เมื่ออายุมากขึ้น … ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ จะมีผลให้การสร้างกระดูกไม่สามารถไล่ทันกระบวนการเสื่อมของกระดูกได้ จึงทำให้เกิดการสูญเสียเนื้อกระดูกไปเรื่อย ๆ สิ่งที่น่ากลัว คือ มีการดำเนินของโรคไปอย่างช้า ๆ โดยไม่มีอาการใด ๆ จนเกิดกระดูกหักทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นโรคนี้ การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยเครื่อง Bone Densitometer จะช่วยประเมินภาวะกระดูกพรุน ประเมินโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกหัก อีกทั้งยังสามารถประเมินวิเคราะห์มวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไปพร้อมกัน
ภาวะกระดูกพรุน – Osteoporosis
ประเมินมวลกระดูก หรือ ปริมาณความหนาแน่นของเนื้อกระดูกที่ลดลง เพื่อบ่งชี้ถึงความแข็งแรงของกระดูก และความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัย และบอกถึงความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน การประเมินผลการรักษา และติดตามการรักษา และติดตามผลการรักษา
ภาวะกระดูกหัก – Atypical femoral fractures
ประเมินโอกาสที่จะเกิดการหักของกระดูกในผู้ป่วยที่มีการใช้ยากลุ่ม Bisphosphonate เป็นระยะเวลานาน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักมากกว่าในคนปกติ
ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย – Sarcopenia
ช่วยในการประเมินมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งนิยมตรวจในกลุ่มผู้สูงอายุ นักกีฬา หรือคนที่ลดน้ำหนัก เพื่อดูการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งมีกลไกที่เกี่ยวข้องหลายประการ ได้แก่ การสร้างโปรตีน การสลายโปรตีน การทำงานของระบบประสาท ปริมาณไขมันในกล้ามเนื้อ ปริมาณฮอร์โมนที่ลดลง ปฏิกิริยาการอักเสบ การขาดสารอาหารโดยเฉพาะโปรตีน การตอบสนองต่อการออกกำลังในการสร้างกล้ามเนื้อเมื่ออายุมากขึ้น และการออกกำลังกาย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการดูแลส่งเสริมความแข็งแรง
ตรวจความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง Bone Densitometer
- ส่วนละ 1,000 บาท
- ทั้งตัว 2,900 บาท
**หมายเหตุ :
– ราคาดังกล่าวยังไม่รวมค่าธรรมเนียมแพทย์ และค่าบริการผู้ป่วย ทั้งในเวลาและนอกเวลา
– ข้าราชการผู้มีสิทธิ์เบิกจ่ายตรงกับกรมบัญชีกลางสามารถเบิกได้ตามสิทธิ์โดยต้องผ่านการปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อคัดกรองและวินิจฉัยอาการของโรค
นัดหมายการตรวจและเข้ารับบริการได้ที่ :
ชั้น B1 งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาคารศูนย์การแพทย์มะเร็งวิทยาจุฬาภรณ์ โทร. 06 4585 5189