พระกรณียกิจองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
ค้นหาจากช่วงเวลา

30 พฤศจิกายน 2562 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จออก ณ พระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีพระราชทานพระวโรกาส ให้คณะบุคคลต่างๆ เฝ้า

เมื่อวันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2562 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จออก ณ พระตำหนักจักรีบงกช อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีพระราชทานพระวโรกาส ให้คณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้า ตามลำดับดังนี้  ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ นำผู้เข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศลแด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในโอกาสครบรอบ ๑๐ ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 44 คน เฝ้ากราบทูลลาเพื่ออุปสมบท และเดินทางไปปฏิบัติธรรมยัง สังเวชนียสถานทั้ง ๔ แห่ง รวมทั้งพุทธสถานที่สำคัญใน สาธารณรัฐอินเดีย และ สหพันธ์สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเนปาล ระหว่างวันที่ 15 ถึง 23 กุมภาพันธ์ 2563 […]

28 มกราคม 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเปิดการแสดงนิทรรศการภาพวาดฝีพระหัตถ์ชุด​ “หลากลาย​ หลายชีวิต 2”

วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังหอศิลป์พิมานทิพย์ ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ทรงเปิดการแสดงนิทรรศการภาพวาดฝีพระหัตถ์​ ชุด​ “หลากลาย​ หลายชีวิต​ 2” ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการทำวิทยานิพนธ์​ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทั้งนี้​ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต​ สาขาวิชาทัศนศิลป์​ คณะจิตรกรรม​ ประติมากรรม​ และภาพพิมพ์​ มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่างศึกษาทรงปฏิบัติตามที่หลักสูตรกำหนด​ ทรงศึกษาในรายวิชาต่างๆ ทรงเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ ทรงจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่แก่สาธารณชนครั้งที่2โดยนิทรรศการ​ ชุด ” หลากลาย หลายชีวิต 2 ” ทรงใช้ “เสือ” เป็นสัญลักษณ์ แทนความหมายของเจ้าป่า​ หรือพระราชา​ ซึ่งเปรียบเสมือนพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบรมชนกนาถที่ทรงปกครองเหนือราชอาณาจักรของพระองค์​ เป็นราชาผู้ปกครองดินแดนด้วยพระเมตตา​ ห่วงใยทุกข์สุขของอาณาประชาราษฎร์​ตลอดเวลา​ ลวดลายของเสือยังปรากฎเป็นตัวอักษรสัญลักษณ์ DNA หรือชื่อย่อทางสารพันธุกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ […]

4 กุมภาพันธ์ 2563 : ขอพระราชทานกราบทูลแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์

ขอพระราชทานกราบทูลแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และองค์ประธานผู้จัดตั้งโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ในโอกาสที่ทรงรับการถวายรางวัลประกาศเกียรติคุณ และยกย่องบุคคลผู้อุทิศตนเพื่อต่อต้านมะเร็งแห่งปีคริสตศักราช 2020 ณ ราชวิหารแห่งพระราชวังแวร์ซายย์ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ที่มา: โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รับชมวิดีทัศน์เพิ่มเติม

11 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดให้ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้แทนพระองค์ เชิญกระเช้าสิ่งของพระราชทานไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้ได้รับบาดเจ็บ และญาติ ซึ่งพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

11 กุมภาพันธ์ 2563 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงพระกรุณาโปรดให้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นผู้แทนพระองค์ เชิญกระเช้าสิ่งของพระราชทานไปเยี่ยมให้กำลังใจผู้ได้รับบาดเจ็บ และญาติ ซึ่งพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จำนวน 19 ราย ยังความปลื้มปิติที่สำนึกในพระกรุณาธิคุณแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวเป็นล้นพ้น พร้อมกันนี้ ผู้แทนพระองค์ ได้เชิญพระกระแสความห่วงใย ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ไปกล่าวกับผู้ได้รับบาดเจ็บและญาติ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ยังความปลาบปลื้ม และสำนึกในพระกรุณาธิคุณ แก่ครอบครัวผู้ได้รับบาดเจ็บ อย่างหาที่สุดมิได้ ที่มาข่าว: https://news.ch7.com/detail/394127

