญ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถที่จะเดินได้อีก เป็นต้น วิธีการป้องกันและรักษา วัตถุประสงค์หลักของการรักษาโรคกระดูกพรุน คือ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกหักซึ่งจะนำมาซึ่งความทุพลภาพหลายๆอย่างตามมา ทำให้ลดการพึ่งพาบุคคลอื่นๆในบั้นปลายของชีวิต วิธีการป้องกัน ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น การเดิน วิ่งเบาๆ รำมวยจีน เต้นแอโรบิก เป็นต้น รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ เหมาะสมกับวัย ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น แดดอ่อนๆในตอนเช้า มีวิธีการป้องกันการหกล้มให้กับผู้สูงอายุ […]

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญ พบได้บ่อยในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะพบได้มากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทย กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม คือภาวะที่เกิดจากการสึกหรอของผิวข้อเข่า เกิดการเสียดสีกันของกระดูกใต้ผิวข้อ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า, ข้อเข่าผิดรูป, เดินได้ไม่ปกติ, ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ไม่สะดวก จนอาจถึงขั้นทุพพลภาพได้ เกิดความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกาย และจิตใจ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม 1.  อายุมากกว่า 50ปี ขึ้นไป 2.  น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน (ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 25) 3.  มีอาการปวดในข้อเข่า, ข้อยึด-ติด หรือไม่มั่นคงขณะเดิน 4.  ขาโก่งผิดรูป 5.  พิสัยการงอ-เหยียดหัวเข่าลดลง 6.  มีเสียงดังกรอบแกรบในหัวเข่าขณะเคลื่อนไหว การรักษา การรักษาเริ่มจากวิธีการอนุรักษ์นิยม ได้แก่ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการปวด เช่นท่านั่งคุกเข่า, นั่งยอง, นั่งพับเพียบ, นั่งขัดสมาธิ แนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อต้นขาส่วนหน้า เช่น การปั่นจักรยาน, ว่ายน้ำ, รำมวยจีน ลดน้ำหนักลง อย่างน้อยร้อยละ 5 […]

อายุรกรรม

ดูทั้งหมด

โรคร้าย ภัยจากยุง

            ยุงเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลก พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น มีอายุขัย 42-56 วัน (เพศเมีย) และ 10 วัน (เพศผู้) วางไข่ 100-200 ฟอง ที่ไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญให้กับมนุษย์ แต่ยังเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์ บางโรคทำให้เกิดความพิการและถึงแก่ชีวิตได้ โรคที่เกิดจากยุงเป็นพาหะ ได้แก่ 🦟 โรคมาลาเรีย (Malaria) หรือ ไข้จับสั่น เกิดจากยุงก้นปล่อง อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ชีพจรเต้นเร็ว หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน หน้าซีดปากซีด ตัวเหลืองเหมือน และอาจมีปัสสาวะสีเข้ม 🦟 ไข้เลือดออก หรือโรคติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus Infection) เกิดจากยุงลาย อาการ : จะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร หรืออาจอาเจียน มีผื่นแดงๆ ตามร่างกาย อาจเลือดออกง่าย ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ 🦟 ไข้ชิคุนกุนย่า (Chikungunya) หรือ ไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ ไข้ญี่ปุ่น เกิดจากยุงลาย อาการ : มีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ […]

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease: COPD) หรือที่มักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรทั่วโลก โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเกิดจากการที่เราหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปก๊าซหรือฝุ่นเข้าไป ทำให้มีการระคายเคือง เกิดการอักเสบและมีการทำลายระบบทางเดินหายใจคือ หลอดลม เนื้อปอด และหลอดเลือดปอด โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary emphysema) และโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) สาเหตุของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควันบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ โดยเฉพาะในผู้ที่สูบบุหรี่ติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น รวมทั้งผู้ที่ได้รับควันบุหรี่แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่เองก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นควันที่มีอนุภาคเล็กๆหรือก๊าซ ควันพิษ สารเคมี และที่สำคัญคือการเผาไหม้เชื้อเพลิงทั้งในการประกอบอาหารและการขับเคลื่อนเครื่องจักรต่างๆ ลักษณะทางพันธุกรรม อาการของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ช่วงแรกผู้ป่วยมักไม่มีอาการใดๆ เมื่อตัวโรคเป็นมากขึ้นจะเริ่มมีอาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยเวลาออกแรง จำกัดการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน บางรายอาจมีอาการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะโดยเฉพาะในช่วงเช้า ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจเสียงดังหวีด อาการมักจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ หากอาการรุนแรงมากก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆ ในบางรายอาจมีการกำเริบเฉียบพลัน ทำให้มีอาการเหนื่อยมากขึ้น ต้องนอนพักรักษาที่โรงพยาบาล และหากเป็นมากจนระบบหายใจล้มเหลวก็จะได้รับการใส่เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนี้อาการอื่นที่อาจพบร่วมในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง […]

เทคโนโลยีจักษุวิทยา

ดูทั้งหมด

จริงหรือไม่ “เบาหวาน” ขึ้นตาแล้วจะตาบอด

เนื่องจากประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว ดังนั้นโรคหรือความเสื่อมต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะสูงอายุจึงพบได้มากขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงบุคคลรอบข้าง หนึ่งในโรคที่พบบ่อย คือ โรคเบาหวาน จากการสำรวจขององค์การ International Diabetes Federation หรือ IDF พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานทั่วโลกถึง 463 ล้านคน เเละมีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคาดการณ์ว่าในอีก 26 ปีข้างหน้า จะมีผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานทั่วโลกประมาณ 700 ล้านคน ซึ่งประเทศไทยเองเบาหวานถือเป็นโรคยอดนิยมอันดับต้น ๆ เช่นกัน เบาหวานมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดหลัก ๆ คือ ชนิดที่ 1 คือ ชนิดที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน โดยมักพบในคนอายุน้อย ๆ (ส่วนใหญ่น้อย กว่า 30 ปี) มักมีอาการเเสดงให้เห็นตั้งเเต่เริ่มเป็น ได้เเก่ น้ำหนักลด ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ชนิดที่ 2 คือ ชนิดที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งพบในผู้สูงอายุ ตั้งเเต่ 40 […]

เบาหวาน

ดูทั้งหมด

เช็คอาการเบาหวานขึ้นตา

อาการของโรคเบาหวานขึ้นตา ในระยะแรกของโรคเบาหวานขึ้นตา อาจจะยังไม่พบอาการ หรือความผิดปกติในการมองเห็น แต่เมื่อมีความรุนแรงมากขึ้น จะพบอาการต่างๆ เช่น ตามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว มีม่านดำบดบังการมองเห็น ปวดตา เลือดออกในตา สูญเสียการมองเห็น ทั้งนี้ในปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีที่มากขึ้น ดังนั้นภาวะเบาหวานขึ้นตาบางอย่างสามารถรักษาได้ ซึ่งมีหลายรูปเเบบ ทั้งการยิงเลเซอร์บริเวณขอบจอประสาทตา เลเซอร์บริเวณเส้นเลือดผิดปกติเพื่อลดการรั่วของสารน้ำ ซึ่งทำให้เกิดจุดรับภาพชัดจอตาบวม ฉีดยาเข้าวุ้นตาเพื่อลดเส้นเลือดผิดปกติ ส่งผลให้ลดการบวมของจุดรับภาพชัดจอตา ลดเลือดออกในวุ้นตา เเละหากโรคเป็นรุนเเรงถึงขั้นมีพังผืดดึงรั้งจนจอประสาทตาหลุดลอก ก็มีความจำเป็นต้องผ่าตัดวุ้นตาเเละจอประสาทตา เเต่ไม่ว่าจะมีวิธีการรักษาที่ก้าวหน้าเพียงใด หากปล่อยให้ภาวะเบาหวานขึ้นตาเป็นรุนเเรงเเล้ว บางครั้งเเม้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตามมาตรฐานเเล้ว ก็ไม่อาจทำให้การมองเห็นกลับคืนมาดังเดิมได้ ดังนั้นสิ่งทำสำคัญที่สุดสำหรับภาวะเบาหวานขึ้นตา “ไม่ใช่การรักษา หากเเต่เป็นการป้องกัน”