15 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และเสด็จไปยังมณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีบรรพชาสามเณร

15 กุมภาพันธ์ 2563 สาธารณรัฐอินเดีย : เมื่อเวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จเยี่ยมหน่วยแพทย์พระราชทานจากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ที่นำทีมบุคลากรทางการแพทย์มาออกหน่วยให้บริการตรวจรักษาพระภิกษุ ผู้ปฏิบัติธรรม ตลอดจนประชาชนทั้งชาวไทยและอินเดีย ณ บริเวณหน้าโรงพยาบาลพระพุทธเจ้า ภายในวัดไทยพุทธคยา จากนั้น เสด็จไปยังพระอุโบสถวัดไทยพุทธคยา ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีปลงผมนาค โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศลฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ในการนี้ ทรงขลิบผมนาคจำนวน 44 ราย โดยมีพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาและหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย – เนปาล เป็นผู้กล่าวนำประกอบพิธี จากนั้นพระราชทานพระวโรกาส ให้ นางสาวสวียา สันติพิทักษ์ กงสุลใหญ่ ณ เมืองกัลกัตตา เบิกผู้มีจิตศรัทธาที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมวัดไทยพุทธคยาและร่วมบริจาคโดยเสด็จพระกุศลตามพระอัธยาศัย เข้าเฝ้ารับพระราชทานเข็มที่ระลึก จำนวน 80 ราย จากนั้น เวลา 16.30 […]

16 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงบาตรพระสงฆ์และสามเณรนวกะ จำนวน 89 รูป ณ วัดไทยพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 สาธารณรัฐอินเดีย : เวลา 7.00 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงบาตรพระสงฆ์และสามเณรนวกะ จำนวน 89 รูป ณ วัดไทยพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย จากนั้นเสด็จไปยังศาลาพระธรรมสุธี ทอดพระเนตรพระพุทธเมตตาจำลอง หลวงพ่อพระพุทธองค์ดำจำลอง และมหาเจดีย์พุทธคยาจำลอง ต่อมาเวลา 9.30 น. เสด็จไปยังมณฑลพิธี ณ พระอุโบสถ ทรงเป็นประธานฝ่ายฆราวาสในพิธีอุปสมบทพระภิกษุโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรม ถวายเป็นพระกุศลฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยมีสามเณรนวกะ 44 รูป พร้อมด้วยคณะบุคลากรราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ คณะเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี คณะเจ้าหน้าที่สถานกงสุลใหญ่กัลกัตตา คณะผู้ปฏิบัติธรรมและญาติธรรมเข้าร่วมพิธี จากนั้นทรงปลูกต้นราชพฤกษ์ และเสด็จยังบริเวณ”อู่ข้าว” เพื่อทรงปรุงข้าวผัดถวายเป็นภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์และสามเณร

17 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงบาตรพระสงฆ์และพระนวกะโพธิจำนวน 89 รูป ณ วัดไทยพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 สาธารณรัฐอินเดีย : เวลา 7.00 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จทรงบาตรพระสงฆ์และพระนวกะโพธิจำนวน 89 รูป ณ วัดไทยพุทธคยา อำเภอคยา รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย จากนั้นเวลา 8.00 น. คณะพระนวกโพธิ ผู้ปฏิบัติธรรม และญาติธรรม ออกเดินทางไปยังเมืองราชคฤห์ เข้าสักการะ “วัดเวฬุวัน” ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ที่ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารพระราชทานพระราชอุทยานสวนป่าไผ่ และทรงสร้างวัดถวายแด่พระพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่พระอริยสงฆ์สาวกจำนวน 1,250 รูปมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมายถือเป็นต้นกำเนิดแห่ง “วันมาฆบูชา” โดยคณะพระนวกโพธิ ผู้ปฏิบัติธรรม และญาติธรรม ได้ร่วมสวดมนต์ถวายเป็นพระกุศลแด่ ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และร่วมกันน้อมจิตอธิษฐานถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่แข็งแรง มีพระชนมายุยั่งยืนนาน