เตรียมตัวก่อนเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว DTX (DEXTROSTIX)

เตรียมตัวก่อนเจาะน้ำตาลปลายนิ้ว DTX (DEXTROSTIX) ล้างมือให้สะอาดก่อนเจาะเลือดทุกครั้ง นวดคลึงปลายนิ้ว (นิ้วกลางหรือนิ้วนาง) ที่จะเจาะเลือดเพื่อให้เลือดไหลเวียน ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดบริเวณที่จะเจาะเลือด ใช้อุปกรณ์เจาะเลือดที่ด้านข้างของปลายนิ้ว ใช้สำลีเช็ดเลือดหยดแรกออกก่อน ใช้เลือดหยดที่ 2 หยดลงบนแผ่นทดสอบและรอผล ห้ามเจาะปลายนิ้วที่มีแผลหรือนิ้วที่บวมแดง เขียวช้ำ เด็ดขาด

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ดูทั้งหมด

office syndrome ปรับเปลี่ยนวันละนิดลดภาวะเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

Office Syndrome หรืออาการปวดที่เกิดจากการทำงาน เป็นได้ด้วยตัวเอง อาจโดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทรงท่าการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม และการออกกำลังกาย โดยในเนื้อหาบทความสุขภาพนี้ จะพูดถึงการออกกำลังกาย ในสองรูปแบบคือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง (Strengthening Exercise) และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Stretching Exercise) โรคออฟฟิศซินโดรม : Office Syndrome ขั้นตอนการปฏิบัติ นั่งตัวตรงประสานมือสองข้างไว้ที่ท้ายทอย ออกแรงดึงข้อศอกไปทางด้านหลังจนรู้สึกตึง ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง ขั้นตอนการปฏิบัติ นั่งตัวตรง ก้มศีรษะลง ประสานมือไว้ที่ท้ายทอย ออกแรงกดศีรษะลงเบาๆ จนรู้สึกตึงค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง เอียงศีรษะไปทางด้านซ้าย จนรู้สึกตึงที่ต้นคอด้านซ้าย ค้าง 10 วินาที ทำ 5 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนเป็นข้างขวาทำเช่นเดียวกัน ใช้ปลายนิ้วหัวเม่มือดันที่ปลายคาง เงยศีรษะขึ้นจนรู้สึกตึงที่บริเวณต้นคอด้านหน้า ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 5 ครั้ง […]

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นคำศัพท์ที่ไว้เรียกแทนกลุ่มอาการต่างๆ ที่มีสาเหตุจากการนั่งทำงานหรืออยู่ท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ปวดบริเวณศีรษะ คอ บ่า ไหล่ หรือหลังส่วนล่าง วิธีปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม ประกอบด้วย 2 ประการ ได้แก่ การปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน กับการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หลีกเลี่ยงการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ เป็นวิธีการที่สำคัญที่สุดในระหว่างทำงาน อย่างน้อยทุกๆ 1 ชั่วโมงควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ยืดกล้ามเนื้อ ลุกยืน หรือเดิน ปรับท่านั่งให้เหมาะสม

โภชนาการ

ดูทั้งหมด

อาหารสร้างสุข

ด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวนอาจทำให้เกิดการจราจรที่ติดขัดอย่างคาดการณ์ไม่ถึง พาลทำให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว หลายๆ คนจึงอยากหาอะไรทำเพื่อที่จะคลายเครียด บางคนใช้การออกกำลังกาย แต่บางคนใช้การรับประทานอาหาร             วันนี้อาหารสร้างสุขของเรา ก็จะมาบอกว่า ทานอะไรที่จะช่วยคลายความร้อนกายร้อนใจได้บ้าง             โดยอาหารส่วนใหญ่จะเป็นอาหารที่ได้พลังงานกลูโคสแก่ร่างกายจำพวกกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเป็นหลาย เช่น ข้าว แป้ง น้ำตาล ฯลฯ นั้น จะทำให้ระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงขึ้นร่างกายจึงกระตุ้นการหลั่งอินซูลินมากขึ้น ทำให้กรดอะมิโนที่จับกับสารปริปโตเฟนถูกนำไปใช้ ทำให้ทริปโตเฟนสามารถนำไปสร้างเป็น “ซีโรโทนิน” ผ่านเข้าไปยังสมองได้มากขึ้น ซึ่งเป็นสารเพิ่มความสุข ทำให้เรารู้สึกผ่านคลายและอารมณ์ขึ้น ตัวอย่างอาหารที่ช่วยเพิ่มความสุขให้เกิดขึ้น ได้แก่ กล้วย : อุดมไปด้วยวิตามินบี 6  และทริปโตเฟน ซึ่งช่วยสร้างสารเซโรโทนินในร่างกาย ทำให้คลายความตึงเครียดของประบบประสาท รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้นอนหลับสบาย ไข่ : มีคุณค่าอหารมากมายทั้งโปรตีน วิตามินบี ไอโอดีน สังกะสี และกรดไขมัน โอเมก้า-3 ซึ่งเป็นตัวตั้งต้นทำงานร่วมกับสร้างทริปโตเฟน แลยังทำให้อิ่มท้องนานขึ้น (ไข่ไก่ ขนาด 55 กรัม ให้โปรตีน 7 กรัม พลังงานเฉลี่ย 75 กิโลแคลอรี่) คาร์กช็อกโกแลต : มีประโยชน์มากกว่าช็อกโกแลตนามธรรมดา เพราะมีน้ำตาลน้อยและในช็อกโกแลตมีสารที่เรียกว่า ฟีนิลเอทิลเอมีน […]

โลหิตวิทยาและเซลล์บำบัด

ดูทั้งหมด

ธาลัสซีเมีย ในคนไทย

โรคธาลัสซีเมีย คือ โรคโลหิตจางที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงและแตกง่าย  สาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมระดับยีนที่มีผลต่อการสังเคราะห์ฮีโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงผิดปกติไป ส่งผลให้เกิดเม็ดเลือดแดงมีรูปร่างที่ผิดปกติ ร่วมกับ เม็ดเลือดแดงอายุสั้นและแตกง่าย  เกิดภาวะโลหิตจางเรื้อรัง รวมถึงอาจทำให้เกิดสภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ภาวะเหล็กเกินในเลือด การเจริญเติบโตผิดปกติ รวมถึงภาวะฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติตามมา ความผิดปกติมีได้หลายแบบ ทั้งแบบที่สร้างโกลบินได้ลดลง หรือสร้างสายโกลบินที่ผิดปกติไป ทั้งนี้ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนยีนที่ผิดปกติ  พาหะธาลัสซีเมียในคนไทย ในประเทศไทยมีผู้เป็นพาหะประมาณร้อยละ 34 ของประชากรทั้งหมด และมีทารกเกิดใหม่เป็นโรคนี้ ปีละประมาณ 12,500 ราย โดยตามอุบัติการณ์มีประชากรที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียอยู่จำนวนมาก แบ่งตามชนิดได้ดังนี้ 20-30% เป็นพาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย (alpha thalassemia) 13% เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี (hemoglobin E) 9% เป็นพาหะของบีตาธาลัสซีเมีย (beta thalassemia) โรคธาลัสซีเมีย มีกี่ชนิด? โรคธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ แอลฟาธาลัสซีเมีย (alpha Thalassemia) กับ บีตาธาลัสซีเมีย (beta Thalassemia) 1.แอลฟาธาลัสซีเมีย […]

ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีด

ภาวะโลหิตจางหรือภาวะซีด เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติส่งผลให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย โดยอาการแสดงอาจมากหรือน้อยแตกต่างกัน หากสงสัยว่ามีอาการของภาวะโลหิตจาง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ซึ่งบางครั้งอาจตรวจพบโรคร้ายแรงที่แฝงอยู่จึงเป็นโอกาสที่ได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โสต ศอ นาสิก

ดูทั้งหมด

ทำอย่างไร ? มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในหู

สิ่งแปลกปลอมในหู เป็นภาวะที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ วัตถุที่ปล่อยไว้ แล้วเกิดปฏิกิริยากับช่องหูได้ เช่น ถ่านไฟ , เมล็ดพืช , แมลง เป็นต้น วัตถุที่ปล่อยไว้ แล้วไม่เกิดปฏิกิริยาในช่องหู เช่น ลูกปัด สำลี เป็นต้น ส่วนใหญ่อาจมาด้วยอาการ หูอื้อ คันหู หรือในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อาจมีน้ำที่ไม่สะอาดเข้าหู , หรือแป้งเข้าหู ซึ่งหากแคะหรือปั่นหูเอง ก็จะเกิดอาการหูอักเสบตามมาได้ นอกจากนี้ในกรณีมีภาวะแทรกซ้อน จะเกิดอาการปวดหู ช่องหูอักเสบ แก้วหูทะลุได้ จึงเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง การดูแลเบื้องต้นด้วยตนเอง เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมในหู             1. ถ้าพบเห็นสิ่งแปลกปลอมติดอยู่หน้ารูหู ไม่ลึก อาจลองคีบวัตถุนั้นออกอย่างเบามือ ภายใต้แสงสว่างอย่างเพียงพอ             2. ห้ามใช้ไม้พันสำลีเขี่ยวัตถุออกเอง เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมติดลึกไปมากขึ้น จนเป็นอันตรายต่อแก้วหูได้             3. หากสิ่งแปลกปลอมเป็นของเหลว อาจเอียงเอาหูข้างนั้นลงต่ำ และใช้ผ้าขนหนูสะอาดเช็ดซับด้านนอกรูหู             4. หากเป็นแมลงเข้าหู หรือเป็นวัตถุทรงกลมเข้าหู ให้เอียงศีรษะข้างนั้นขึ้น และใช้น้ำมันพืช ใส่ไปในรูหู ทิ้งไว้ 5 นาที […]

ผู้ป่วยโรคไต ทานผัก ผลไม้ อะไรดี

โรคไตเรื้อรัง(Chronic Kidney Disease) คือ โรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ของไตนานกว่า 3 เดือน โดยดูจากอัตราการกรองของเสียจากร่างกายเป็นค่าแสดงสมรรถภาพการทำงานของไตที่ดีที่สุด สำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมมีความจำเป็นในการเลือกอาหารการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและปริมาณพอดีกับร่างกายในแต่ละวัน ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ หรือนักกำหนดอาหาร เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่พอเหมาะ สำหรับผักและผลไม้ที่หลายคนมองว่ามีประโยชน์กับร่างกาย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้น ผัก ผลไม้บางชนิดอาจก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย ผู้ป่วยโรคไตควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือด น้อยกว่า 5 มิลลิโมล/ลิตร เพราะหากระดับโพแทสเซียมสูงเกินไป อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติหรือหยุดเต้นได้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงและเลือกอาหารที่มีโพแทสเซียมต่ำ – ปานกลาง ดังนี้ ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลจุฬาภรณ์                                                                                                                