22 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา รัฐอุตตระประเทศ ไปยังปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 สาธารณรัฐอินเดีย : เวลา 07.00 น. ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เมืองกุสินารา รัฐอุตตระประเทศ ไปยังปรินิพพานวิหาร ณ สาลวโนทยาน โดยมีพระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาและหัวหน้าพระธรรมทูตสายอินเดีย – เนปาล คณะพระนวกโพธิ ผู้ปฏิบัติธรรมและพุทธศาสนิกชนชาวไทยเฝ้ารับเสด็จ โดยเสด็จพระดำเนินเข้าสู่ยังปรินิพพานวิหาร ที่ภายในมีพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ซึ่งเป็นจุดจำลองการดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ทรงกระทําประทักษิณในพระวิหาร จากนั้นถวายผ้าห่ม และสักการะพระพุทธรูปปางปรินิพพาน ทรงสักการะปรินิพพานสถูป จากนั้นทรงฉายพระรูปหมู่กับพระนวกโพธิของโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่และปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระกุศลฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปี โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 44 รูป ณ ด้านหน้าปรินิพพานวิหาร ก่อนเสด็จไปยังสถานพยาบาลกุสินาราคลินิก เพื่อทรงเยี่ยมการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยแพทย์อาสากรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขจากประเทศไทย  จากนั้นเสด็จยังมกุฎพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพุทธสรีระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงจุดธูปเทียนสักการะมกุฏพันธนเจดีย์ สังเวชนียสถานแห่งสุดท้ายสถานที่แห่งการสิ้นธาตุเหลือธรรม จากนั้นทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ทรงปิดทองและวางพวงมาลัย ทรงถวายผ้าไตร […]

25 กุมภาพันธ์ 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารีทรงเป็นประธานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 ของคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิทิพย์พิมาน

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 24.53 น. : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปยังห้องประชุมใหญ่ สำนักประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ อาคารบริหาร ๒ ทรงเป็นประธานการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 ของคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิทิพย์พิมานเพื่อสัตว์ป่วยและสัตว์ไร้ที่พึ่งในพระอุปถัมภ์ฯ โดยมีระเบียบวาระต่างๆ อาทิ รายงานผลการดำเนินงานมูลนิธิฯ ประจำปี 2562 , ผลการจัดทำเว็บไซต์มูลนิธิทิพย์พิมานฯ และการเสนอของบประมาณมูลนิธิทิพทย์พิมานฯ ประจำปี 2563 ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี โปรดให้ตั้งมูลนิธิทิพย์พิมานเพื่อสัตว์ป่วยและสัตว์ไร้ที่พึ่งในพระอุปถัมภ์ฯ ขึ้น ด้วยทรงห่วงใยคุณภาพชีวิตของราษฎรและสัตว์เลี้ยง โดยให้การช่วยค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยที่เจ้าของไม่สามารถรับผิดชอบได้ และสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการดูแลสัตว์ไร้ที่พึ่ง รวมทั้งสนับสนุนกิจการต่าง ๆ ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยดำเนินการร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะเดียวกันเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ โปรดให้ดำเนินการโครงการต่างๆ อาทิ สัตวแพทย์อาสาจุฬาภรณ์, โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย […]

15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 : ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าเฝ้าฯ

15 มิถุนายน พ.ศ. 2563 เวลา 14.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานพระวโรกาสให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในฐานะผู้แทนศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้าเฝ้าฯ โอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ถวายรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติหน้าที่ และมาตรการต่าง ๆ ของคณะศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงมีพระดำรัสชื่นชมการทำงานของรัฐบาล ตลอดจนพระราชทานกำลังใจในการปฏิบัติงานของศูนย์ฯ และทรงแสดงความห่วงใยการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละ เพื่อร่วมกันช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างน่าชื่นชม โดยพระราชทานความมั่นใจว่าสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมให้ความร่วมมือตลอดเวลา โดยที่ผ่านมาได้พระราชทานความช่วยเหลือด้านการแพทย์ […]

27 มิถุนายน พ.ศ.2563 : ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จฯ ทรงเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ระลึกในพระดำริ ๙๐๖ โฉมใหม่