ปริมาณโซเดียมในอาหาร ที่ผู้ป่วยไตต้องรู้

             ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม จำเป็นต้องจำกัดโซเดียมให้อยู่ระหว่าง 2,000 – 2,400 มิลลิกรัม/วัน ในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง หรือบวมร่วมด้วยต้องจำกัดโซเดียมให้น้อยกว่า  2,000 มิลลิกรัม/วัน ข้อคำนึง คือ การบริโภคอาหารตามธรรมชาติโดยไม่ปรุงรส จะได้ปริมาณโซเดียมไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม             ดังนั้น ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด อาหารหมักดองที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เช่น ไข่เค็ม กะปิ เต้าหู้ยี้ ปลาเค็ม แหนม ผักดองเปรี้ยว ผลไม้ดอง เป็นต้น เลือกรับประทานอาหารรสอ่อนเค็ม และจำกัดการใช้เครื่องปรุงรส ทั้งน้ำปลา ซีอิ้วขาว ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรส เครื่องปรุงรส ปริมาณ โซเดียม (มิลลิกรัม) เกลือ 1 ช้อนชา 2,000 น้ำปลา 1 ช้อนชา 465-600 ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ […]

การปลูกถ่ายไต

การปลูกถ่ายไตคืออะไร การปลูกถ่ายไต คือ การบำบัดทดแทนไตในการรักษาภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายวิธีหนึ่ง โดยนำไตที่ยังทำงานดีหนึ่งข้างจากผู้บริจาคที่มีชีวิตหรือผู้บริจาคที่เสียชีวิตภาวะสมองตาย นำมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยให้ผลในการรักษาดีกว่าและประสบความสำเร็จมากกว่าการบำบัดทดแทนไตวิธีอื่น ๆ เช่น การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการล้างไตทางช่องท้อง ประโยชน์ของการปลูกถ่ายไตที่เหนือกว่าการบำบัดทดแทนไตชนิดอื่น ๆ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายไต จะมีการทำงานของไตที่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่มีไตปกติทั้งสองข้าง และเหนือกว่าการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การกรองของเสีย การแลกเปลี่ยนดูดกลับน้ำและเกลือแร่ ผลิตฮอร์โมน เป็นต้น  อีกทั้งยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การติดเชื้อและโรคแทรกซ้อนจากการฟอกไต ลดการจำกัดชนิดอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันและทำงานได้มากขึ้น การปลูกถ่ายไตมี 2 ชนิด การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคมีชีวิต ผู้บริจาคไตต้องเป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยาที่แต่งงานตามหลักเกณฑ์ที่ระบุตามกฎหมาย  การปลูกถ่ายไตโดยวิธีนี้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่มีภาวะไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ยังไม่เข้ารับการบำบัดทดแทนไตโดยการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้อง การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคสมองตาย ในทางการแพทย์และกฎหมายถือว่าเป็นผู้เสียชีวิตแล้ว ที่มีการทำงานของไตยังปกติ โดยผ่านการบริจาคให้กับศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทยซึ่งจะเป็นองค์กรกลางที่จัดสรรให้กับผู้รอรับไตอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้การปลูกถ่ายไตโดยการซื้อขายไตจากบุคคลอื่นที่มีชีวิตอยู่ซึ่งไม่ใช่ญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือสามีภรรยาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผิดกฎหมายและจรรยาบรรณทางการแพทย์และศีลธรรม โอกาสของการประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไต เป็นอย่างไร ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการรักษาที่ดีขึ้น มีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการการเข้ากันได้ของเนื้อเยื่อไตและเลือดของผู้บริจาคและผู้รับบริจาค มีการผ่าตัดโดยใช้วิธีส่องกล้อง มียากดภูมิคุ้มกันชนิดรับประทานที่มีประสิทธิภาพ ทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายไตสูงกว่าในอดีตมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผลสำเร็จในการปลูกถ่ายไตขึ้นกับหลายปัจจัย ปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือชนิดของไตที่ได้รับ ถ้าเป็นไตที่มาจากญาติพี่น้องที่เนื้อเยื่อสามารถเข้ากันได้ และมาจากบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ โอกาสที่ไตจะทำงานได้เป็นปกติ และทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นก็มีสูงขึ้นผลสำเร็จใน 1 ปี […]