27 มิถุนายน พ.ศ.2563 ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จฯ ทรงเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ระลึกในพระดำริ ๙๐๖ โฉมใหม่ ณ ชั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ หลักสี่ โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ร่วมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้แก่ คุณวลฺลภ ยุติธรรมดำรง คุณมาริษา สมบัติบูรณ์ คุณดนุชา ยินดีพิธ คุณนารีลักษณ์ วิมุกตานนท์ คุณสุพัตรา จิราธิวัฒน์ ดร.พลและคุณอลิสา อินทเสนี คุณฝนทิพย์ วัลยะเสวี คุณอุษณี มหากิจสิริ ลีโอณีโอ เฝ้ารับเสด็จ สำหรับร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ระลึกในพระดำริ ๙๐๖ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมสานต่อพระปณิธานในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดแคลนและด้อยโอกาสทั่วประเทศ ให้ได้รับการรักษาที่มีมาตรฐานสากลอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และเพื่อช่วยกันสนับสนุนให้ประชาชนและสังคมไทยมีสุขภาวะที่ดี ผ่านการร่วมบริจาคทุนทรัพย์สนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ระลึกจากมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ฯ และโครงการในพระดำริต่างๆ เพื่อนำรายได้สมทบทุนมูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ อันได้แก่ มูลนิธิจุฬาภรณ์ […]

15 กรกฎาคม 2563 : ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเปิดอาคาร “โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ”

ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จไปทรงเปิดอาคาร “โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดำริ” ณ ตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ด้วยพระปณิธานอันแน่วแน่ที่จะพัฒนางานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศไทยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ทรงมีพระดำริให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ดำเนินโครงการจัดสร้างอาคารเพื่อเป็นโรงงานต้นแบบผลิตเภสัชภัณฑ์ที่จะเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการต่อยอดนำงานวิจัยเข้าสู่กระบวนการผลิตที่สามารถนำมาใช้ได้ในมนุษย์ พัฒนาเภสัชภัณฑ์สําหรับใช้ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งให้ต่อเนื่องสมบูรณ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เชื่อมโยงความรู้และประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตเภสัชภัณฑ์กับนานาชาติ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถผลิตเภสัชภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงสําหรับรักษาโรคมะเร็งใช้ได้ด้วยตนเอง ด้วยทรงตระหนักถึงความยากลำบากของประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงเภสัชภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงสำหรับรักษาโรคมะเร็ง  โรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดําริ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีพันธกิจในการผลิตเภสัชภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งสามารถทุกระดับชั้นเข้าถึงการรักษาด้วยยาประสิทธิภาพสูงได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยโรงงานได้คัดเลือกยารักษามะเร็งกลุ่มมุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มแรกที่จะดำเนินการผลิตซึ่งในปัจจุบันมีการนำเข้ายากลุ่มนี้มากถึงปีละกว่าหมื่นล้านบาทโดยอ้างอิงถึงประสิทธิภาพของยาที่สามารถควบคุมโรคได้ดี เกิดอาการข้างเคียงต่อผู้ป่วยต่ำ โดยความสามารถผลิตยาจากโครงการนี้จะช่วยลดภาระด้านค่าใช้จ่ายการนำเข้าจากต่างประเทศ และเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการผลิตเภสัชภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงให้แก่ประเทศไทย นำมาซึ่งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจด้วย โดยอาคารโรงงานผลิตเภสัชภัณฑ์ในพระดําริเป็นอาคาร 4 ชั้นซึ่งมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยในการทำงาน ประกอบด้วย ชั้น 1 เป็นส่วนโถงต้อนรับและส่วนงานผลิตยารักษามะเร็งแบบมุ่งเป้า ชั้น 2 เป็นส่วนงานควบคุมคุณภาพและมลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และห้องปฏิบัติการวิจัยทดลอง ชั้น 3 พื้นที่รองรับส่วนขยายกำลังผลิตในอนาคต ชั้น 4 เป็นส่วนของสำนักงาน  โดยภายในอาคารมีระบบการทำงานแบบปิด และมีการควบคุมการเข้าออก การควบคุมคุณภาพ และการประกันคุณภาพ เพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตของ Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme (GMP PIC/S) มาตรฐานการผลิตยาของประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดในการใช้ผลิตยา […]

1 10 11 12